×

ทัพนักลงทุนญี่ปุ่น 500 ราย ลงพื้นที่ส่องทำเล ‘อีอีซี’ เผยสัญญาณดี ดึง ไมโครซอฟท์-โบอิ้ง-แอร์บัส ร่วมทุน

13.09.2017
  • LOADING...

     วันนี้ (13 กันยายน) THE STANDARD ติดตามคณะนักลงทุนญี่ปุ่น 500 ราย นำโดย ฮิโรชิเกะ เซโกะ รมว. กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ลงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อลงพื้นที่จริงและรับฟังข้อมูลนโยบายการพัฒนาอีอีซี  ที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา พร้อมสำรวจพื้นที่ที่เอื้อต่อการลงทุนในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมเหมราช สํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ และสำนักงานวิทยสิริเมธี

 

 

     ซึ่งมีสนามบินอู่ตะเภา เป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานที่จะพัฒนาเพื่อรองรับอีอีซี ใช้งบประมาณในการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภากว่า 2 แสนล้านบาท โดยวางแผนให้สนามบินอู่ตะเภา เป็นสนามบินหลักแห่งที่ 3 ของไทย ต่อจากดอนเมืองและสุวรรณภูมิ เชื่อมต่อ 3 สนามบินด้วยรถไฟความเร็วสูง

 

 

     อุตตม สาวนายน รมว. กระทรวงอุตสาหกรรม เผยขณะนี้กำลังเร่งผลักดันให้เกิดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 5 โครงการหลักเพื่อให้มีความพร้อมต่อการลงทุนเร็วที่สุด ได้แก่

  1. การก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินเชิงพาณิชย์แห่งที่ 3
  2. การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
  3. การพัฒนา 3 ท่าเรือ
  4. โครงการดึงดูดอุตสาหกรรมเป้าหมาย

และ 5. การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

 

 

     พร้อมเปิดเผยด้วยว่าช่วง 5 เดือนแรกของการตั้งสำนักงานอีอีซี มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุนไปแล้วทั้งสิ้น 160 โครงการ คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 23,400 ล้านบาท และเป็นคำขอใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายกว่า 14,200 ล้านบาท

     สำหรับบริษัทที่ลงทุนในอีอีซีแล้วและสามารถเปิดเผยได้ อาทิ โตโยต้า ที่ลงทุนในรถยนต์ไฮบริด HEV แล้ว

     นอกจากนี้ยังมีสัญญาณที่ดี ที่คาดว่าจะมีการลงนามในสัญญาร่วมทุนกับบริษัทโบอิ้ง และทีจีแอร์บัสในเดือนมีนาคม 2561 รวมทั้ง บริษัทไมโครซอฟท์, ไอบีเอ็ม และ Amazon.com

     ที่คาดว่าจะลงนามความร่วมมือในเดือนกันยายนนี้ ในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรม (EECd)

     รู้จัก ‘อีอีซี’ โครงการความหวังเศรษฐกิจไทย 1.5 ล้านล้านบาท ภาคต่อของ ‘อีสเทิร์นซีบอร์ด’ ยุคป๋าเปรม

 

อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X