อีลอน มัสก์ ผู้เป็นเจ้าของคนใหม่ของแอปนกฟ้าได้ออกมากล่าวว่า Twitter Inc. กำลัง ‘มีแนวโน้มถึงจุดคุ้มทุน’ หลังจากที่เขาต้องกอบกู้ธุรกิจจากการเข้าสู่กระบวนการ ‘ล้มละลาย’
มหาเศรษฐีเทคโนโลยีได้ออกมาพูดเรื่องดังกล่าวผ่านทวีตของเขาที่ระบุว่า เขาต้อง ‘ช่วย Twitter จากการล้มละลาย’ ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ในบริษัทอื่นๆ ของเขาให้สำเร็จด้วย เนื่องจากมัสก์ยังเป็นซีอีโอของ Tesla และ SpaceX อยู่ด้วย
“ผมไม่ต้องการให้ใครเจ็บปวดแบบนั้น” เขาเขียน “แม้ Twitter จะยังคงมีความท้าทาย แต่ตอนนี้มีแนวโน้มที่จะถึงจุดคุ้มทุนหากเรายังคงทำตามแผนต่อไป”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- ‘Twitter’ จ่ายดอกเบี้ยก้อนแรก 9.6 พันล้านบาท หลังระดมเงินจากการขายทรัพย์สินหลายอย่าง รวมทั้งเครื่องชงกาแฟในบริษัท
- หรือออฟฟิศจะร้าง? สื่อดังเผย Twitter เหลือจำนวนวิศวกรดูแลระบบไม่ถึง 550 คน ขณะที่ทั้งบริษัทเหลือพนักงานแค่ 1,300 คน จาก 7,500 คนปีก่อน
- Twitter เร่ขายเครื่องชงกาแฟ หรือแม้แต่ ‘ป้ายไฟโลโก้ของบริษัท’ ที่มีคนเสนอราคาถึง 5.8 แสนบาท เพื่อหาเงินมาจ่ายค่าเช่าสำนักงานใหญ่ในซานฟรานซิสโก
นับตั้งแต่เข้าซื้อบริษัทด้วยมูลค่า 4.4 หมื่นล้านดอลลาร์ เมื่อปลายปีที่แล้ว ถือเป็นการเทกโอเวอร์ครั้งใหญ่สำหรับ ‘Mr.Tweet’ ชื่อเล่นที่มัสก์เพิ่งยอมรับ กระนั้นการเข้าคุมหนึ่งในโซเซียลมีเดียยักษ์ใหญ่ของโลกต้องแลกมาด้วยการที่เขากลายเป็นบุคคลแรกในประวัติศาสตร์ที่ทรัพย์สินหายไปมากกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งอ้างอิงจาก Bloomberg Billionaires Index
นับตั้งแต่การครอบครองกิจการ มัสก์ได้ออกมาพูดคุยอย่างเปิดเผยและบ่อยครั้งเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการล้มละลายของ Twitter ถึงกระนั้นแพลตฟอร์มดังกล่าวก็ได้ชำระดอกเบี้ยครั้งแรกจากหนี้จำนวน 1.25 หมื่นล้านดอลลาร์
แต่การชำระหนี้ก็เกิดขึ้นท่ามกลางรายได้ที่ลดลงไปเป็นอย่างมาก CNBC รายงานว่า รายได้รายวันของ Twitter ลดลง 40% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนมกราคม 2023 และผู้โฆษณาชั้นนำของ Twitter หลายร้อยรายหยุดหรือชะลอการใช้จ่าย
มัสก์ได้ออกมาทวีตในเดือนพฤศจิกายนว่า Twitter ประสบปัญหา ‘รายได้ลดลงอย่างมาก’ หลังจากที่ผู้โฆษณาหยุดการใช้จ่ายบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชั่วคราว
นอกจากนั้น Twitter ยังถูกฟ้องร้องเนื่องจากไม่สามารถจ่ายเงินให้กับคู่ค้า ผู้ขาย และอดีตพนักงาน นับตั้งแต่มัสก์เข้าซื้อ โดยภายใต้การบริหารของเขาTwitter ได้ลดจำนวนพนักงานจากการเลิกจ้างจำนวนมาก การเลิกจ้างอื่นๆ และการเปลี่ยนแปลงภายในที่บังคับให้หลายคนลาออก รวมถึงการยุตินโยบายทำงานจากที่บ้าน
นอกจากการลดต้นทุนแล้ว บริษัทยังได้พยายามเพิ่มรายรับหรือหารายได้ใหม่ๆ ซึ่งรวมไปถึงการที่ Twitter ออกมาประมูลทุกอย่างตั้งแต่ของใช้ในครัวไปจนถึงอุปกรณ์สำนักงานเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา
อ้างอิง: