×

จับตาประธาน Fed แถลงมุมมองเศรษฐกิจ-แนวโน้มนโยบายการเงินวันนี้, สิงคโปร์เตรียมผ่อนคลายล็อกดาวน์ศุกร์นี้: 5 ปัจจัยที่นักลงทุนต้องรู้ (16 มิ.ย. 2563)

โดย FINNOMENA
16.06.2020
  • LOADING...

– จับตาตัวเลขเศรษฐกิจ โดยวันนี้ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีกำหนดตัดสินใจด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งนักวิเคราะห์และตลาดคาดการณ์ว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม อย่างไรก็ตามยังคงต้องจับตาถึงท่าทีจากแถลงการณ์มุมมองต่ออนาคตของเศรษฐกิจญี่ปุ่น และแนวโน้มการดำเนินนโยบายทางการเงินต่อไป ขณะที่ เจอโรม พาเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะแถลงต่อรัฐสภาถึงแนวโน้มนโยบายทางการเงินและมุมมองต่อเศรษฐกิจในวันนี้ ซึ่งนักลงทุนยังคงติดตามท่าทีอย่างใกล้ชิดเช่นเดียวกัน นอกจากนั้นแล้วสหรัฐฯ ยังมีกำหนดประกาศตัวเลขยอดค้าปลีกและยอดค้าปลีกพื้นฐานประจำเดือนพฤษภาคม ซึ่งคาดว่าจะกลับมาขยายตัวที่ 8.0% และ 5.4% (MoM) หลังจากที่หดตัว 3 เดือนต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้าจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

 

– วานนี้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ประกาศเดินหน้าเข้าซื้อหุ้นกู้เอกชนภายใต้มาตรการ Second Market Corporate Credit Facility (SMCCF) ที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้เป็นครั้งแรก หลังจากที่ผ่านมา Fed เข้าซื้อเพียง ETF เท่านั้น โดยรายละเอียดของการเข้าซื้อหุ้นกู้ครั้งนี้จะอยู่ภายใต้กรอบของการอ้างอิงดัชนีที่ Fed สร้างขึ้น โดยอิงจาก Diversified Market Index และเงื่อนไขต่างๆ เช่น อันดับความน่าเชื่อถือก่อนวันที่ 22 มีนาคม 2020 ขั้นต่ำที่ BBB-/BAA3 ขึ้นไป 

 

– ชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เตรียมกลับมาปฏิรูปการคลังอีกครั้ง หลังจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างรุนแรง ซึ่งอาจส่งผลให้เศรษฐกิจหดตัวกว่า 20% ในไตรมาส 2/2020 พร้อมกับให้คำมั่นว่าจะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม 2 ชุด วงเงินรวมกว่า 2,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ควบคู่กับการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลของธนาคารกลาง เพื่อลดต้นทุนทางการเงิน

 

– เช้าวันนี้กระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์ประกาศว่า จะผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ อันประกอบไปด้วยการให้ร้านอาหารและร้านค้ากลับมาเปิดได้อีกครั้ง รวมไปถึงอนุญาตให้ชุมนุมเพื่อพบปะทางสังคมได้ไม่เกิน 5 คน หลังจากที่ประกาศเปิดโรงเรียนและธุรกิจบางส่วนไปก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตามยังคงมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคมต่อไป เพื่อลดโอกาสการแพร่ระบาดรอบ 2 ควบคู่ไปกับความพยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจ

 

– รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเยอรมนีเตรียมเสนอรัฐสภาให้เพิ่มการกู้ยืมอีก 62,500 ล้านยูโร เพื่อเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจ หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 กดดันเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งหากแผนกู้ยืมดังกล่าวผ่านรัฐสภา จะส่งผลให้จำนวนเงินกู้เพิ่มเป็นสถิติใหม่ โดยที่หนี้สินต่อ GDP ของเยอรมนีจะเพิ่มขึ้นเป็น 77% และคิดเป็นการขาดดุลงบประมาณ 7.25% ของ GDP 

 

ภาวะตลาดวานนี้

– ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นหลัง Fed ประกาศเข้าซื้อตราสารหนี้ภาคเอกชนเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ดีขึ้น รวมไปถึงตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ แสดงถึงแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะกลับมาฟื้นฟูเร็วๆ นี้ สวนทางกับตลาดหุ้นยุโรปที่ปรับตัวลงจากความกังวลที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบ 2 หลังมีผู้ติดเชื้อในจีนเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวไปอีกระยะ 

 

– สัญญาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นจากความคาดหวังการประชุม JMMC อาจลดกำลังการผลิตเพิ่มเติมจากสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน โดยจะมีการประชุมในวันที่ 18 มิถุนายนนี้ ด้านสัญญาทองคำปรับตัวลงหลัง Fed เข้ามากระตุ้นสภาพคล่องในตราสารหนี้ภาคเอกชน ส่งผลให้นักลงทุนเทขายทองคำที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย

 

สหรัฐฯ

– Dow Jones อยู่ที่ 25763.16 เพิ่มขึ้น 157.62 (0.62%)

– S&P 500 อยู่ที่ 3066.59 เพิ่มขึ้น 25.28 (0.83%)

– Nasdaq อยู่ที่ 9726.02 เพิ่มขึ้น 137.22 (1.43%)

 

ยุโรป

– DAX อยู่ที่ 11911.35 ลดลง -37.93 (-0.32%)

– FTSE 100 อยู่ที่ 6064.7 ลดลง -40.48 (-0.66%)

– Euro Stoxx 50 อยู่ที่ 3136.4 ลดลง -17.34 (-0.55%)

– FTSE MIB อยู่ที่ 18969.29 เพิ่มขึ้น 81.13 (0.43%)

 

เอเชีย

– Nikkei 225 อยู่ที่ 21530.95 ลดลง -774.53 (-3.47%)

– S&P/ASX 200 อยู่ที่ 5719.8 ลดลง -128 (-2.19%)

– Shanghai อยู่ที่ 2889.94 ลดลง -0.09 (-1.02%)

– SZSE Component อยู่ที่ 11192.27 ลดลง -59.43 (-0.53%)

– China A50 อยู่ที่ 13472.26 ลดลง -240.77 (-1.76%)

– Hang Seng อยู่ที่ 23776.95 ลดลง -524.43 (-2.16%)

– Taiwan Weighted อยู่ที่ 11306.26 ลดลง -123.68 (-1.08%)

– SET อยู่ที่ 1341.99 ลดลง -40.57 (-2.93%)

– KOSPI อยู่ที่ 2030.82 ลดลง -101.48 (-4.76%)

– IDX Composite อยู่ที่ 4816.34 ลดลง -64.02 (-1.31%)

– BSE Sensex อยู่ที่ 33228.8 ลดลง -552.09 (-1.63%)

– PSEi Composite อยู่ที่ 6163.82 ลดลง -420.02 (-6.38%)

 

Commodity

– ราคาน้ำมันดิบ WTI อยู่ที่ 37.16 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.68 (1.86%)

– ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ อยู่ที่ 39.85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.9 (2.31%)

– ราคาทองคำอยู่ที่ 1724.34 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ลดลง -6.52 (-0.38%)

 

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

อ้างอิง: 

  • Infoquest
  • Bloomberg
  • Investing
  • CNBC
  • Reuters
  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising