ทำอย่างไรจึงจะยกระดับทักษะแรงงานและสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาของประเทศไทยให้ได้
ปัจจุบันประเทศไทยเผชิญความท้าทายทางการศึกษาหลากมิติ ตั้งแต่คุณภาพของโรงเรียนที่ตกต่ำ โดยเฉพาะสถานศึกษาในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร การจัดสรรงบประมาณที่ไม่ตรงจุด การขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพ รวมถึงสถานการณ์เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อคุณภาพของแรงงานและเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต
เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและยกระดับแรงงานทักษะทั่วประเทศ ‘กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)’ จึงลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ ‘ธนาคารโลก’ (World Bank) ภายใต้โครงการวิจัยมาตรฐานคุณภาพโรงเรียน (Fundamental School Quality Levels: FSQL) และโครงการวิจัยสำรวจทักษะและความพร้อมของกลุ่มประชากรวัยแรงงานของประเทศไทย (Adult Skills Assessment in Thailand) โดยมีเป้าหมายหลักคือพัฒนาความรู้และเครื่องมือนโยบายที่จะผลักดันโอกาสทางการศึกษา รวมถึงช่วยกลุ่มประชากรให้หลุดพ้นจากวงจรความยากจนในที่สุด
ความร่วมมือระหว่าง กสศ. และธนาคารโลก จะสร้างมาตรฐานขั้นต่ำให้กับคุณภาพของโรงเรียนและสถานศึกษาได้อย่างไร ส่งเสริมทักษะของประชากรวัยแรงงานในมิติไหนบ้าง และท้ายที่สุด การพัฒนาเหล่านี้จะนำไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนได้จริงหรือไม่ เราขอชวนทุกคนไปหาคำตอบจากวิดีโอนี้พร้อมกัน!