×

BOJ ส่งสัญญาณพิจารณาลดดอกเบี้ยเพิ่ม, Brexit ส่อเค้าวุ่น, จีนเล็งกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม: 5 ปัจจัยที่นักลงทุนต้องรู้ (6 ก.ย. 2562)

โดย FINNOMENA
06.09.2019
  • LOADING...
  • Brexit ยังวุ่น แม้สภาไม่ผ่านญัตติยุบสภา หลังจากที่ก่อนหน้านี้สภาสามัญชนอังกฤษเดินหน้าผ่านร่างกฎหมายป้องกัน No-deal Brexit เป็นที่เรียบร้อย พร้อมส่งเรื่องให้วุฒิสภาพิจารณาร่างกฎหมายต่อ ขณะที่นายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน ได้พยายามเสนอญัตติยุบสภา แต่ผลปรากฏว่าญัตติยุบสภาไม่ผ่านเกณฑ์ 2 ใน 3 ของรัฐสภา ส่งผลให้สหราชอาณาจักรยังคงต้องเตรียมเจรจากับสหภาพยุโรปต่อไปจนกว่าญัตติยุบสภาของจอห์นสันจะสามารถผ่านรัฐสภาได้สำเร็จ โดยจอห์นสันระบุว่าจะมีการเสนอญัตติยุบสภาอีกครั้งในวันจันทร์ที่ 9 กันยายนนี้

 

  • จีนส่งสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยวานนี้ หลี่เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน กล่าวระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า จากสถานการณ์ต่างประเทศที่ซับซ้อนและทวีความรุนแรงขึ้น สร้างแรงกดดันต่อจีนให้อาจประสบภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ด้วยเหตุนี้ทางการจีนจึงอาจพิจารณาปรับลดอัตรากันสำรองธนาคาร (RRR) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งแบบวงกว้างและแบบกำหนดเป้าหมายในช่วงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าท่าทีดังกล่าวเป็นการส่งสัญญาณการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยประเภท Loan Prime Rate แล้ว

 

  • BOJ จำเป็นต้องออกมาตรการเพิ่ม โดย โกชิ คาโตกะ สมาชิกคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ให้สัมภาษณ์วานนี้ว่า โดยส่วนตัวแล้วเขาเชื่อว่าญี่ปุ่นจำเป็นต้องเพิ่มนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เนื่องจากในอีกด้านนั้นธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลกได้เริ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของตนไปแล้ว ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจทั่วโลก และแน่นอนว่าประเด็นเหล่านี้จะถูกพิจารณาในการประชุมเดือนกันยายนที่กำลังจะมาถึงนี้ ซึ่งท่าทีดังกล่าวส่งผลให้นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าญี่ปุ่นอาจตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมครั้งต่อไป

 

  • เรย์ ดาลิโอ ผู้ก่อตั้ง Bridgewater Hedge Fund ที่ใหญ่ที่สุดในโลก คาดการณ์ว่ามีโอกาส 25% ที่วิกฤตจะเกิดขึ้นในปีหน้า และมีโอกาส 25% ที่วิกฤตเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นในช่วงปี 2019 และ 2020 จากปัจจัยความเหลื่อมล้ำที่ขยายตัว การขยายอิทธิพลของจีน และการเลือกตั้งของสหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลให้แม้แต่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็ยากที่จะหยุดยั้งวิกฤตครั้งนี้เอาไว้ได้ แม้จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรก และมีความคาดหวังว่าจะปรับลดอีกครั้งในการประชุมช่วงกลางเดือนกันยายนนี้ก็ตาม

 

  • มาร์ค โมเบียส อดีตผู้จัดการกองทุนชื่อดังและผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดเกิดใหม่ ออกโรงเตือนว่าเงินสกุลดิจิทัลมีความเสี่ยง โดยระบุว่าความเชื่อที่ว่า Blockchain ไม่อาจถูกทำลายได้นั้นเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะท้ายที่สุดแล้วทุกสิ่งที่มนุษย์สร้างสามารถถูกทำลายได้ ส่วนความเชื่อว่าเงินสกุลดิจิทัลมีมูลค่าในปัจจุบันนั้นก็เหมือนกับการที่คนเชื่อว่าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐมีมูลค่าและสามารถซื้อสิ่งของต่างๆ ได้ แต่เขามองว่าผู้คนจะเริ่มตระหนักว่านี่เป็นความเสี่ยงที่สูงมากๆ พร้อมทั้งระบุว่าหากเงินสกุลดิจิทัลมีทองคำเป็นประกันเสมือนค่าเงินปกติ และมีข้อตกลงที่เป็นพันธะผูกพันอย่างชัดเจน จึงจะทำให้สินทรัพย์กลุ่มนี้มีความน่าสนใจอย่างแท้จริง

 

ภาวะตลาดวานนี้

  • มีสัญญาณการปรับตัวลงของสินทรัพย์ปลอดภัยหรือ Safe Haven ที่บ่งชี้ออกมาจากวันก่อน ทั้งการอ่อนค่าของสกุลดอลลาร์สหรัฐ สกุลเยนญี่ปุ่น สกุลฟรังก์สวิสของสวิตเซอร์แลนด์ หรือแม้แต่สกุลบาทไทยก็เช่นกัน หลังตลาดได้รับปัจจัยหนุนจากปัญหาทางการเมืองทั่วโลกที่เริ่มเห็นทางออกและการฟื้นตัวของตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญในหลายๆ ประเทศ ขณะที่ธนาคารกลางทั่วโลกพากันย้ำถึงมาตรการที่พร้อมจะกลับมากระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ตลาดหุ้นกลับเข้าสู่ภาวะ Risk on อีกครั้ง โดยตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวขึ้นราว 0.90% ขณะที่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นได้โดดเด่นสุด โดย Nikkei 225 เพิ่มขึ้น 2.29% จากแนวโน้มเงินเยนอ่อนค่า ยุโรป Euro Stoxx 50 เพิ่มขึ้น 0.98% แต่หุ้นอังกฤษ FTSE 100 ลดลง 0.55% ขณะที่หุ้นสหรัฐฯ S&P 500 เพิ่มขึ้น 1.24% 
  • ด้านสินทรัพย์ปลอดภัย ราคาทองคำทรุดตัวลง 2.11% อยู่ที่ระดับ 1527.55 ดอลลาร์/ออนซ์ ดัชนี Dollar Index ลงมาทดสอบ 98.0-98.3 จุด เงินเยนญี่ปุ่นอ่อนค่าสู่ 107 ต่อดอลลาร์สหรัฐ และบาทไทยอ่อนค่าไปที่ 30.69 ต่อดอลลาร์สหรัฐ ในส่วนตราสารหนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี อยู่ที่ 1.567% เพิ่มขึ้น 7.40%, บอนด์อายุ 2 ปี อยู่ที่ 1.542% เพิ่มขึ้น 7.54% และ 30 ปี กลับมายืนเหนือ 2% อีกครั้งที่ระดับ 2.059 เพิ่มขึ้น 5.22%  

 

สหรัฐฯ

  • Dow 30 ปิดที่ 26728.01 เพิ่มขึ้น 372.54 (+1.41%)
  • S&P 500 ปิดที่ 2975.24 เพิ่มขึ้น 37.46 (+1.28%)
  • Nasdaq ปิดที่ 8116.83 เพิ่มขึ้น 139.95 (+1.75%)

 

ยุโรป

  • DAX ปิดที่ 12126.78 เพิ่มขึ้น 101.74 (+0.85%)
  • FTSE 100 ปิดที่ 7271.17 ลดลง 40.09 (-0.55%)
  • Euro Stoxx 50 ปิดที่ 3484.7 เพิ่มขึ้น 33.87 (+0.98%)
  • FTSE MIB ปิดที่ 21955.07 เพิ่มขึ้น 217.27 (+1%)

 

เอเชีย

  • Nikkei 225 ปิดที่ 21122.34 เพิ่มขึ้น 473.2 (+2.29%)
  • S&P/ASX 200 ปิดที่ 6613.2 เพิ่มขึ้น 60.2 (+0.92%)
  • Shanghai ปิดที่ 2985.86 เพิ่มขึ้น 28.45 (+0.96%)
  • SZSE Component ปิดที่ 9783.5 เพิ่มขึ้น 83.18 (+0.86%)
  • China A50 ปิดที่ 13841.69 เพิ่มขึ้น 108.11 (+0.79%)
  • Hang Seng ปิดที่ 26515.53 ลดลง 7.7 (-0.03%)
  • Taiwan Weighted ปิดที่ 10756.93 เพิ่มขึ้น 99.62 (+0.93%)
  • SET ปิดที่ 1669.79 เพิ่มขึ้น 11.15 (+0.67%)
  • KOSPI ปิดที่ 2004.75 เพิ่มขึ้น 16.22 (+0.82%)
  • IDX Composite ปิดที่ 6306.8 เพิ่มขึ้น 37.14 (+0.59%)
  • BSE Sensex ปิดที่ 36644.42 ลดลง  80.32 (-0.22%)
  • PSEi Composite ปิดที่ 7898.19 เพิ่มขึ้น 57.33 (+0.73%)

 

Commodity

  • ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดที่ 56.27 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.01 (+0.02%)
  • ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ปิดที่ 60.95 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.25 (+0.41%)
  • ราคาทองคำ ปิดที่ 1527.55 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 32.85 (-2.11%)

 

FINNOMENA

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

อ้างอิง:

  • Infoquest
  • Bloomberg
  • Investing
  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising