×

4 แบงก์ใหญ่ลดดอกเบี้ยกดดันตลาดหุ้นไทย, เกาหลีใต้เรียกร้องญี่ปุ่นกลับมาเจรจาการค้า สะสางปัญหาบาดหมาง: 5 ปัจจัยที่นักลงทุนต้องรู้ (15 ส.ค. 2562)

โดย FINNOMENA
15.08.2019
  • LOADING...
  • 4 ธนาคารใหญ่ลดดอกเบี้ยกดดันตลาดหุ้นไทย โดยหลังจากธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เหลือ 1.50% 4 ธนาคารใหญ่ ประกอบไปด้วย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกสิกรไทย ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง 0.25% ต่อปี ความเคลื่อนไหวดังกล่าวสร้างแรงกดดันต่อส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Margin) ส่งผลให้มีการปรับลดประมาณการกำไรกลุ่มธนาคารลง 1-3% ซึ่งทำให้เกิดแรงเทขายในกลุ่มหุ้นธนาคารและกดดันตลาดหลักทรัพย์ไทย

 

  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 30 ปี ลดต่ำกว่า 2% เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ หลังเกิดกระแสความกังวลของการเกิด Inverted Yield Curve เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2007 ทั้งนี้การปรับตัวดังกล่าวส่งสัญญาณความคาดหวังของนักลงทุนต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในการประชุมเดือนกันยายนนี้

 

  • จับตายอดขายปลีกพื้นฐานสหรัฐฯ (Core Retail Sales) โดยวันนี้สหรัฐฯ มีกำหนดประกาศดัชนียอดขายปลีกพื้นฐาน ซึ่งเป็นตัวแทนของการขยายตัวทางการบริโภคของสหรัฐฯ ที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากความร้อนแรงของตลาดแรงงาน และส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ให้แข็งแกร่งในช่วงที่ผ่านมา โดยครั้งนี้นักวิเคราะห์คาดการณ์ตัวเลขจะขยายตัว 0.4% (MoM) ทรงตัวจากครั้งก่อนหน้าที่ระดับ 0.4% (MoM)

 

  • เกาหลีใต้เรียกร้องญี่ปุ่นร่วมเจรจาการค้าหลังสถานการณ์บานปลาย เมื่อความตึงเครียดระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้กลับมาทวีความรุนแรงอีกครั้ง สร้างแรงกดดันต่อการค้าระหว่างประเทศจากมาตรการควบคุมทางการค้าต่างๆ ที่ใช้ตอบโต้กัน ล่าสุด มุนแจอิน ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ เรียกร้องให้ทางการญี่ปุ่นกลับมาเจรจาการค้าและข้อตกลงระหว่างประเทศกรณีข้อพิพาทสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อให้การค้าระหว่างประเทศกลับมาดำเนินได้ด้วยดีอีกครั้ง

 

  • Tencent ราคาร่วงหลังรายได้ต่ำกว่าคาดการณ์ โดยบริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่สัญชาติจีนประกาศรายได้ไตรมาสที่ 2 ขยายตัว 21% (YoY) อยู่ที่ 88,820 ล้านหยวน ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดที่ระดับ 93,420 ล้านหยวน ขณะที่กำไรเติบโต 35% (YoY) สู่ระดับ 24,140 ล้านหยวน สูงกว่าคาดที่ 20,740 ล้านหยวน ได้รายได้ที่ต่ำกว่าจนกดดันราคาหุ้นของบริษัทให้ปรับตัวลง -2.65% ทันทีในวันนี้

 

ภาวะตลาดวานนี้

  • ความกังวลต่อเศรษฐกิจถดถอยมากยิ่งขึ้น หลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ให้ผลตอบแทนต่ำกว่าอายุ 2 ปี หรือ Inverted ​Yield Curve จากสถิติย้อนหลังไปจนถึง 1955 สัญญาณดังกล่าวมักมีนัยสำคัญต่อการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในอนาคตอันใกล้

 

  • แม้ก่อนหน้านี้สหรัฐฯ จะส่งสัญญาณประนีประนอมต่อสงครามการค้าโดยเลื่อนการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจีน แต่ตลาดกลับส่งสัญญาณ Risk off ต่อเนื่อง ล่าสุดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับตัวต่ำกว่า 1.60% พร้อมกับการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำที่ขึ้นมาถึง 1,530 ดอลลาร์ ขณะที่ VIX Index ปรับตัวขึ้นมากกว่า 23% ส่งผลให้ตลาดสหรัฐฯ และยุโรปปรับตัวลงมากกว่า 2.00% นำโดยกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เช่น Citi -5.18%, JPMorgan -4.50%, Morgan Stanley -3.71%, Wells Fargo -3.82% และ Bank of America -4.82% ฯลฯ โดยรวมดัชนี Dow Jones กลุ่มธนาคาร ปรับตัวลง 4.06% และดัชนีหุ้นธนาคารยุโรปปรับตัวลง 2.59% (STOXX Europe 600 Banks Index)

 

ยุโรป

  • Euro Stoxx 50 ปิดที่ 3288.7 ลดลง 68.46 (-2.04%)
  • DAX ปิดที่ 11492.66 ลดลง 257.47 (-2.19%)
  • FTSE 100 ปิดที่ 7147.88 ลดลง 103.02 (-1.42%)
  • FTSE MIB ปิดที่ 20020.28 ลดลง 519.15 (-2.53%)

 

เอเชีย

  • Nikkei 225 ปิดที่ 20655.13 เพิ่มขึ้น 199.69 (+0.98%)
  • S&P/ASX 200 ปิดที่ 6595.9 เพิ่มขึ้น 27.4 (+0.42%)
  • Shanghai ปิดที่ 2808.91 เพิ่มขึ้น 11.65 (+0.42%)
  • Hang Seng ปิดที่ 25302.28 เพิ่มขึ้น 20.98 (+0.08%)
  • SET ปิดที่ 1619.45 ลดลง 0.78 (-0.05%)
  • KOSPI ปิดที่ 1938.37 เพิ่มขึ้น 12.54 (+0.65%)
  • BSE Sensex ปิดที่ 37311.53 เพิ่มขึ้น 353.37 (+0.96%)

 

อเมริกา

  • Dow 30 ปิดที่ 25,479.42 ลดลง 800.49 (-3.05% )
  • S&P 500 ปิดที่ 2,840.60 ลดลง 85.72 (-2.93% )
  • Nasdaq ปิดที่ 7,773.94 ลดลง 242.42 (-3.02%)

 

Commodity

  • ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดที่ 54.37 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 2.73 (-4.78%)
  • ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ปิดที่ 58.52 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 2.78 (-4.54%)
  • ราคาทองคำ Gold ปิดที่ 1531.15 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 17.05 (+1.13%)

 

finnomena in partnership

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

อ้างอิง: 

  • Infoquest
  • Bloomberg
  • Investing
  • CNBC
  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising