×

EV แรงติดจรวด อุตสาหกรรมที่มาแรงที่สุดใน EEC ยอดขายเติบโต 244% ดันไทยขึ้นแท่น Hub สำคัญของภูมิภาคอาเซียน [ADVERTORIAL]

31.05.2023
  • LOADING...
EV ในไทย

เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า EV จะเปลี่ยนจากเทรนด์เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตในโลกอนาคตอย่างแน่นอน เมื่อดูจากยอดขาย EV ทั่วโลก แตะ 7.8 ล้านคัน คิดเป็น 10% ของยอดขายรถทั้งหมด

 

สำหรับประเทศไทย มียอดการสั่งซื้อ EV สูงกว่าปี 2563 กว่า 244% โดยยอดจอง EV ในงานมอเตอร์โชว์เดือนมีนาคม 2566 ที่ผ่านมาสูงถึง 9,234 คัน

 

แนวโน้มตลาดที่กำลังเติบโตแบบก้าวกระโดด ส่งผลให้หลายธุรกิจกระโดดเข้ามาสู่อุตสาหกรรม EV มีการคาดการณ์ว่าประเทศไทยอาจจะกลายเป็น Hub การผลิต EV ที่ใหญ่แห่งหนึ่งของเอเชีย ด้วยจุดแข็งที่หลากหลายมิติ ทั้งความพร้อมด้านนโยบาย โครงสร้างพื้นฐานพลังงาน ทำเลที่ตั้งที่เอื้อต่อการส่งออก ซัพพลายเชนที่แข็งแกร่ง ส่งผลให้แบรนด์ชั้นนำระดับโลกเข้ามาลงทุนตั้งฐานการผลิต EV ที่ไทย ไม่ว่าจะเป็น MG, GWM, BYD, Foxconn, NETA V, Aiways, BMW แม้แต่ ‘ฉางอัน ออโตโมบิล’ ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ Top 4 ของจีน ก็ทุ่มงบ 9,800 ล้านบาท ตอกเสาเข็มสร้างฐานการผลิต EV ในไทยด้วยเช่นกัน

 

โดยพื้นที่หลักสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ คงหนีไม่พ้นย่าน EEC เห็นได้ชัดจากมูลค่าการลงทุนในอุตสาหกรรม EV สะสมรวมในย่าน EEC ของไทยตลอด 5 ปีที่ผ่านมา มีมูลค่าสูงถึง 100,000 ล้านบาท ส่งผลให้ EEC เป็นพื้นที่การลงทุนที่น่าจับตามอง เพราะนอกจากนักลงทุนต่างชาติจะหมายมั่นปั้นไทยให้เป็น Hub การผลิตที่สำคัญของเอเชียแล้ว ยังมีแนวโน้มเติบโตในด้านอื่นๆ เช่น ที่อยู่อาศัย แหล่งท่องเที่ยว และอื่นๆ อีกมากมาย

 

ภายใต้การเติบโตของอุตสาหกรรม EV ในย่าน EEC ทั้งในมิติของการจ้างงาน โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการคมนาคม และการขนส่ง แน่นอนว่ากลุ่มธุรกิจอสังหาฯ จะได้รับผลประโยชน์ไปด้วย จึงส่งผลให้พื้นที่โซน EEC เป็นแหล่งที่มีผู้คนมองหาที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เป็นสัญญาณที่มั่นใจได้ว่าการเติบโตของ EEC อย่างต่อเนื่องเช่นนี้ จะสามารถลดความเสี่ยงในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ และสร้างผลกำไรได้อย่างต่อเนื่อง

 

และหนึ่งในการลงทุนบนพื้นที่ EEC ที่น่าสนใจคือ คือ ‘Origin EEC Investment Property Program’ โปรแกรมการลงทุนรูปแบบใหม่กับโครงการคอนโดใจกลางระยอง ศรีราชา สร้างผลตอบแทน 6-8% นานต่อเนื่อง 10 ปี* 

 

ว่ากันว่านี่จะเป็นการลงทุนที่ให้กำไรโดดเด่น แต่เพื่อลดความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน THE STANDARD สรุปข้อมูลทั้งหมดที่นักลงทุนควรรู้ ตั้งแต่แนวโน้มการเติบโตของ EV ในเมืองไทย เหตุผลที่นักลงทุนต่างชาติอยากเข้ามาลงทุนในพื้นที่ EEC ไปจนถึงข้อมูลของ ‘Origin EEC Investment Property Program’ และการได้มาซึ่งกำไรที่โดดเด่น กับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต EEC

 

การเติบโตของตลาด EV ในไทย ไม่จำกัดแค่รถยนต์ส่วนบุคคล แต่แตกเซ็กเมนต์กลุ่มรถครอบครัว รถกระบะ และมอเตอร์ไซค์

 

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เผยตัวเลขยอดจดทะเบียนรถ EV ทุกประเภทของปี 2565 อยู่ที่ราว 15,000 คัน เมื่อเทียบกับปี 2564 มียอดจดทะเบียนประมาณ 1,900 คัน เติบโตกว่า 500%

 

นอกจากการปรับตัวของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นจะเป็นตัวกระตุ้นให้คนหันมาใช้รถ EV ยังได้อานิสงส์จากนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐ ทั้งนโยบายทางด้านภาษี เช่น การลดภาษีนำเข้า การลดภาษีสรรพสามิต และการมอบเงินส่วนลดให้กับประชาชนผู้ซื้อรถ EV 150,000 บาทต่อคัน ทำให้คนไทยมีโอกาสเป็นเจ้าของรถไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น

 

ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ อนุมัติโครงการยานยนต์ไฟฟ้าไปแล้ว 26 โครงการจาก 17 บริษัท คิดเป็นยอดกำลังการผลิตรถไฟฟ้า 830,000 คัน และคาดการณ์ว่าภายในต้นปี 2566 ประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจำนวนหนึ่งล้านคัน

 

คาดการณ์ว่าภายในปี 2573 EV มีสัดส่วน 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดของประเทศไทย หรือ 700,000 คันต่อปี 

 

แนวโน้มตลาดที่กำลังเติบโตแบบก้าวกระโดด ส่งผลให้หลายธุรกิจกระโดดเข้ามาสู่อุตสาหกรรม EV เพื่อร่วมกันผลักดัน EV Ecosystem ให้แข็งแกร่ง เช่น โรงงานผลิตแบตเตอรี่ ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ หรือการสร้างสถานีชาร์จ โดยจำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้าในช่วงต้นปี 2566 มีประมาณ 1,000 กว่าแห่งเท่านั้น ซึ่งราวๆ 40% ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะมีช่องชาร์จเพิ่มกว่า 19,000 ช่อง ภายในระยะเวลา 2 ปี

 

 

ตอนนี้ประเทศในภูมิภาคอาเซียน กำลังขับเคี่ยวที่จะขึ้นมาเป็น Hub สำคัญในการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่นักลงทุนหมายตา ด้วยจุดแข็งในหลายมิติ เช่น ทำเลที่ตั้งอยู่จุดศูนย์กลางของประเทศที่ใช้รถพวงมาลัยขวา ไม่ว่าจะเป็น ประเทศกลุ่มอาเซียน, ออสเตรเลีย, เอเชียใต้, และแอฟริกาตอนใต้ จึงเหมาะจะเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปยังกลุ่มประเทศดังกล่าว 

 

ประกอบกับความชำนาญจากการผลิตรถยนต์สันดาปมายาวนาน รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง โดยมีท่าเรือแหลมฉบัง ที่รองรับการขนส่งรถยนต์ได้ 2 ล้านคันต่อปี และจะเพิ่มเป็น 3 ล้านคันต่อปีในปี 2568 ไปจนถึงการมีระบบขนส่งที่เชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียน 

 

 

ก่อนหน้านี้ประเทศไทยเคยถูกวางตำแหน่งให้เป็น ‘ดีทรอยต์แห่งเอเชีย’ เนื่องจากมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศติด 1 ใน 5 อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ นโยบายการผลักดันให้ไทยเป็นดีทรอยต์แห่งเอเชีย แม้ว่าจะสะดุดจนเกือบหยุดชะงักไปบ้างในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว

 

แต่ปัจจุบันแนวโน้มการเติบโตของพื้นที่ EEC ทำให้เศรษฐกิจกลับมาคึกคักอีกครั้ง และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย นั่นก็คือ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้านั่นเอง ส่งผลให้ประเทศผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าชั้นนำทั้ง จีน ยุโรป และอเมริกา เลือกเข้ามาลงทุนตั้งฐานการผลิต EV ที่ไทย ไม่ว่าจะเป็น

 

MG ซึ่งมีฐานการผลิตรถเครื่องยนต์สันดาปในประเทศไทย และประกาศจะสร้างฐานการผลิตในไทยแน่นอน

 

GWM เข้ามาลงทุนในไทยตั้งแต่ปี 2020 ผ่านการซื้อโรงงานต่อจาก GM ตั้งเป้าเดินสายการผลิตในปี 2567

 

BYD แบรนด์ยักษ์ใหญ่ที่มียอดขาย EV เป็นอันดับ 1 ของโลก ซื้อที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม WHA ระยองกว่า 600 ไร่ เพื่อตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารวมถึงแบตเตอรี่ในอนาคต

 

Foxconn ร่วมทุนกับ ปตท. ประกาศการลงทุนกว่า 36,000 ล้านบาท ที่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดชลบุรี เพื่อสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า โดยเป็นการรับจ้างผลิตให้กับแบรนด์อื่นๆ

 

NETA V ลงนามในสัญญากับโรงงานประกอบรถยนต์บางชันฯ เพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย

 

BMW วางแผนเพิ่มฐานการผลิต EV ที่โรงงานจังหวัดระยอง เตรียมส่ง EV ทุกเซ็กเมนต์สู่ตลาดภายในปี 2567

 

Aiways สตาร์ทอัพจากจีนมีแผนสร้างฐานการผลิตรถแท็กซี่ไฟฟ้าในพื้นที่ EEC นอกจากนั้นยังมี Mercedes-Benz ที่ลงนามกับกรมสรรพสามิตเพื่อรับสิทธิประโยชน์การผลิต EV ในประเทศไทย

 

 

แม้แต่ ‘ฉางอัน ออโตโมบิล’ ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ Top 4 ของจีน ก็ทุ่มงบ 9,800 ล้านบาท ตอกเสาเข็มสร้างฐานการผลิต EV ในไทยด้วยเช่นกัน

 

นอกจากผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว ผู้ผลิตชิ้นส่วนที่อยู่ในซัพพลายเชนของยานยนต์ไฟฟ้าก็ประกาศแผนลงทุนครั้งใหญ่ในประเทศไทยเช่นกัน เช่น ผู้ผลิตแบตเตอรี่ ซึ่งนำโดยบริษัท EA ลงทุนโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมในพื้นที่ EEC ที่กำลังการผลิต 4 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี และขยายไปถึงกำลังการผลิตที่ 50 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี

 

รวมถึงบริษัทข้ามชาติอย่าง TÜV SÜD, Siemens, ABB, Continental, Michelin, Alba Group ซึ่งเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพื่อใช้ไทยเป็นฐานการผลิตของบริษัทในระดับภูมิภาค     

 

 

เมื่อพูดถึงอุตสาหกรรม EV ย่าน EEC หรือเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ถือเป็นหัวใจหลักของอุตสาหกรรมนี้ เห็นได้ชัดจากมูลค่าการลงทุนในอุตสาหกรรม EV สะสมรวมในย่าน EEC ของไทยตลอด 5 ปีที่ผ่านมา มีมูลค่าสูงถึง 100,000 ล้านบาท

 

ภายใต้ตัวเลขการลงทุนมหาศาลนี้ หากมองลึกไปถึงผลประโยชน์ที่คนไทยจะได้รับ ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นก่อสร้างโรงงาน คาดการณ์ว่าจะเกิดการจ้างงานภายในประเทศมากกว่า 16,000 อัตรา และเกิดการจ้างงานในธุรกิจต่อเนื่องกว่า 1 แสนอัตราในระยะเวลา 5 ปี 

 

รวมไปถึงผู้บริโภคที่กำลังสนใจจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต แน่นอนว่าราคารถยนต์ไฟฟ้าก็จะถูกลง เนื่องจากไม่มีภาษีนำเข้า ไม่มีต้นทุนการขนส่งจากต่างประเทศ ส่งผลให้มลภาวะในอากาศลดลงหากมีผู้เปลี่ยนมาใช้รถ EV จำนวนมากขึ้น  

 

และเมื่อโครงการแล้วเสร็จ จะเกิดการพัฒนาโครงสร้างคมนาคมเพื่อเชื่อมต่อกับเมืองหลัก ทำให้การเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังพื้นที่ EEC ให้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง

 

ลืมไม่ได้เลยคืออุตสาหกรรมท่องเที่ยว การเข้ามาของนักลงทุน ชาวต่างชาติ และแรงงานจากจังหวัดต่างๆ จะกระตุ้นให้ธุรกิจท่องเที่ยวในพัทยาและศรีราชากลับมาคึกคักอีกครั้ง

 

แน่นอนว่าโอกาสทางธุรกิจในกลุ่มธุรกิจอสังหาทั้งภายในพื้นที่ EEC และพื้นที่โดยรอบก็จะได้รับอานิสงส์ไปด้วย

 

 

ปี 2570 รัฐบาลมีเป้าหมายให้รายได้เฉลี่ยของประชากรในโซน EEC อยู่ที่ 350,000 บาท คนต่อปี เท่ากับว่า EEC จะกลายเป็นย่านอุตสาหกรรมที่ขยายตัวพร้อมกับอัตราการจ้างงานที่สูงขึ้น ส่งผลให้ EEC เป็นทำเลที่จะมีการลงทุนเมกะโปรเจกต์ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนรวมกว่า 1.7 ล้านล้านบาท ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่กำลังพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นรถไฟความเร็วสูง ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 โดยในปี 2570 คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นรวมกว่า 4.8 ล้านคน และอีกไม่เกิน 10 ปี ประชากรจะเพิ่มขึ้นคิดเป็น 25% หรือ 1.2 ล้านคนโดยประมาณ 

 

ไม่แปลกหากนักลงทุนจะมอง EEC มากไปกว่า Hub การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของเอเชีย แต่ยังมองไปถึงการเติบโตของเมืองใหม่ที่รายล้อมไปด้วยที่อยู่อาศัย แหล่งอำนวยความสะดวก และแหล่งท่องเที่ยว กลายเป็นพื้นที่การลงทุนที่น่าจับตามอง  

 

 

หนึ่งในการลงทุนบนทำเล EEC ที่น่าจับตามองที่สุดตอนนี้คือ ‘Origin EEC Investment Property Program’ โปรแกรมการลงทุนรูปแบบใหม่ พร้อมดูแลผลประโยชน์ตลอดการลงทุน 

 

Origin EEC Investment Property Program โปรแกรมการลงทุนใน 4 โครงการคอนโดบนทำเล EEC ได้แก่ 

 

  1. นอตติ้ง ฮิลล์ ระยอง ติดถนนสุขุมวิท ราคาเริ่มต้น 2.49 ล้านบาท 
  2. บริกซ์ตัน ระยอง ใกล้โรงพยาบาลกรุงเทพระยอง ราคาเริ่มต้น 1.9 ล้านบาท 
  3. เดอะ แฮมป์ตัน สวีทส์ ระยอง ใกล้นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ราคาเริ่มต้น 3.49 ล้านบาท 
  4. บริกซ์ตัน เกษตร-ศรีราชา แคมปัส ติดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ราคาเริ่มต้น 1.9 ล้านบาท 

 

 

จุดเด่นของ ‘Origin EEC Investment Property Program’

 

ลงทุนเริ่มต้นเพียง 1.9 ล้านบาท สามารถรับผลตอบแทน 6-8% นานต่อเนื่อง 10 ปี* และเนื่องจากเป็นการลงทุนอสังหาในรูปแบบ Mutual Benefit แบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกันตามสัดส่วนการลงทุน แม้ไม่มีผู้เช่าก็ยังได้รับผลตอบแทน ต่างจากการซื้อคอนโดปล่อยเช่าเองที่หากไม่มีผู้เช่าก็จะไม่ได้รับผลตอบแทน

 

โดยรับผลตอบแทนแบบเงินปันผลทุกไตรมาส คิดตามมูลค่าการลงทุน โดยกำหนดเปอร์เซ็นต์การลงทุนในแต่ละห้องจากห้องทั้งหมด 100% หน่วยลงทุนต่ำ ซึ่งจะจ่ายผลตอบแทนเฉลี่ยครบทุกยูนิต

 

ที่สำคัญไม่ต้องเสียเวลาหาผู้เช่าหรือดูแลห้องพักเอง เพราะมีบริษัท Hampton Hotel and Residence Management (HHR) บริษัทในเครือออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ ผู้ให้บริการระดับ 5 ดาว ทำหน้าที่ดูแลทุกขั้นตอน ตั้งแต่จัดหาผู้เช่า จัดเก็บค่าเช่า ปรับปรุงซ่อมแซมภายในยูนิต ไปจนถึงจัดการจ่ายรายได้กลับให้เจ้าของห้องชุด

 

ผู้ที่สนใจและไม่อยากพลาดการลงทุนที่ทำกำไรเติบโต รับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3M7ddW5

 

อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising