×

สหรัฐฯ เลื่อนขึ้นภาษีจีน ยัน 2 ฝ่ายเดินหน้าเจรจาในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า: 5 ปัจจัยที่นักลงทุนต้องรู้ (14 ส.ค. 2562)

โดย FINNOMENA
14.08.2019
  • LOADING...
  • สหรัฐฯ เลื่อนขึ้นภาษีจีน ยันเจรจาใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า โดย หลิวเหอ รองนายกรัฐมนตรีจีน ได้สนทนาทางโทรศัพท์กับ สตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ และ โรเบิร์ต ไลต์ทิเซอร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) โดยทั้ง 2 ฝ่าย เห็นพ้องที่จะจัดการเจรจาการค้าในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า นอกจากนี้สหรัฐฯ ได้ประกาศชะลอการเรียกเก็บภาษีสินค้าจีนบางรายการไปจนถึงวันที่ 15 ธันวาคม จากเดิมที่มีกำหนดในวันที่ 1 กันยายน เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป เกมคอนโซล พร้อมกับถอดสินค้าบางประเภทออกจากบัญชีรายการสินค้าของจีนที่จะถูกเรียกเก็บภาษีครั้งใหม่

 

  • ญี่ปุ่นประกาศตัวเลขยอดคำสั่งซื้อเครื่องจักรพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมเครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรมต่อเรือและสาธารณูปโภค พุ่งขึ้น 13.9% ในเดือนมิถุนายน สู่ระดับ 9.603 แสนล้านเยน เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

 

  • นักลงทุนยังหวัง Fed ลดดอกเบี้ยเดือนหน้า แม้เงินเฟ้อเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้น โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนกรกฎาคมขยายตัว 1.8% (YoY) และ 0.3% (MoM) ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ขยายตัว 2.2% (YoY) และ 0.3% (MoM) แม้จะมีสัญญาณการฟื้นตัวของอัตราเงินเฟ้อมากขึ้น แต่นักลงทุนในตลาดยังหวังว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้าท่ามกลางประเด็นการค้าที่ตึงเครียด

 

  • ตัวเลขการลงทุนและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจีนต่ำกว่าคาด โดยการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Investment) เดือนกรกฎาคมขยายตัว 5.7% (YoY) ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 5.9% เช่นเดียวกับผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) ที่ขยายตัว 4.8% (YoY) น้อยกว่าคาดการณ์ที่ 6.0% (YoY) สะท้อนแรงกดดันจากประเด็นการค้าที่ตึงเครียดเมื่อเดือนก่อน
  • แบงก์ชาติจีนกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนวันนี้แข็งค่ากว่าที่คาดไว้ โดยธนาคารกลางจีน (PBOC) กำหนดค่ากลางอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนในวันนี้ไว้ที่ 7.0312 หยวนต่อดอลลาร์ แข็งค่ากว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 7.0502 หยวนต่อดอลลาร์ นับเป็นช่วงเวลาแรกหลังวิกฤตการเงินปี 2008 ที่ค่าเงินหยวนซื้อขายกันต่ำกว่า 7 หยวนต่อดอลลาร์ หลังประเด็นการค้าทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงก่อนหน้านี้ ท่ามกลางกระแสกดดันจากสหรัฐฯ ในเรื่องการปั่นค่าเงินจากธนาคารกลางจีน

 

ภาวะตลาดวานนี้

  • ข่าวร้ายช่วงเช้า ข่าวดีช่วงดึก นับเป็นอีกหนึ่งวันที่ความผันผวนสร้างความปวดหัวให้แก่นักลงทุน หลังตลอดเช้าวานนี้ตลาดเผชิญกับปัจจัยลบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการชุมนุมในฮ่องกง ที่ได้สร้างความวิตกกังวลต่อเศรษฐกิจฮ่องกง และการประกาศอ่อนค่าเงินหยวนของธนาคารจีนสู่ระดับ 7.0326 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นทันทีราว +20 ดอลลาร์ พร้อมทั้งการปรับตัวลงของตลาดหุ้นเอเชียทั้งภูมิภาค จนกระทั่งตลาดหุ้นสหรัฐฯ เปิดทำการ พร้อมการประกาศข่าวดีจากสหรัฐฯ ถึงการชะลอการเรียกเก็บภาษีสินค้าจีนออกไปเป็นวันที่ 15 ธันวาคม จากเดิมกำหนดไว้ที่ 1 กันยายน ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรปฟื้นตัวทันที พร้อมสัญญาณ Risk On จากการปรับตัวลงทันทีของราคาทองคำ และการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ทะยานขึ้นไปทดสอบระดับ 1.700% จากระดับ 1.623% ขณะที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเป็นกลุ่มผู้นำตลาด เช่น  Apple +4.1%, Alibaba +3.28%, Microsoft +1.85%, Amazon +2.14% และ Alphabet +2.01% เป็นต้น 

 

ยุโรป

  • Euro Stoxx 50 ปิดที่ 3357.16 เพิ่มขึ้น 30.61 (0.92%)
  • DAX ปิดที่ 11750.13 เพิ่มขึ้น 70.45 (0.6%)
  • FTSE 100 ปิดที่ 7250.9 เพิ่มขึ้น 24.18 (0.33%)
  • FTSE MIB ปิดที่ 20539.43 เพิ่มขึ้น 275.6 (1.36%)

 

เอเชีย

  • Nikkei 225 ปิดที่ 20455.44 ลดลง -229.38 (-1.11%)
  • S&P/ASX 200 ปิดที่ 6568.5 ลดลง -21.8 (-0.33%)
  • Shanghai ปิดที่ 2797.26 ลดลง -17.73 (-0.63%)
  • Hang Seng ปิดที่ 25281.3 ลดลง -543.42 (-2.1%)
  • SET ปิดที่ 1620.23 ลดลง -30.41 (-1.84%)
  • KOSPI ปิดที่ 1925.83 ลดลง -16.46 (-0.85%)
  • BSE Sensex ปิดที่ 36958.16 ลดลง -623.75 (-1.66%)

 

อเมริกา

  • Dow 30 ปิดที่ 26279.91 เพิ่มขึ้น 372.54 (1.44%)
  • S&P500 ปิดที่ 2926.32 เพิ่มขึ้น 42.57 (1.48%)
  • Nasdaq ปิดที่ 8016.36 เพิ่มขึ้น 152.95 (1.95%)

 

Commodity

  • ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดที่ 57 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 2.07 (3.77%)
  • ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ปิดที่ 61.19 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 2.62 (4.47%)
  • ราคาทองคำ ปิดที่ 1511.85 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง -5.35 (-0.35%)

 

 

finnomena in partnership

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

อ้างอิง: 

  • Infoquest
  • Bloomberg
  • Investing
  • CNBC
  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising