- จับตาตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ 1. ตัวเลขตำแหน่งงานว่างเปิดใหม่จากสหรัฐฯ ซึ่งยังคงถูกคาดหวังว่าจะร้อนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยในครั้งนี้นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะประกาศออกมาที่ 7.3 ล้านตำแหน่ง ลดลงจากครั้งก่อนหน้าที่ 7.348 ล้านตำแหน่ง แต่ยังคงสามารถยืนอยู่เหนือระดับ 7.0 ล้านตำแหน่ง ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงที่สุดต่อเนื่องอย่างยาวนาน 2. ตัวเลขยอดค้าปลีกพื้นฐานสหรัฐฯ (US Core Retail Sales) ที่สะท้อนถึงปริมาณการบริโภคของสหรัฐฯ ที่ยังคงแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องจากตลาดแรงงานที่ร้อนแรง ในครั้งนี้นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะประกาศออกมาที่ขยายตัว 0.1% (MoM) ลดลงจากครั้งก่อนหน้า 3. การประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า การประชุมในครั้งนี้ ECB จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย พร้อมทั้งประกาศมาตรการทางการเงินเพิ่มเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังจากที่มีแนวโน้มชะลอตัว และอัตราเงินเฟ้อยังคงต่ำกว่าเป้าหมายที่ใกล้เคียง 2%
- Fitch หั่นเรตติ้งฮ่องกง หลังสถานการณ์ชุมนุมประท้วงยืดเยื้อยาวนานกว่า 14 สัปดาห์ โดย Fitch Ratings บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลก ได้ปรับลดความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวลงมาสู่ระดับ AA และมีแนวโน้มเป็นลบ จากเดิม AA+ เป็นการปรับลดความน่าเชื่อถือครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1995 ซึ่งสาเหตุมาจากการชุมนุมเป็นหลัก ประกอบกับความสามารถในการคงไว้ซึ่งความเชื่อมั่นของประชาชนต่อหลักนิติธรรม โดยยังเป็นการปรับลดความน่าเชื่อถือลงมาให้ใกล้เคียงกับจีนที่ระดับ A+ ด้วย
- ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังขยายตัวต่อเนื่อง เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สหรัฐฯ รายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm Payrolls) เพิ่มขึ้น 130,000 ตำแหน่ง โดยได้รับแรงหนุนจากการจ้างงานชั่วคราวของภาครัฐ เพื่อสำรวจสำมะโนครัวปี 2020 กว่า 34,000 ตำแหน่ง ขณะที่ค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมงขยายตัว 3.2% (YoY) สู่ระดับ 28.11 ดอลลาร์ จากระดับเดิมที่ 27.23 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่อง 107 เดือน โดยจากการที่ตัวเลขการจ้างงานออกมาต่ำกว่าคาดนั้น ส่งผลให้นักลงทุนเพิ่มความคาดหวังต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่กำลังจะมีขึ้นในช่วงกลางเดือนนี้
- Fed ยันจะดำเนินนโยบายอย่างเหมาะสม เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ออกแถลงการณ์ว่า ความไม่แน่จากสงครามการค้าส่งผลให้ธุรกิจชะลอการลงทุน ซึ่งส่งผลให้ Fed ต้องตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งที่ผ่านมา และ Fed พร้อมที่จะดำเนินการอย่างเหมาะสม โดยไม่คำนึงถึงปัจจัยทางด้านการเมือง เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสมต่อไป
- นำเข้า-ส่งออกจีนร่วง เหตุสงครามการค้ากดดัน เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาทางการจีนรายงานตัวเลขยอดการส่งออกและนำเข้าหดตัว สืบเนื่องจากแนวโน้มการชะลอตัวทางเศรษฐกิจทั่วโลก ประกอบกับกรณีสงครามการค้าที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งกดดันอุปสงค์สินค้าจากจีน ขณะที่เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวสร้างแรงกดดันต่อการบริโภคภายในประเทศ และกดดันยอดการนำเข้า ส่วนการส่งออกนั้นอยู่ที่ -1.0% (YoY) แย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยายตัว 2.0% และลดลงจากครั้งก่อนหน้าที่ขยายตัว 3.3% โดยเป็นการหดตัวในส่วนของสินค้ากลุ่มอะลูมิเนียมไม่ขึ้นรูป -9.9% ถ่านหิน -29.85% ผลิตภัณฑ์เหล็ก -14.8% และเป็นการหดตัวทางการค้ากับสหรัฐฯ ถึง -16% และออสเตรเลีย -17% ส่วนฝั่งการนำเข้านั้นประกาศออกมาที่ -5.6% (YoY) ดีกว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ -6.0% หดตัว 4 เดือนต่อเนื่อง โดยเป็นการหดตัวในส่วนของการนำเข้าทองแดง -3.8% ผลิตภัณฑ์เหล็ก -8.5% และน้ำมันดิบ -9.9% และเป็นการหดตัวทางการค้ากับสหรัฐฯ ถึง -22.4% สหภาพยุโรป -5.2% และญี่ปุ่น -8.8%
ภาวะตลาดวันศุกร์ที่ผ่านมา
- หลังจากตลาดปรับตัวขึ้นติดต่อ 2 วันทำการขานรับปัจจัยบวกทางการเมือง ขณะที่ปัจจัยจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญทั่วโลกออกมาในทิศทางผสมผสาน ภูมิภาคเอเชียญี่ปุ่นและเกาหลี ตัวเลขเศรษฐกิจยังแสดงออกมาในแนวโน้มชะลอตัว ขณะที่จีนมีแนวโน้มฟื้นตัวให้เห็น ด้านยุโรปหลายประเทศทยอยปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย แต่สหรัฐฯ ตัวเลขสำคัญหลายตัวกลับปรับตัวต่ำกว่าคาด ยังคงกดดันทิศทางของตลาด
- ตลาดทั่วโลกต่างพากันปรับตัวลงในวันศุกร์ที่ผ่านมา พร้อมกับสัญญาณ Risk on ที่ยังคงปรากฏให้เห็น โดย VIX Index ปรับตัวลงมาที่ 15 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา นับตั้งแต่สงครามการค้าสหรัฐ-จีน และญี่ปุ่น-เกาหลี ต่างพากันทวีความรุนแรงขึ้น ก่อนจะมีสัญญาณที่ดีในช่วงก่อนสัปดาห์สุดท้าย ก่อนกลับมากังวลอีกครั้งกับเหตุการณ์ความรุนแรงในฮ่องกง นับว่าจุดนี้เป็นส่วนสำคัญที่น่าจับตา หากตลาดยังอยู่ในโหมด Risk on มีแนวโน้มที่ VIX Index จะกลับลงไปเคลื่อนไหวในกรอบ 13-12 จุดอีกครั้ง
- ด้านราคาทองคำ ปิดที่ 1515.3 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง -10.2 (-0.67%) ซึ่งปรับตัวลงมาแล้วราว 50 ดอลลาร์/ออนซ์ นับจากสูงสุดในสัปดาห์ที่ 1565 เช่นเดียวกับอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ ยังคงอยู่ในแนวโน้มปรับตัวขึ้น แม้วันศุกร์จากการพักตัวตามตลาดหุ้นทั่วโลกอยู่บ้าง
สหรัฐฯ
- Dow 30 ปิดที่ 26797.46 เพิ่มขึ้น 69.31 (0.26%)
- S&P 500 ปิดที่ 2978.71 เพิ่มขึ้น 2.71 (0.09%)
- Nasdaq ปิดที่ 8103.07 ลดลง -13.75 (-0.17%)
ยุโรป
- DAX ปิดที่ 12191.73 เพิ่มขึ้น 64.95 (0.54%)
- FTSE 100 ปิดที่ 7282.34 เพิ่มขึ้น 11.17 (0.15%)
- Euro Stoxx 50 ปิดที่ 3495.19 เพิ่มขึ้น 10.49 (0.3%)
- FTSE MIB ปิดที่ 21947.33 ลดลง -7.74 (-0.04%)
เอเชีย
- Nikkei 225 ปิดที่ 21199.57 เพิ่มขึ้น 113.63 (0.54%)
- S&P/ASX 200 ปิดที่ 6647.3 เพิ่มขึ้น 34.1 (0.52%)
- Shanghai ปิดที่ 2999.6 เพิ่มขึ้น 13.74 (0.46%)
- SZSE Component ปิดที่ 9823.42 เพิ่มขึ้น 39.91 (0.41%)
- China A50 ปิดที่ 13952.54 เพิ่มขึ้น 110.85 (0.8%)
- Hang Seng ปิดที่ 26690.76 เพิ่มขึ้น 175.23 (0.66%)
- Taiwan Weighted ปิดที่ 10780.64 เพิ่มขึ้น 23.71 (0.22%)
- SET ปิดที่ 1670.06 เพิ่มขึ้น 0.27 (0.02%)
- KOSPI ปิดที่ 2009.13 เพิ่มขึ้น 4.38 (0.22%)
- IDX Composite ปิดที่ 6308.95 เพิ่มขึ้น 2.15 (0.03%)
- BSE Sensex ปิดที่ 36981.77 เพิ่มขึ้น 337.35 (0.92%)
- PSEi Composite ปิดที่ 7933.47 เพิ่มขึ้น 35.28 (0.45%)
Commodity
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดที่ 56.7 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.4 (0.71%)
- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ปิดที่ 61.62 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.67 (1.1%)
- ราคาทองคำ ปิดที่ 1515.3 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง -10.2 (-0.67%)
พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์
อ้างอิง:
- Infoquest
- Bloomberg
- Investing