×

รัฐบาลเสนอแผนปฏิรูปวงการลูกหนังอังกฤษฉบับแฟนบอล ตั้งองค์กรอิสระดูแล-เก็บภาษีซื้อขายย้ายทีมจากสโมสรพรีเมียร์ลีก

25.11.2021
  • LOADING...
ฟุตบอลอังกฤษ

รัฐบาลอังกฤษเดินหน้าในการปฏิรูปวงการฟุตบอลอังกฤษครั้งใหญ่ โดยได้นำความคิดเห็นที่รวบรวมจากแฟนบอลมาประมวลก่อนเสนอแนะในหลายเรื่อง หัวใจสำคัญอยู่ที่การให้แฟนฟุตบอลมีส่วนร่วมในการตัดสินใจสำคัญต่างๆ ทั้งในระดับลีกและในระดับสโมสร เพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มทุนนำสโมสรเปลี่ยนแปลงเพื่อผลประโยชน์อย่างเดียวอีก รวมถึงให้มีการเรียกเก็บภาษีจากการซื้อขายผู้เล่นของสโมสรในพรีเมียร์ลีก เพื่อนำมาใช้พัฒนาวงการฟุตบอลระดับรากหญ้า

 

ประเด็นร้อนของวงการฟุตบอลอังกฤษวันนี้เกิดขึ้นหลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เทรซีย์ เคราช์ ได้นำเสนอรายงานความยาว 162 หน้า ซึ่งรวบรวมจากข้อเสนอโดยแฟนฟุตบอลที่ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการที่จะช่วยรักษาเกมฟุตบอลอังกฤษไว้ได้ต่อไป โดยได้มีข้อเสนอทั้งสิ้น 47 ข้อด้วยกัน

 

หนึ่งในสิ่งสำคัญคือการเรียกร้องให้การตั้งองค์กรอิสระที่จะกำกับดูแลวงการฟุตบอลอังกฤษ มีอำนาจในการให้ใบอนุญาตว่าจะให้สโมสรลงแข่งขันได้หรือไม่ โดยดูจากสถานะทางการเงินของสโมสร และพิจารณาความเหมาะสมของเจ้าของและผู้บริหารสโมสร รวมถึงเพิ่มความเข้มข้นในแบบทดสอบด้วย หลังจากที่มีกรณีกลุ่มทุนเข้ามาเทกโอเวอร์กิจการสโมสร และมีการรวมหัวกันของสโมสรใหญ่ในการหาทางกอบโกยผลประโยชน์แต่ฝ่ายเดียว ดังเช่นกรณีการพยายามก่อตั้งยูโรเปียนซูเปอร์ลีก เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา 

 

นอกจากนี้ สโมสรฟุตบอลในอังกฤษเผชิญกับความเสี่ยงในการต้องเสียภาษีทุกครั้งที่มีการซื้อขายผู้เล่นเกิดขึ้นในจำนวน 10 เปอร์เซ็นต์ หรือมีการคำนวณจาก 5 ปีที่ผ่านมาว่า เมื่อรวมทุกสโมสรแล้วอาจจะเฉลี่ยสูงถึง 160 ล้านปอนด์ต่อปีเลยทีเดียว โดยเงินภาษีในส่วนนี้จะถูกนำไปใช้เพื่อพัฒนาวงการฟุตบอลจากระดับล่างขึ้นมา

 

เคราช์กล่าวถึงรายงานฉบับนี้ว่า “ฉันคิดว่าสิ่งที่เราได้เห็นในรายงานฉบับนี้คือสิ่งที่จะเป็นผลดีต่อเกมฟุตบอล มันจะเป็นการนำวงการฟุตบอลอังกฤษไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน”

 

ทางด้านพรีเมียร์ลีก รวมถึงฟุตบอลลีก และองค์กร ยืนยันว่าพร้อมพิจารณาข้อเสนอดังกล่าว เช่นเดียวกันกับทางด้านสมาคมฟุตบอลอังกฤษ ซึ่งยืนยันจะทำงานร่วมกับทางรัฐบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงวงการฟุตบอลอังกฤษให้ไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนขึ้นอย่างแท้จริง

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X