×

เฟซบุ๊กจับตามองกลุ่มที่ไม่สนับสนุนการฉีดวัคซีนและข้อมูลผิดๆ บนแพลตฟอร์ม

15.03.2019
  • LOADING...
Facebook shoots down Pages, ads sharing vaccine misinformation

HIGHLIGHTS

2 Mins. Read
  • เฟซบุ๊กเตรียมจัดการกลุ่มที่ให้ข้อมูลบิดเบือนด้านการฉีดวัคซีน หรือกลุ่มคนที่ไม่นิยมการฉีดวัคซีน (anti-vaxers) ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา โดยจะเริ่มลดการแสดงผลของกลุ่มและเพจที่ให้ข้อมูลที่ผิดๆ เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนทั้งในฟีดข่าวและในโหมดการค้นหาทั้งบนเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดและอันตรายที่อาจเกิดต่อเด็ก

เฟซบุ๊กเตรียมจัดการกลุ่มที่ให้ข้อมูลบิดเบือนด้านการฉีดวัคซีน หรือกลุ่มคนที่ไม่นิยมการฉีดวัคซีน (anti-vaxers) ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา โดยจะเริ่มลดการแสดงผลของกลุ่มและเพจที่ให้ข้อมูลที่ผิดๆ เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนทั้งในฟีดข่าวและในโหมดการค้นหา

 

เมื่อปี 2018 หน่วยงานมาตรฐานการโฆษณาของสหราชอาณาจักร ได้แบนโฆษณาบนเฟซบุ๊กของกลุ่มรณรงค์ต่อต้านการฉีดวัคซีนในสหรัฐอเมริกา ที่ตั้งกลุ่มเป้าหมายไปที่บรรดาคุณแม่ในหน้าแฟนเพจเฟซบุ๊ก ‘Stop Mandatory Vaccinations (SMV)’ ที่มีผู้ติดตามถึง 130,000 ราย และกลุ่มปิดมีสมาชิกมากถึง 150,000 บัญชี แต่ทางเฟซบุ๊กก็ยังไม่มีมาตรการจัดการเรื่องนี้

 

ขณะที่ โมนิกา บิกเคิร์ท (Monika Bickert) รองประธานฝ่ายการจัดการนโยบายทั่วโลกของเฟซบุ๊ก บอกในคำแถลงว่า บัญชีโฆษณาที่ละเมิดนโยบายของเฟซบุ๊กอาจถูกปิดการใช้งาน กลุ่มและเพจเหล่านี้จะไม่ได้อยู่ในการแนะนำของเฟซบุ๊ก “เราจะรีบจัดการเมื่อพบข้อมูลที่เป็นเท็จเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน”

 

แต่เฟซบุ๊กเองไม่ได้จะถอดถอนบัญชีผู้ใช้งานที่โพสต์ข้อมูลที่เป็นเท็จเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน เพราะโดยทั่วไปข้อมูลที่สามารถผิดพลาดได้นั้นจะต้องไม่ละเมิดกับกฎของเฟซบุ๊ก แต่ถ้าข้อมูลบางอย่างขัดกับข้อบังคับของเฟซบุ๊กมากเกินไป ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกลบออกจากระบบ

 

โมนิกายังกล่าวอีกว่า เฟซบุ๊กกำลังหาวิธีการให้ข้อมูลที่ถูกต้องที่เกี่ยวกับการวัคซีนจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้แก่ผู้ใช้งาน และจะได้ใช้งานในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

 

จากข้อมูลที่ Hootsuite ระบบบริหารจัดการ Social Media ได้รวบรวมไว้ว่า วัยรุ่นเกือบครึ่งของสหรัฐฯ ใช้งานเฟซบุ๊ก และชาวอเมริกันอายุ 65 ปีขึ้นไปใช้งานเฟซบุ๊กเพิ่มเป็น 41% ในปี 2012 และยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

ในส่วนของการโฆษณานั้น เฟซบุ๊กเปิดให้ผู้ใช้งานจัดหมวดหมู่ความสนใจของตัวเองผ่านหน้าฟังก์ชัน ‘การตั้งค่าโฆษณาของคุณ’ อันเผยให้เห็นว่าเฟซบุ๊กใช้เกณฑ์อะไรในการแบ่งความสนใจของผู้ใช้แต่ละคน ขณะที่การสำรวจล่าสุดของสถาบันวิจัยพิว  (Pew Research Center) ที่ทำการศึกษาและวิจัยเรื่องศาสนา การเมือง นโยบายสังคม การต่างประเทศ และการสื่อสารมวลชน ได้ระบุว่า ผู้เข้าร่วมการทดสอบส่วนใหญ่จำนวน 74% ไม่ทราบว่ามีลิสต์ลักษณะและความสนใจอยู่ในข้อมูลของเฟซบุ๊ก และนำไปสู่การตั้งค่าการโฆษณา นอกจากนั้นพวกเขายังไม่พอใจที่เฟซบุ๊กสร้างลิสต์เหล่านี้ขึ้นมา

 

ในส่วนแพลตฟอร์มอินสตาแกรมที่เฟซบุ๊กเป็นเจ้าของนั้น โมนิกาเสริมอีกว่า ในหน้าการค้นหาและแฮชแท็กจะไม่แสดงหรือแนะนำเนื้อหาที่ให้ข้อมูลเรื่องการฉีดวัคซีนที่เป็นเท็จหรือต่อต้านการฉีดวัคซีนด้วยเช่นกัน

 

กรมอนามัยโลกและศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคในสหรัฐฯ ตรวจสอบและพบว่า มีข้อมูลวัคซีนที่ไม่ถูกต้องปรากฏอยู่ ทางเฟซบุ๊กเองก็จะดำเนินการทันทีหากมีการตรวจพบว่ามีจริง โดยก็จะยกเลิกการแนะนำกลุ่มหรือเพจที่โพสต์การให้ข้อมูลวัคซีนที่เป็นเท็จในฟีดข่าว การค้นหาและโฆษณาที่มีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนี้ เพราะอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดและอันตรายที่เกิดในเด็กได้

 

หลายคนยังเชื่อว่าเฟซบุ๊กต้องหาจุดยืนสำหรับเรื่องนี้โดยเร็ว เพราะพวกเขาหลีกเลี่ยงที่จะไม่เซนเซอร์ แต่ก็ไม่ได้แนะนำมันให้แก่ผู้ใช้งานเช่นกัน

 

ภาพ: Shutterstock

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X