ท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างจีนและไต้หวันที่คุกรุ่นอยู่ที่จุดสูงสุดในรอบหลายทศวรรษ ‘อีลอน มัสก์’ ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างร้อนแรง หลังเสนอให้ไทเปยกพื้นที่ปกครองบางส่วนให้ปักกิ่ง
คำวิจารณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหลังรายงานของ Financial Times ที่ได้พูดคุยกับมหาเศรษฐีเทคโนโลยี บางส่วนของบทความดังกล่าวได้เขียนว่า อาจเป็นเพราะมัสก์ตระหนักดีว่าการตัดสินใจทางธุรกิจไม่สามารถทำได้อีกต่อไป โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยและภูมิศาสตร์การเมือง หรืออาจเป็นเพียงความเชื่อที่หยิ่งผยองว่าเขามีคำตอบทั้งหมดแล้ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- หุ้น ‘Tesla’ เผชิญสัปดาห์ที่แย่ที่สุดในรอบกว่า 2 ปี หลังเผชิญช่วงเวลาที่ ‘อีลอน มัสก์’ เรียกว่าเป็น 7 วันที่ตึงเครียดอย่างมาก
- เซเลนสกีตั้งโพล Twitter สวนกลับ อีลอน มัสก์ หลังเสนอแผนสันติภาพให้ยูเครนปรองดองรัสเซีย
- ‘อีลอน มัสก์’ ฝันใหญ่อยากให้ Twitter พัฒนาไกลไปเป็น ‘Super App’ ที่มาเทียบรัศมี WeChat กับ Alipay
ซึ่งทำให้เขาเสนอวิธีแก้ปัญหาด้วยตัวเขาเองสำหรับปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ซับซ้อนที่สุดในโลก ด้วยการบอกให้หาข้อเสนอที่ลงตัวสำหรับไต้หวันในการเป็นเขตปกครองพิเศษของจีน แม้อาจจะไม่ได้ทำให้ทุกคนพอใจ แต่ข้อเสนอนี้สามารถเป็นไปได้ และบางทีอาจมีข้อตกลงที่ผ่อนปรนมากกว่าฮ่องกง
ทั้งนี้ ฮ่องกงมีระบบการปกครองอยู่ภายใต้นโยบาย ‘หนึ่งประเทศ สองระบบ’ นับตั้งแต่จีนได้รับมอบจากอังกฤษในปี 1997 ทำให้ฮ่องกงสามารถดำเนินกิจการเป็นเขตกึ่งปกครองตนเองภายใต้การปกครองของปักกิ่ง แต่นักวิจารณ์แย้งว่ากฎหมายความมั่นคงแห่งชาติที่ผ่านในปี 2020 ได้เข้ามาทำลายเสรีภาพบางอย่างที่เคยสัญญาไว้
คำพูดของอีลอน มัสก์ ทำให้เกิดเสียงที่ตามมาจากทั้ง 2 ฝั่ง โดยเอกอัครราชทูตจีนประจำสหรัฐฯ ได้ออกมาทวีตขอบคุณมัสก์สำหรับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเขตบริหารพิเศษของไต้หวัน โดยย้ำว่าการรวมชาติอย่างสันติและหนึ่งประเทศ สองระบบ เป็นหลักการพื้นฐานของเราในการแก้ปัญหาไต้หวัน
ในทางตรงกันข้าม เซียวบีคิม ซึ่งเป็นตัวแทนของไต้หวันในสหรัฐฯ ได้ออกมาตอบโต้ทันควันว่า “ไต้หวันขายสินค้าหลายอย่าง แต่เสรีภาพและประชาธิปไตยของเราไม่ได้มีไว้ขาย
“ข้อเสนอที่ยั่งยืนสำหรับอนาคตของเราต้องถูกกำหนดโดยสันติ ปราศจากการบีบบังคับ และเคารพต่อความปรารถนาในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนไต้หวัน” เซียวกล่าวเสริม
“ปัญหาเดียวสำหรับมัสก์คือชาวไต้หวันไม่เห็นด้วยกับข้อตกลงประเภทนั้น” เบตส์ กิลล์ แห่งศูนย์การวิเคราะห์จีนของสถาบันนโยบายสังคมแห่งเอเชีย กล่าวกับ Squawk Box Europe ของ CNBC
กิลล์แนะนำว่า มัสก์อาจต้องพิจารณาถึงความแตกต่างในประเด็นต่างๆ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและไต้หวันอย่างละเอียดยิ่งขึ้น ก่อนที่จะกล่าวอะไรออกมา
ขณะที่มีบางส่วนมองว่า การที่มัสก์ออกมาเข้าข้างจีน เป็นเพราะจีนคือหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดของ Tesla ซึ่งมีโรงงานในเซี่ยงไฮ้อีกด้วย
ภาพ: Jonathan Newton / The Washington Post via Getty Images
อ้างอิง: