- จับตาตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ วันนี้ทางการจีนมีกำหนดประกาศดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม จากสถาบันไฉซิน (Caixin Manufacturing PMI) ซึ่งคาดว่า จะประกาศออกมาที่ 51.4 จุด ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 51.7 จุด แต่ยังคงอยู่ในแดนขยายตัว ส่วนสหรัฐฯ มีกำหนดประกาศดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมจากสถาบัน ISM (ISM Manufacturing PMI) ซึ่งคาดว่า จะอยู่ที่ 49.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 48.3 จุด จากเหตุสงครามการค้าที่ประนีประนอมมากขึ้น
- ญี่ปุ่นยังสงวนท่าที RCEP กังวลกรณีจีนขยายอำนาจ รัฐบาลญี่ปุ่นยืนยันจะยังไม่ทำข้อตกลงกับกลุ่มประเทศเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) หากอินเดียยังไม่ลงนามเข้าร่วมข้อตกลงดังกล่าว เนื่องจากกังวลเรื่องการขยายอำนาจของจีน โดยก่อนหน้านี้ทางอินเดียยังไม่ลงนามในข้อตกลง เนื่องจากกังวลเรื่องสินค้าจากจีนที่จะไหลเข้าสู่ประเทศ และความกังวลเรื่องตลาดโคนมที่จะแข่งขันกับออสเตรเลีย
- ธปท. เผย เศรษฐกิจไทยยังแผ่ว เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย เผย เศรษฐกิจไทยเดือนตุลาคมยังอยู่ในภาวะชะลอตัว โดยการส่งออกสินค้า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนภาคเอกชนยังคงชะลอตัว จากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัว ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลสามารถส่งเสริมการบริโภคให้กลับมาขยายตัวได้จากเดือนก่อนหน้า สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อลดลงเล็กน้อย จากราคาพลังงานที่ปรับตัวลดลง แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัว
- จีนยันข้อตกลงเฟสแรกต้องยกเลิกภาษีนำเข้า หนังสือพิมพ์ Global Times ของรัฐบาลจีน รายงานว่า ทางการจีนยืนยันท่าทีว่า การยกเลิกมาตรการภาษีสินค้านำเข้าจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงการค้าเฟสแรก ซึ่งรวมไปถึงการเตรียมเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในอัตรา 15% ครอบคลุมมูลค่าการค้า 1.56 แสนล้านดอลลาร์ ในวันที่ 15 ธันวาคมที่จะถึงนี้
- รัฐบาลญี่ปุ่นเดินหน้าพิจารณากระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม สำนักข่าว Nikkei รายงานถึงท่าทีของรัฐบาลญี่ปุ่นว่า มีการพิจารณาเพิ่มเติมด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งในครั้งนี้จะดำเนินการกระตุ้นทั้งการเงินและการคลังควบคู่กันไป เพื่อลดผลกระทบจากภาวะอุปสงค์ทั่วโลกชะลอตัวในช่วงที่ผ่านมา โดยคาดการณ์ว่า มาตรการดังกล่าวจะแล้วเสร็จในช่วงสัปดาห์นี้ ซึ่งจะประกอบไปด้วยแพ็กเกจการลงทุนเพิ่มเติมกว่า 10 ล้านล้านเยน ซึ่งจะจัดสรรไปใช้ทั้งในส่วนของการบรรเทาภัยพิบัติ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานและมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยให้บริษัทต่างๆ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ขณะที่ทางด้านนโยบายการเงินมีแนวโน้มที่รัฐบาลจะสนับสนุนให้เงินทุนแก่บริษัทที่กระจายการผลิตในต่างประเทศเพิ่มเติม
ภาวะตลาดวันศุกร์ที่ผ่านมา
- ดัชนี Dow Jones ปรับตัวลดลงจากความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน โดยชนวนเหตุมาจากการที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ลงนามอนุมัติกฎหมายสนับสนุนประชาธิปไตยในฮ่องกงเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับจีนเป็นอย่างมาก โดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ เปิดทำการเพียงแค่ครึ่งวัน ด้านตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเช่นกันจากการที่นักลงทุนเริ่มชะลอการลงทุนจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก
- ราคาน้ำมันปิดลบจากความตึงเครียดของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน และแหล่งผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนคาดหวังว่า การประชุมของกลุ่ม OPEC ที่จะมีขึ้นในเดือนหน้า จะขยายเวลาการลดกำลังการผลิตต่อไป ด้านตลาดทองคำปิดบวกสวนทางกับตลาดหุ้นจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เป็นเหตุให้นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น
สหรัฐฯ
- Dow 30 ปิดที่ 28051.41 ลดลง -112.59 (-0.4%)
- S&P 500 ปิดที่ 3140.98 ลดลง -12.65 (-0.4%)
- Nasdaq ปิดที่ 8665.47 ลดลง -39.7 (-0.46%)
ยุโรป
- DAX ปิดที่ 13236.38 ลดลง -9.2 (-0.07%)
- FTSE 100 ปิดที่ 7346.53 ลดลง -69.9 (-0.94%)
- Euro Stoxx 50 ปิดที่ 3704.05 ลดลง -0.43 (-0.01%)
- FTSE MIB ปิดที่ 23259.33 ลดลง -83.09 (-0.36%)
เอเชีย
- Nikkei 225 ปิดที่ 23293.91 ลดลง -115.23 (-0.49%)
- S&P/ASX 200 ปิดที่ 6846 ลดลง -18 (-0.26%)
- Shanghai ปิดที่ 2871.98 ลดลง -17.71 (-0.61%)
- SZSE Component ปิดที่ 9582.16 ลดลง -39.99 (-0.42%)
- China A50 ปิดที่ 13588.23 ลดลง -172.82 (-1.26%)
- Hang Seng ปิดที่ 26346.49 ลดลง -547.24 (-2.03%)
- Taiwan Weighted ปิดที่ 11489.57 ลดลง -127.51 (-1.1%)
- SET ปิดที่ 1590.59 ลดลง -7.09 (-0.44%)
- KOSPI ปิดที่ 2087.96 ลดลง -30.64 (-1.45%)
- IDX Composite ปิดที่ 6011.83 เพิ่มขึ้น 58.77 (0.99%)
- BSE Sensex ปิดที่ 40793.81 ลดลง -336.36 (-0.82%)
- PSEi Composite ปิดที่ 7738.96 ลดลง -29.7 (-0.38%)
Commodity
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดที่ 55.42 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลง -2.69 (-4.63%)
- ราคาน้ำมันเบรนท์ ปิดที่ 60.75 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลง -2.52 (-3.98%)
- ราคาทองคำ ปิดที่ 1470.3 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เพิ่มขึ้น 9.5 (0.65%)
อ้างอิง:
- Infoquest
- Bloomberg
- Investing
- CNBC
- Reuters