×

รัฐปรับเกณฑ์ หญิง 55 ปีอุ้มบุญได้ เล็งอนุญาตให้คู่สมรสต่างชาติใช้หญิงไทยได้อย่างถูกกฎหมาย

โดย THE STANDARD TEAM
02.03.2024
  • LOADING...
ผู้มีบุตรยาก

วานนี้ (1 มีนาคม) ที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) แถลงข่าว ‘สบส. ส่งเสริมการมีบุตร: ทางเลือกสำหรับผู้มีบุตรยากเพื่อเข้ารับบริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์’ 

 

ตัวเลขการเกิดใหม่ลดลงต่อเนื่อง

 

นพ.สุระ กล่าวว่า สถานการณ์การเกิดของประเทศไทยในปัจจุบันลดลงอย่างมาก โดยในปี 2566 มีการเกิดใหม่ไม่ถึง 500,000 คน และมีแนวโน้มลดลงในปี 2567 ขณะที่มีผู้เสียชีวิตมากกว่าปีละ 800,000 คน จึงทำให้ประชากรของประเทศลดลง และสังคมผู้สูงอายุจะสูงมากกว่าร้อยละ 20 ซึ่งจะเป็นปัญหาในการพัฒนาประเทศต่อไป 

 

รัฐบาลได้วางกลยุทธ์ที่จะทำให้ผู้มีบุตรยากสามารถเข้าถึงบริการและสามารถมีบุตรได้มากขึ้น ซึ่งอยู่ในระหว่างการผลักดันเป็นวาระแห่งชาติ ส่วนกระทรวงสาธารณสุขประกาศเป็นนโยบายหลักของกระทรวงฯ แล้ว โดยมี พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 เปิดโอกาสให้คู่สมรสที่มีบุตรยากมีบุตรได้ตามต้องการ   

 

ซึ่งปัจจุบันมีสถานพยาบาลที่ให้บริการผสมเทียม เด็กหลอดแก้ว และอุ้มบุญ 115 แห่ง แบ่งเป็น โรงพยาบาลของรัฐ 17 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน 31 แห่ง และคลินิกเอกชน 67 แห่ง 

 

การแก้ปัญหาการมีบุตรยาก

 

การแก้ปัญหาการมีบุตรยากในประเทศไทยที่ผ่านมา ประกอบด้วย 

  1. คู่สมรสที่ยังสามารถมีบุตรได้ จะใช้วิธีการฉีดน้ำเชื้ออสุจิของสามีเข้าไปในโพรงมดลูกของภรรยา เรียกว่าการผสมเทียม ซึ่งมีการให้บริการประมาณปีละ 12,000 รอบการรักษา, การผสมเด็กหลอดแก้ว ซึ่งมีการให้บริการประมาณปีละ 20,000 รอบการรักษา 

 

  1. คู่สมรสที่ตั้งครรภ์เองไม่ได้ ใช้การอุ้มบุญ ซึ่งที่ผ่านมามีการให้อนุญาตแล้ว 754 ราย และไม่ได้รับอนุญาตอีก 22 ราย เนื่องจากการอุ้มบุญจะต้องดูความพร้อมจากหลายด้าน  

 

นพ.สุระ กล่าวต่อว่า ผลสำเร็จของการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทั้ง 3 วิธีอยู่ที่ประมาณร้อยละ 50 แต่การอุ้มบุญนั้นจะมีค่าใช้จ่ายที่สูง ส่วนใหญ่ประชาชนก็จะเลือกใช้วิธีผสมเทียมและเด็กหลอดแก้ว 

 

ทั้งนี้นโยบายส่งเสริมการมีบุตรได้ตั้งเป้าหมายว่าจะมีผู้เข้ามารับบริการในแต่ละวิธีไม่น้อยกว่าปีละ 100 ราย   

 

ปี 2567 กฎหมายปรับแก้อะไรบ้าง

 

ในปี 2567 สบส. ได้ปรับแก้กฎหมาย

  1. การรับบริจาคไข่ โดยสามารถให้ญาติสืบสายโลหิตของภรรยาอายุตั้งแต่ 20-40 ปี บริจาคไข่ได้โดยไม่ต้องผ่านการสมรสเป็นผู้บริจาคไข่ 
  2. ให้ภรรยาที่มีอายุ 35 ปี สามารถทำการตรวจโรคทางพันธุกรรมของตัวอ่อนได้ เพื่อทำให้ตัวอ่อนเกิดอย่างมีสุขภาพดี 
  3. ปรับแก้เพดานอายุหญิงที่เป็นภรรยาที่ประสงค์ให้มีการตั้งครรภ์แทนโดยหญิงอื่น โดยอายุมากกว่า 55 ปีก็สามารถทำได้
  4. ยกระดับการประกันคุ้มครองสุขภาพหญิงตั้งครรภ์แทน ซึ่งขณะนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และสมาคมประกันภัยกำลังหารือเรื่องกรมธรรม์ร่วมกัน

 

ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดี สบส. กล่าวว่า การปรับเพดานอายุหญิงที่ประสงค์ให้มีการตั้งครรภ์แทนนั้น เนื่องจากปัจจุบันคนที่อยากจะมีลูกจะเก็บไข่ไว้ตั้งแต่อายุ 30 ปี และบางรายอาจมีการสมรสตอนอายุ 60 ปี หญิงรายนี้ก็จะสามารถเอาตัวอ่อนของตัวเองที่เก็บไว้ไปผสมกับอสุจิของสามีหรือรับบริจาคอสุจิ 

 

จากนั้นก็นำไปฝากกับแม่อุ้มบุญตามกฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเลือกคนในเครือญาติฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายก่อน ถ้าไม่ได้ก็สามารถไปหาหญิงอื่นที่พร้อมรับอุ้มบุญที่เคยมีบุตรมาแล้ว

 

ทพ.อาคม กล่าวต่อว่า ทางคณะอยู่ระหว่างพิจารณาให้คู่สมรสต่างชาติเข้ามาทำการอุ้มบุญในไทยได้ โดยสามารถนำแม่อุ้มบุญต่างชาติเข้ามาได้ หรือให้หญิงไทยตั้งครรภ์แทนได้ แต่ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมาย พร้อมทั้งมีแนวทางป้องกันการลักลอบค้ามนุษย์ด้วย

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X