- โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ขู่ถอนกำลังทหารสหรัฐฯ ที่อยู่ภายใต้การดูแลขององค์การ NATO และขัดขวางการสร้างท่อก๊าซระหว่างเยอรมนีและรัสเซีย ด้วยการคว่ำบาตรบริษัทที่เกี่ยวข้อง หากเยอรมนีไม่ยุติความร่วมมือสร้างท่อส่งก๊าซ Nord Stream 2 ที่เชื่อมระหว่างเยอรมนีและรัสเซีย โดยทรัมป์ระบุว่ายุโรปพึ่งพาการนำเข้าจากรัสเซียมากเกินไป และอาจกลายเป็นแรงกดดันได้ในอนาคต เพื่อการนี้ สหรัฐฯ จึงต้องพยายามปกป้องเยอรมนีและยุโรปจากรัสเซีย ด้วยการเรียกร้องให้ยุติการสร้างท่อส่งก๊าซดังกล่าว ขณะที่นักวิเคราะห์มองว่าเป็นการส่งสัญญาณกดดันไปยังรัสเซียทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับความพยายามผลักดันธุรกิจส่งออกเชื้อเพลิงเหลวของสหรัฐฯ ด้วย ด้านรัสเซียระบุการกระทำของสหรัฐฯ เช่นนี้นับเป็นการแบล็กเมล
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอินโดนีเซียระบุ อาจถึงเวลาที่อินโดนีเซียต้องปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินให้ผ่อนคลายมากขึ้น และกระตุ้นธนาคารกลางให้ลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวช้าลงทั่วโลก หลังจากที่ปี 2018 อินโดนีเซียได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 5 ครั้งสู่ระดับ 6.00% เพื่อต้านกระแสเงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ในช่วงเวลานั้น
- อินเดียเผยกำหนดการปล่อยยานอวกาศในวันที่ 15 กรกฎาคมนี้ โดยจุดหมายคือดวงจันทร์ เพื่อสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ ค้นหาร่องรอยของน้ำ ซึ่งจะส่งผลให้อินเดียกลายเป็นประเทศที่ 4 ที่เยือนดวงจันทร์ และกลายเป็นมหาอำนาจทางอวกาศอีกประเทศ ต่อจากสหรัฐฯ รัสเซีย และจีน โดยมีจุดเด่นคือต้นทุนการก่อสร้างที่ถูกกว่า 3 มหาอำนาจเดิม
- จับตาการเจรจาระหว่างอิหร่านและญี่ปุ่น หลังอาเบะ ชินโซ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น มีกำหนดการเจรจากับอิหร่านด้านความมั่นคงทางพลังงาน และเตรียมทำหน้าที่เป็นคนกลาง เพื่อให้อิหร่านและสหรัฐฯ สามารถเจรจากันได้ การเยือนอิหร่านครั้งนี้ ส่งผลให้อาเบะเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนแรกนับตั้งแต่ปี 1979 ที่เยือนอิหร่าน ท่ามกลางความเสี่ยงจากสถานะคู่กรณีระหว่างพันธมิตรของญี่ปุ่นทั้งสอง ได้แก่ สหรัฐฯ และอิหร่าน
- ติดตามสถานการณ์ประท้วงที่ทวีความรุนแรงขึ้นในฮ่องกง หลังตำรวจปราบจลาจลได้เข้าสลายการชุมนุม ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บเป็นจำนวนมาก และทำให้ระบบคมนาคมใจกลางเมืองเป็นอัมพาต ชนวนความขัดแย้งนี้เกิดจากความไม่พอใจในการแก้ไขกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งกดดันตลาดหุ้นดิ่งลงราว 2% ก่อนปิดตลาดปรับตัวลง 1.94%
สภาวะตลาดวานนี้
- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เผย ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นตัวแทนเงินเฟ้อที่สำคัญ ปรับตัวขึ้น 2.7% ตามคาด ในเดือนพฤษภาคม (YoY) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว 2.5%
- ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดต้นทุนสินค้าที่หน้าประตูโรงงาน ปรับตัวสูงขึ้น 0.6% ในเดือนพฤษภาคม (YoY) ซึ่งชะลอตัวลงจากเดือนเมษายนที่ขยายตัว 0.9% แต่เป็นตัวเลขที่สอดคล้องตามคาดการณ์
- หุ้นกลุ่มธนาคารสหรัฐฯ ปรับตัวลง หลังกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผย ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับตัวสูงขึ้นเพียง 0.1% ในเดือนพฤษภาคม
- สร้างแรงกดดันต่อกลุ่มธนาคาร ซึ่งมีรายได้จากอัตราดอกเบี้ยเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ หุ้นโกลด์แมน แซคส์ ปรับตัวลง 2.3% หุ้นมอร์แกน สแตนลีย์ ปรับตัวลง 2.4% หุ้นเวลส์ ฟาร์โก ปรับตัวลง 3% หุ้นเจพีมอร์แกน เชส ปรับตัวลง 1.3% หุ้นซิตี้กรุ๊ป ปรับตัวลง 1.6% และหุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกา ปรับตัวลง 1.03%
- ขณะที่หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลง หลังจากราคาน้ำมันดิบ WTI ดิ่งลงอย่างหนักถึง 4% เนื่องจากสต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ พุ่งขึ้นสวนทางการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ โดยหุ้นเอ็กซอน โมบิล ร่วงลง 1.1% หุ้นเชฟรอน ลดลง 0.8% หุ้นเชซาพีค เอนเนอร์จี ดิ่งลง 7.6% หุ้นเดวอน เอนเนอร์จี ร่วงลง 2.4% หุ้นมาราธอน ปิโตรเลียม ลดลง 1.7% หุ้นอ็อคซิเดนเชียล ปิโตรเลียม ลดลง 0.5% หุ้นฮัลลิเบอร์ตัน ร่วงลง 4.5%
- Huawei จับมือกับ Audi ร่วมกันพัฒนารถยนต์ไร้คนขับผ่านการร่วมทุนจาก Toyota และ China’s GAC ตั้งเป้าเตรียมผลิตรถสู่ตลาดในปี 2021 ประเดิมที่ตลาดยุโรปและจีน
- Tesla เตรียมออกรถยนต์ไฟฟ้าที่สามารถวิ่งได้ถึง 400 ไมล์ (640 กิโลเมตร) พร้อมทั้งระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติเต็มรูปแบบ ในงานประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี (ปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla วิ่งได้ราว 300-370 ไมล์ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง และยังเป็นระบบกึ่งขับเคลื่อนอัตโนมัติ) พร้อมทั้งเดินหน้าแผนจัดตั้งโรงงาน Gigafactory ในยุโรป และเตรียมกำหนดที่ตั้งโรงงานตามภูมิภาคต่างๆ และตั้งเป้าการเติบโตที่ 80% จากก่อนหน้าที่ 60% ในปีนี้ ส่วนผลกำไรจากการดำเนินงานยังคงเป็นสิ่งที่ท้าทาย แต่เชื่อว่า Tesla จะมีกระแสเงินสดกลับมาเป็นบวกจากการเติบโตนี้
- อีลอน มัสก์ ผู้บริหาร Tesla เตรียมผลิตรถยนต์เรือดำน้ำที่คล้ายกับในภาพยนตร์ James Bond 007: The Spy Who Loved Me แต่เป็นการผลิตเพียงคันเดียวเพื่อแสดงเท่านั้น
- พอล ทูดอร์ โจนส์ ผู้จัดการกองทุน Hedge Fund ระดับหมื่นล้าน คาดธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีนี้ จากปัจจัยสงครามการค้า โดยมองว่าจะทำให้สกุลเงินเหรียญสหรัฐมีทิศทางอ่อนค่าลง ส่วนหุ้นและทองคำมีแนวโน้ม Outperform
อเมริกา
- DOW30 ปิดที่ 26,004.83 จุด ลดลง 43.68 (-0.17%)
- S&P500 ปิดที่ 2,879.84 จุด ลดลง 5.88 จุด (-0.20%)
- NASDAQ ปิดที่ 7,792.72 จุด ลดลง 29.85 (-0.38%)
ยุโรป
- STOXX600 ปิดที่ 379.74 ลดลง 1.16 (-0.30%)
- DAX ปิดที่ 12,114.31 ลดลง 43.41 (-0.36%)
- FTSE 100 ปิดที่ 7,367.32 ลดลง 29.43 (-0.40%)
- FTSE MIB ปิดที่ 20,471.50 ลดลง 142.00 (-0.69%)
เอเชีย
- S&P/ASX 200 ปิดที่ที่ 6,543.70 ลดลง 2.60 (-0.04%)
- Shanghai ปิดที่ 2,909.38 ลดลง 16.34 (-0.56%)
- Hang Seng ปิดที่ 27,251.50 ลดลง 537.84 (-1.94%)
- KOSPI ปิดที่ 2,108.75 ลดลง 3.06 (-0.14%)
- BSE Sensex ปิดที่ 39,756.81 ลดลง 193.65 (-0.48%)
- Nikkei ปิดที่ 21,140.00 ลดลง 64.28 (-0.30%)
- SET ปิดที่ 1,671.11 เพิ่มขึ้น 0.70 (+0.07%)
Commodities
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ร่วงลง 2.13 เหรียญสหรัฐ หรือ 4% ปิดที่ 51.14 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนสิงหาคม ดิ่งลง 2.32 เหรียญสหรัฐ หรือ 3.7% ปิดที่ 59.97 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
- สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้น 5.60 เหรียญสหรัฐ หรือ 0.4% ปิดที่ 1,336.80 เหรียญสหรัฐ/ออนซ์
ติดตามข่าวสารการลงทุนเพิ่มเติมได้ที่ finno.me/dailyupdate
พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์
อ้างอิง: Infoquest, Bloomberg, Investing