×

Fed minutes เผยล่าสุด ยังไร้สัญญาณลดดอกเบี้ย ย้ำอัตราเงินเฟ้อยังสูงกว่าเป้าหมาย

22.11.2023
  • LOADING...
Fed minutes

รายงานผลการประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายการเงิน หรือ minutes ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่เผยแพร่เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (21 พฤศจิกายน) ระบุชัดว่า ในการประชุมครั้งล่าสุดนี้เจ้าหน้าที่ Fed ไม่ได้แสดงความต้องการที่จะหั่นอัตราดอกเบี้ยในเร็ววันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออัตราเงินเฟ้อยังคงสูงกว่าเป้าหมายที่ 2% 

 

โดยสรุปการประชุมระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า สมาชิกคณะกรรมการ Fed ยังคงกังวลว่าอัตราเงินเฟ้ออาจดื้อดึงหรือขยับสูงขึ้น และอาจจำเป็นต้องดำเนินการมากกว่านี้ พร้อมระบุว่า นโยบายการเงินจะต้อง ‘เข้มงวด’ จนกว่าข้อมูลจะแสดงอัตราเงินเฟ้อในช่วงที่มีแนวโน้มกลับมาสู่เป้าหมาย 2% ของ Fed 

 

รายงานระบุอีกว่า “ในการหารือเกี่ยวกับแนวโน้มนโยบาย ผู้เข้าร่วมยังคงตัดสินว่ามันเป็นสิ่งสำคัญที่จุดยืนของนโยบายการเงินจะต้องเข้มงวดเพียงพอที่จะคืนอัตราเงินเฟ้อให้กับเป้าหมาย 2% ของคณะกรรมการฯ เมื่อเวลาผ่านไป”

 

อย่างไรก็ตามรายงานการประชุมยังแสดงให้เห็นว่า สมาชิกเชื่อว่าพวกเขาสามารถ ‘ดำเนินการอย่างระมัดระวัง’ และตัดสินใจเกี่ยวกับข้อมูลที่เข้ามาทั้งหมด รวมทั้งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไปจนถึงความสมดุลของความเสี่ยง

 

การเปิดเผยรายงานครั้งนี้มีขึ้นท่ามกลางบรรยากาศในตลาด Wall Street ที่เชื่ออย่างท่วมท้นว่า Fed ได้เสร็จสิ้นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเรียบร้อยแล้ว ขณะที่เหล่าเทรดเดอร์ในตลาด Futures ของกองทุน Fed มองว่า แทบไม่มีความเป็นไปได้ที่ผู้กำหนดนโยบายจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในรอบนี้ และ Fed น่าจะเริ่มปรับลดดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีหน้า รวมถึงลดลงถึง 0.25% ก่อนสิ้นปี 2024

 

อย่างไรก็ตาม รายงานการประชุมที่เปิดเผยล่าสุดชี้ว่า สมาชิก Fed ไม่ได้มีการพูดคุยเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยแต่อย่างใด ขณะที่ เจอโรม พาวเวลล์ ประธาน Fed ก็ออกมายืนยันเองในภายหลังว่า คณะกรรมการ Fed ไม่ได้คิดถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเลยในตอนนี้ 

 

ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยของ Fed ยังคงอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบ 22 ปีที่ 5.25%-5.5%

 

การประชุมเกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลของตลาดเกี่ยวกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นหัวข้อที่ดูเหมือนจะก่อให้เกิดการอภิปรายที่สำคัญในระหว่างการประชุมเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยวันที่ Fed ออกแถลงการณ์หลังการประชุม กระทรวงการคลังได้ประกาศความต้องการกู้ยืมในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ซึ่งน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้เล็กน้อย 

 

ขณะที่อัตราผลตอบแทนได้ปรับตัวลดลงจากระดับสูงสุดในรอบ 16 ปี เนื่องจากตลาดพิจารณาถึงผลกระทบของการกู้ยืมเงินจำนวนมากจากรัฐบาล และความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางที่ Fed จะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ทำให้เจ้าหน้าที่สรุปว่า อัตราผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นได้รับแรงหนุนจาก ‘เบี้ยประกันภัยระยะยาว’ ที่เพิ่มขึ้น หรือนักลงทุนที่ให้ผลตอบแทนพิเศษเรียกร้องให้ถือหลักทรัพย์ระยะยาว 

 

รายงานการประชุมดังกล่าวตั้งข้อสังเกตว่า ผู้กำหนดนโยบายมองว่าเบี้ยประกันภัยระยะยาวเป็นผลจากอุปทานที่มากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลใช้เงินสนับสนุนการขาดดุลงบประมาณจำนวนมาก โดยมีประเด็นอื่นๆ ได้แก่ จุดยืนของ Fed ต่อนโยบายการเงินและมุมมองเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อและการเติบโต เป็นตัวเสริม

 

กระนั้นไม่ว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนในระยะยาวจะมาจากสาเหตุใดก็ตาม การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในสภาวะทางการเงินอาจมีผลกระทบต่อเส้นทางของนโยบายการเงิน และดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องติดตามการพัฒนาของตลาดอย่างใกล้ชิดต่อไป รายงาน minutes สรุป 

 

ในส่วนของการเติบโตทางเศรษฐกิจ Fed มองว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 จะ ‘ชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด’ จากไตรมาสที่ 3 ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 4.9% เนื่องจากทิศทางความเสี่ยงทางเศรษฐกิจยังคงมีแนวโน้มเป็นลบ ขณะที่ความเสี่ยงต่ออัตราเงินเฟ้อก็ยังมีโอกาสทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้อีกเช่นกัน 

 

สำหรับมุมมองต่อนโยบายปัจจุบัน  Fed ยอมรับว่ามีข้อจำกัดและเป็นแรงกดดันต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ แต่ความเห็นภายในยังคงแตกเป็นสองฝ่าย ระหว่างฝ่ายที่เห็นว่า Fed ยังสามารถยืนหยัดในอัตราดอกเบี้ยสูงต่อไปอีกสักระยะ เพื่อพิจารณาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยใน 11 ครั้งก่อนหน้า ขณะที่อีกส่วนหนึ่งอยากให้คงความเป็นไปได้ที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไว้อีกครั้ง หลังข้อมูลเศรษฐกิจโดยทั่วไปเอื้อให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 

 

ทั้งนี้ ตัวบ่งชี้อัตราเงินเฟ้อที่สำคัญของ Fed ซึ่งเป็นดัชนีราคาค่าใช้จ่ายการบริโภคส่วนบุคคล แสดงให้เห็นว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 3.7% ในรอบ 12 เดือนในเดือนกันยายน ตัวเลขดังกล่าวดีขึ้นอย่างมาก แต่ก็ยังสูงว่าเป้าหมายเงินเฟ้อ Fed ที่ 2%

 

บรรดานักเศรษฐศาสตร์บางคนคิดว่า การลดอัตราเงินเฟ้อจากตรงนี้น่าจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการปรับขึ้นค่าจ้างดำเนินไปอย่างแข็งแกร่งและองค์ประกอบที่ดื้อรั้นมากขึ้น เช่น ค่าเช่าและค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น 

 

นอกจากนี้ในด้านการจ้างงานอาจเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการลดอัตราเงินเฟ้อ โดยตลาดงานสหรัฐฯ ยังมีความแข็งแกร่งดีอยู่ แม้ว่าจะอยู่ในระดับปานกลางก็ตาม กระนั้นหลายฝ่ายมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะชะลอความร้อนแรงลง โดยการเติบโตในไตรมาสที่ 4 ปีนี้จะเหลืออยู่ที่ 2%

 

อ้างอิง: 

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X