เรื่องราวอันน่าปวดหัวของ อีลอน มัสก์ หลังเข้าซื้อ Twitter ยังไม่จบสิ้น ล่าสุดมหาเศรษฐีเทคโนโลยีอยู่ภายใต้แรงกดดันครั้งใหม่จากสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป (EU) หลังจากที่เขาต้องการผลักดันให้เครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นสวรรค์ของเสรีภาพในการพูด
Financial Times รายงานว่า คณะกรรมาธิการยุโรปขู่แบน Twitter เว้นแต่จะปฏิบัติตามกฎการควบคุมเนื้อหาที่เข้มงวด ขณะที่ เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ระบุว่า วอชิงตันกำลังทบทวนการซื้อเครือข่ายสังคมออนไลน์ของเขา
คำเตือนจากบรัสเซลส์เกิดขึ้นในการสนทนาทางวิดีโอระหว่าง มัสก์ และ เธียร์รี เบรตัน กรรมาธิการของสหภาพยุโรป ที่รับผิดชอบในการดำเนินการตามกฎดิจิทัล ซึ่งเขาได้บอกมัสก์ว่า Twitter ต้องปฏิบัติตามรายการตรวจสอบกฎต่างๆ รวมถึงเลิกใช้แนวทาง ‘ตามอำเภอใจ’ เพื่อคืนสถานะผู้ใช้ที่ถูกแบนและยอมรับการตรวจสอบโดยอิสระของแพลตฟอร์มภายในปีหน้า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- ดาวอังคารก็กำลังจะไป สร้าง ‘สมาร์ทโฟน’ สักเครื่องคงไม่ยาก! ‘อีลอน มัสก์’ ยอมรับหาก Apple และ Google ลบแอป Twitter อาจจะปั้นมือถือขึ้นมาเอง
- อีลอน มัสก์ ไล่พนักงาน Twitter ออกหลายสิบคน และให้ชดเชยแค่ 1 เดือน เพียงไม่กี่วันหลังบอกในที่ประชุมว่า ‘ฤดูแห่งการไล่ออกจบลงแล้ว’
- อีลอน มัสก์ ออกมาโวยวายผ่าน Twitter ว่า “Apple ขู่ว่าจะระงับแอป Twitter บน App Store แต่ไม่บอกเราว่าทำไม”
มัสก์ได้รับคำเตือนว่าหากไม่ปฏิบัติตามกฎเหล่านั้น Twitter ก็เสี่ยงที่จะละเมิดกฎหมาย Digital Services Act ฉบับใหม่ของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ที่กำหนดมาตรฐานระดับโลกว่า Big Tech จะต้องควบคุมดูแลเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตอย่างไร
เบรตันย้ำว่า Twitter อาจถูกแบนทั่วยุโรปหรือถูกปรับสูงถึง 6% ของมูลค่าการซื้อขายทั่วโลกหากฝ่าฝืนกฎหมาย โดยก่อนหน้านี้มัสก์กล่าวว่า Twitter จะปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
ในบล็อกโพสต์ Twitter กล่าวว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายใดๆ และทีมความไว้วางใจและความปลอดภัยยังคงแข็งแกร่งและมีทรัพยากรที่ดี แต่เสริมว่า “แนวทางของเราในการบังคับใช้นโยบายจะพึ่งพาการขยายเนื้อหาที่ละเมิดมากขึ้น เสรีภาพในการพูด แต่ไม่ใช่เสรีภาพในการเข้าถึง”
เจ้าหน้าที่อาวุโสของสหภาพยุโรปแสดงความกังวลว่า Twitter มีพนักงานเพียงพอที่จะปฏิบัติตามกฎใหม่หรือไม่ หลังจากที่มัสก์ไล่พนักงานออกกว่าครึ่งจาก 7,500 คนในเดือนนี้
ในสหรัฐอเมริกา การตรวจสอบ Twitter ของทางการดูเหมือนจะมุ่งเน้นไปที่การเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของชาวต่างชาติ The New York Times รายงานว่า เยลเลนนั้นกล่าวถึงคณะกรรมการการลงทุนต่างประเทศในสหรัฐฯ เมื่อถูกถามเกี่ยวกับ Twitter โดยชี้ไปที่การพิจารณาการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อดูว่าพวกเขาสร้างความเสี่ยงต่อความมั่นคงของชาติหรือไม่
เรื่องนี้เกี่ยวเนื่องมาจากการที่เจ้าชายอัลวาลีด บิน ทาลาล แห่งซาอุดีอาระเบีย ได้โอนหุ้นกว่า 35 ล้านหุ้น หรือ 3.5 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของ Twitter เข้าสู่บริษัทเอกชนแห่งใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการซื้อกิจการชองมัสก์
The Kingdom Holding Company ซึ่งเป็นกองทุนการลงทุนที่ควบคุมโดยเจ้าชาย เป็นเจ้าของหุ้นในบริษัทต่างๆ ของสหรัฐฯ รวมถึง Citigroup, Uber และ Lyft ตามเว็บไซต์ของบริษัท
อ้างอิง: