โอกาสรอดของอุตสาหกรรมสื่อภาพยนตร์จากนี้จะเป็นอย่างไร? หากนับเป็นเวลากว่า 5 เดือนแล้วที่นักแสดงฮอลลีวูดและนักเขียนรวมตัวประท้วงต่อรองเรื่องค่าจ้างกับค่ายสตรีมมิงยักษ์ แต่ปัญหาคือธุรกิจยังไม่สามารถทำกำไรจากช่องทางสตรีมมิงได้มากพอ
สำนักข่าว CNBC รายงานว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมสื่อในสหรัฐอเมริกามีความท้าทายและเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะช่วงที่ Netflix กระโดดเข้ามาในตลาดปี 2013 และค่อยๆ ช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดต่อเนื่อง จนกลายเป็นผู้ให้บริการ Online Streaming รายใหญ่ของโลก เรียกได้ว่าการเกิดขึ้นของ Netflix เข้ามาดิสรัปต์อุตสาหกรรมภาพยนตร์และทีวี
หลังโควิดคลี่คลาย พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้คนเริ่มใช้เวลาบนแพลตฟอร์มออนไลน์น้อยลง ประกอบกับตลาดสตรีมมิงเริ่มมีคู่แข่งหน้าใหม่ๆ เข้ามา จนทำให้ยอดผู้ใช้งานของ Netflix ลดลงถึง 2 แสนรายในปีที่ผ่านมา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- ดูซีรีส์ Netflix แบบมีโฆษณา! มันจะออกมาในรูปแบบไหน เริ่มช่วงไหน และมันจะดีต่อใจจริงๆ หรือไม่?
- เจาะลึกแนวโน้มอุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงโลกในอีก 5 ปีข้างหน้า
- นักข่าวและผู้ประกาศข่าวที่เป็นมนุษย์ยังจำเป็นหรือไม่? เมื่ออินเดียเปิดตัว ‘ผู้ประกาศข่าว AI’ ที่ ‘พูด’ ได้มากถึง 72 ภาษา
แต่ Netflix ก็ยังไม่หยุดที่จะปรับตัวด้วยการสร้างเนื้อหาทั้งภาพยนตร์และรายการเข้าตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย พร้อมขึ้นราคาสมาชิกและห้ามแบ่งปันรหัสผ่านกัน จนทำให้สมาชิกลดลงอีกครั้ง แต่บริษัทก็ต้องทำเพื่อให้สอดรับกับต้นทุนการผลิตรายการและภาพยนตร์ใหม่ที่พยายามทำออกมาเพื่อดึงดูดสมาชิกใหม่อย่างต่อเนื่อง
โรเบิร์ต ไอเกอร์ ซีอีโอของ Disney พยายามปรับโครงสร้างองค์กรและลดงบค่าใช้จ่าย หันมาให้ความสำคัญกับการผลิตเนื้อหาเชิงคุณภาพมากกว่าปริมาณ โดยพยายามใช้สูตรความสำเร็จของ Marvel Cinematic Universe (MCU) มาพัฒนารายการซูเปอร์ฮีโร่เข้ามาฉายในแพลตฟอร์ม Disney+ ประมาณ 6-10 ตอน แต่ละตอนมีงบอยู่ประมาณ 25 ล้านดอลลาร์
โดยรูปแบบของการให้สมัครสมาชิกพิสูจน์ให้เห็นถึงความแตกต่างถึงที่มาของรายได้โดยตรงถ้าเทียบกับการรับชมสื่อทางทีวีแบบดั้งเดิมที่มีรายได้หลักจากการโฆษณา แต่ก็ต้องยอมรับว่ากลยุทธ์ที่บริษัทสื่อพึ่งมากันมานานคือเรื่องของการผลิตเนื้อหาป้อนไปยังแพลตฟอร์มออนไลน์หรือสตรีมมิง ซึ่งสามารถทำกำไรได้เป็นอย่างดี
ถึงกระนั้นนักแสดงและนักเขียนต่างเห็นตรงกันว่า การผลิตสู่รูปแบบสตรีมมิงทำให้ซีรีส์แต่ละเรื่องมีระยะเวลาสั้นลง แต่ช่วงเวลาแต่ละเรื่องกลับนานขึ้น ตลอดจนการนำปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) มาใช้ในการถ่ายทำ ส่งผลให้นักแสดงมีงานน้อยลง และทำให้ค่าจ้างลดลงตามไปด้วย
ทำให้เห็นว่าในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา การรวมตัวประท้วงของนักแสดงส่งผลให้รายการทีวี ซีรีส์ และภาพยนตร์เกือบทุกเรื่องในสหรัฐอเมริกาที่ยังไม่ปิดกล้องต้องหยุดชะงัก รวมถึงภาพยนตร์บางเรื่องก็ต้องเลื่อนฉายออกไปอย่างไม่มีกำหนด
ในขณะที่สตูดิโอหลายแห่งก็ขาดความโปร่งใสในแง่ของกฎเกณฑ์เกี่ยวกับข้อมูลผู้ชมแบบสตรีมมิง ทำให้การเจรจาสัญญาล่าสุดระหว่างสตูดิโอกับนักเขียนและนักแสดงมีการเจรจากันไม่ลงตัว
อย่างไรก็ตาม ตอนนี้หลายๆ ค่ายกำลังดึงรูปแบบธุรกิจเดิมที่เคยประสบความสำเร็จในอดีตมาใช้เพื่อหวังทำให้การสตรีมมิงมีกำไร เช่น หันมาให้ความสำคัญกับโฆษณา การออกใบอนุญาตเนื้อหาไปยังแพลตฟอร์มอื่น ตามด้วยการปราบปรามการแบ่งปันรหัสผ่านและหน้าต่างไปยังแพลตฟอร์มต่างๆ นั้นต้องจับตาดูในระยะยาว
อ้างอิง: