×

ส่องเมกะโปรเจกต์ EEC ในรัฐบาลเศรษฐา ขอเวลา 4 ปี รถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินและอู่ตะเภา ต้องเกิด

17.10.2023
  • LOADING...
โรงน้ำมัน ริมทะเล

ภูมิธรรม เวชยชัย นั่งหัวโต๊ะบอร์ด EEC ชุดใหม่ ลุยเมกะโปรเจกต์ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน และสนามบินอู่ตะเภา ให้สำเร็จใน 4 ปี พร้อมอัดฉีดสิทธิประโยชน์ ตั้งเป้าดึงเม็ดเงินลงทุน 5 ปี 5 แสนล้านบาท ปลุกนักลงทุนทั่วโลกผ่านอุตสาหกรรมเป้าหมายใน 5 คลัสเตอร์หลัก (การแพทย์, ดิจิทัล, ยานยนต์ไฟฟ้า, BCG และบริการ) 

 

ทราบกันดีว่าเมกะโปรเจกต์ยักษ์  EEC ไม่ว่าจะเป็น มหานครการบิน ท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 รถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ที่มีเป้าหมายทำให้สำเร็จในอีก 4 ปี หรือปี 2570 รวมไปถึงแผนปัดฝุ่นโครงการ MRO ของการบินไทย ล้วนบรรจุในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ภายใต้การดำเนินการของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี ด้วยการทุ่มลงทุนมหาศาลเพื่อดึงดูดการลงทุนปักหมุด 3 จังหวัดภาคตะวันออก 

 

วันนี้ถึงเวลาผลัดใบ นำมาสู่รัฐบาลภายใต้การนำของ เศรษฐา ทวีสิน ที่กำลังเข้ามารับไม้ต่อ 

 

ในการประชุมนัดแรก ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รับบทบาทนั่งหัวโต๊ะ โดยวางวิชั่นว่า หลังจากนี้รัฐบาลพร้อมวางโครงสร้างพื้นฐาน EEC เพื่อดึงดูดเม็ดเงินนักลงทุนทั่วโลก ผ่าน 5 อุตสาหกรรมเป้าหมาย

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 


 

ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมมอบหมายให้บอร์ด กพอ. เร่งเจรจาหาข้อสรุป การแก้ไขสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่าการลงทุน 281,941 ล้านบาท ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ซึ่งเป็นเอกชนคู่สัญญา 

 

รวมไปถึงโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก เพื่อให้เอกชนคู่สัญญาพร้อมเริ่มต้นขั้นตอนการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2567 เนื่องจาก 2 โครงการเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ค่อนข้างล่าช้ามานาน

 

“กพอ. จะต้องไปเจรจาให้ได้ข้อสรุป เคลียร์สัญญาให้จบภายใน 99 วัน ซึ่งรัฐบาลคาดหวังว่าการก่อสร้างต่างๆ จะเกิดขึ้นได้ตามแผนก่อนที่จะสิ้นสุดในรัฐบาลชุดนี้ ให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างขึ้นเร็วที่สุด เราได้ให้นโยบายว่าไม่ต้องรอโครงการไหนเสร็จก่อน แต่ให้ทำพร้อมๆ กันไป” ภูมิธรรมกล่าว

 

ด้าน จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาการเจรจาสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินอาจล่าช้า ซึ่งยังติดขัดในแง่ข้อสัญญา หลังจากนี้จะเร่งหาข้อสรุปเพื่อเสนอเข้ามาในที่ประชุม กพอ. อีกครั้ง ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป

 

“เราต้องคุยกันให้จบและดูให้รอบด้าน เพราะถ้าไม่จบจะกระทบไปถึงโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาด้วย โดยจะต้องเจรจาให้ครอบคลุม ทั้งเรื่องแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และไฮสปีดเทรนไทย-จีน จะต้องมาคุยกันหมด ถ้าพบว่าอะไรที่เป็นปัญหาและไม่ได้เกี่ยวพันกับสัญญานี้ อาจต้องดึงออกไปเพื่อให้สัญญานี้เดินต่อ  

 

หากการเจรจาสัญญาจบ การก่อสร้างจะเริ่มต้นนับหนึ่ง และมั่นใจว่าจะเสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 4 ปี และเกิดขึ้นได้ในรัฐบาลชุดนี้ โดยตั้งเป้าดึงเม็ดเงินลงทุน 5 ปี 5 แสนล้านบาท โดยเฉพาะดึงดูดการลงทุนของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ดิจิทัล สมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งส่วนใหญ่ระยะหลังเป็นการลงทุนจากจีน และคาดว่าจากการที่นายกรัฐมนตรีเยือนจีน จะสามารถดึงดูดการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าทั้งซัพพลายเชนได้มากยิ่งขึ้น”​ จุฬากล่าว 

 

บอร์ด ECC นั่งประชุม

บอร์ด EEC ชุดใหม่

 

ดึงดูดนักลงทุนทั่วโลกโดยเจาะ 5 คลัสเตอร์หลัก

 

จุฬากล่าวอีกว่า สำหรับการประชุมบอร์ดครั้งนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบร่างแผนดำเนินการในระยะ 1 ปี (ตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) และเป้าหมายเร่งด่วนภายใน 99 วัน ลงมือทำจริง เพื่อดึงดูดเงินลงทุนทั่วโลกผ่านอุตสาหกรรมเป้าหมายใน 5 คลัสเตอร์หลัก (การแพทย์, ดิจิทัล, ยานยนต์ไฟฟ้า (EV), BCG และบริการ) ซึ่งสอดคล้องตามนโยบายหลักของรัฐบาล แบ่งออกเป็น 8 ด้าน ได้แก่

 

  1. ด้านนโยบาย
  • ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต
  • เพิ่มประสิทธิภาพและการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค
  • ยกระดับทักษะแรงงานให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและนวัตกรรม
  • พัฒนาเมืองให้มีความทันสมัย น่าอยู่อาศัย และเหมาะสมกับการประกอบอาชีพ

 

  1. ด้านการพัฒนาสิทธิประโยชน์เพื่อดึงดูดการลงทุน ปรับสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อดึงดูดการลงทุนในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ครอบคลุมด้านภาษี และมิใช่ภาษี เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักลงทุน เช่น สิทธิในการได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากร สิทธิการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือห้องชุด รวมไปถึงการอนุญาตอยู่อาศัยในระยะยาว (EEC Long-Term VISA) เป็นกรณีพิเศษ  
  2. ด้านการสร้างระบบนิเวศสำหรับการลงทุน เดือนมกราคม 2567 พัฒนาแหล่งระดมทุน EEC (EEC Fundraising Venue) รองรับการระดมทุนที่ใช้เงินตราต่างประเทศเป็นหลัก โดยเริ่มจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ให้ผู้ระดมทุนทั้งบริษัทไทยและต่างประเทศที่ใช้เงินตราต่างประเทศมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น  
  3. ด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน  
  4. ด้านการจัดให้มีบริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร เช่น สิทธิในการได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากร ซึ่งจะทำให้พื้นที่ EEC เป็นเป้าหมายของนักลงทุนทั่วโลก
  5. ด้านการพัฒนาพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เดือนตุลาคม 2566 จัดตั้งศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ เป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ  
  1. ด้านการเริ่มต้นการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ เดือนธันวาคม 2566 เกิดการลงนามสัญญาเช่าพื้นที่ภายในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล EECd
  2. ด้านการสร้างความเข้มแข็งของพื้นที่และชุมชน เดือนธันวาคม 2566 ต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยชุมชน วิสาหกิจชุมชน และกิจการเพื่อสังคมในพื้นที่ EEC ให้ได้รับการรับรองเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบ (EEC Select) 
  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X