×

ชำแหละข้อเท็จจริง ระบบการศึกษาแย่หรือเด็กไทยไม่เคยมีทางเลือก? [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
20.10.2021
  • LOADING...
ระบบการศึกษาแย่หรือเด็กไทยไม่เคยมีทางเลือก

HIGHLIGHTS

  • แผลแรกที่ต้องรักษาไม่ใช่ระบบการศึกษาของไทย แต่อยู่ที่พ่อแม่ต้องหาให้เจอว่าลูกชอบอะไร อะไรที่เหมาะกับเขา แล้วมาดูว่าสิ่งที่เขาชอบ สิ่งที่เขาต้องการเป็น ต้องเลือกเรียนที่ไหนถึงจะดีที่สุด
  • หน้าที่ของสถาบันการศึกษาคือ สนับสนุนให้พวกเขาได้ค้นหาศักยภาพของตัวเองผ่านหลักสูตร กิจกรรม และครูที่พร้อมจะผลักดันและส่งเสริม Passion ที่หลากหลายของพวกเขาให้ถึงฝั่งฝัน

แทนที่เราจะเฝ้ารอให้การปฏิรูปการศึกษาครั้งแล้วครั้งเล่ามีความคืบหน้า หรือมานั่งถกเถียงกันว่าทำไมเด็กไทยเรียนจบแต่ไร้คุณภาพเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ การโทษหลักสูตร ยื่นข้อกล่าวหาให้ครู ร้ายสุดคือโยนความรับผิดชอบนี้ให้กับเด็ก อาจจะต้องมีใครสักคนที่ลุกขึ้นมาชำแหละข้อเท็จจริงของปัญหาและพิสูจน์ให้เห็นว่า ทุกอย่างแก้ไขได้ อย่างน้อยๆ ก็ในทางที่ตัวเองสามารถทำได้ทันที

 

THE STANDARD ลงพื้นที่พูดคุยกับ สุธี อัสววิมล หรือ โหน่ง OnDemand ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Learn Corporation สถาบันกวดวิชา OnDeamand และ โรงเรียนสาธิตพัฒนา ฝ่ายมัธยม ในฐานะคนที่คลุกคลีอยู่ในแวดวงการศึกษามานานมากกว่า 10 ปี ในประเด็นเกี่ยวกับปัญหาของเด็กไทย เรียนเท่าไรก็ไปไม่ถึงฝั่งฝัน ปัญหาที่แท้จริงอยู่ที่ไหน และจริงหรือที่เด็กไทยไม่มีทางเลือก  

 

 

สุธี บอกว่า พ่อแม่ผู้ปกครองอาจต้องเริ่มต้นด้วยความเชื่อที่ว่า “ลูกของเราไม่เหมือนใคร” เพราะความย้อนแย้งที่พบในระบบการศึกษาไทยคือ เรามีความแตกต่างกันแต่ต้องเรียนเหมือนๆ กัน

 

“โรงเรียนมีแผนการเรียนไม่กี่แบบ เด็กไม่รู้ด้วยซ้ำว่าสิ่งที่เรียนใช่สิ่งที่เหมาะกับเขาไหม หน้าที่ของผู้ปกครองคือ หาสถาบันการศึกษาที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้ค้นหาศักยภาพของตัวเอง และสามารถพัฒนาศักยภาพของเขาได้”

 

‘เรียนเพื่อสอบ’ วังวนแห่งความล่มสลายของระบบการศึกษาไทย

สุธีเล่าว่า เห็นปัญหานี้ตั้งแต่ตอนที่เปิดโรงเรียนกวดวิชา เด็กหลายคนมาเรียนกวดวิชาเพราะอยากทำคะแนนให้ดี แต่สุดท้ายเลือกไม่ได้ว่าอยากเข้าคณะอะไร “มันแย่นะ ในฐานะที่เราเปิดโรงเรียนกวดวิชาในตอนนั้น เราเองก็ไม่อยากผลักดันเด็กให้สอบติดแพทย์เพื่อความฝันของผู้ปกครอง แล้วไปค้นพบตอนปี 3 ปี 4 ว่านี่ไม่ใช่เป้าหมายหรือความสุขในชีวิต เราเจอเด็กกลุ่มนี้เยอะมากขึ้นเรื่อยๆ”  

 

 

คำถามสำคัญคือ ‘ลูกชอบอะไร’

สุธีแนะ ต้องเริ่มต้นจากการหาเป้าหมายที่เหมาะสมให้กับพวกเขาก่อน แล้วค่อยเลือกทางที่ตอบโจทย์เป้าหมายนั้น “อย่าเพิ่งไปเลือกว่าจะเรียนหลักสูตรไทย หลักสูตรอินเตอร์ หรือเรียนต่อต่างประเทศ แต่ต้องรู้ให้ได้ก่อนว่าลูกเราชอบอะไร อะไรเหมาะกับเขา และมาดูว่าสิ่งที่เขาชอบ สิ่งที่เขาต้องการเป็น ต้องเลือกเรียนที่ไหนถึงจะดีที่สุด”


โรงเรียนมีส่วนช่วยเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาได้จริงหรือไม่ 

ในฐานะผู้ที่อยู่ในวงการการศึกษามานาน สุธีเชื่อมั่นว่า โรงเรียนช่วยเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาได้ และยังช่วยผลิตบุคลากรที่ดีที่สุดในแบบที่เขาเป็น 

 

“ผมว่ามันต้องเริ่มตั้งแต่หลักสูตร อย่างที่โรงเรียนสาธิตพัฒนา ฝ่ายมัธยม เราตั้งใจที่จะสร้างพื้นที่ Sandbox ให้เด็กทุกคนค้นหาศักยภาพของตัวเอง ไม่ใช่แค่ถามว่าเขาอยากเป็นอะไรและสนับสนุนแบบเหมารวม แต่เราเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลองลงมือทำจริงในหลายๆ อย่าง และออกแบบตารางสอนของเด็กแต่ละคนให้ต่างกัน โดยมีเป้าหมายของเด็กแต่ละคนเป็นที่ตั้ง เรานิยามตัวเองว่าเป็น IDP School (Individual Development Plan)

   

“เราให้ความสำคัญกับการค้นหาศักยภาพและเป้าหมายทางอาชีพของเด็กๆ โดยเฉพาะช่วง 3 ปีแรก หรือวัยมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อสร้างแผนการเรียนรู้รายบุคคลในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ดังนั้นจะเห็นว่าเราให้เวลาเต็มๆ ถึง 3 ปีกับเด็กๆ เพื่อให้เขามีโอกาสในการลองอะไรหลายๆ อย่าง ซึ่งการเรียนการสอนในโรงเรียนทั่วไป ตารางเรียนที่อัดแน่น เด็กแทบไม่มีเวลาไปทดลองอะไรใหม่ๆ เราเลยใส่สิ่งเหล่านี้ไปในตารางสอนปกติ มีวิชาเลือกแปลกใหม่ให้เขาได้ลองเรียน บ่อยครั้งเราพบว่าสิ่งที่เด็กคิดว่าชอบกลับไม่ใช่ และสิ่งที่ไม่คิดว่าใช่ อาจทำได้ดีและชอบก็ได้ สิ่งเหล่านี้เองที่ผลักดันให้เด็กมีความสุขกับการเรียน และยิ่งค้นหาตัวเองเจอเร็วก็ยิ่งมีเวลามากขึ้นในการเตรียมตัวสู่การเรียนในระดับมหาวิทยาลัย”

 


อาชีพเกิดใหม่มีมากมาย ลูกเราต้องตามให้ทัน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของโลกกำลังจะทำให้หลายอาชีพหายไปถาวร และเกิดอาชีพใหม่ในตลาดแรงงานอีกมากบนโลกใบนี้ เช่นนั้นแล้ว ระบบการศึกษาแบบเดิมๆ ที่ทุกคนต้องเรียนแบบเดียวกันอาจไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป และนี่คือสิ่งที่สุธี พยายามผลักดันให้ระบบการศึกษาเปลี่ยน 

 

“โรงเรียนควรสร้างกิจกรรมหรือหลักสูตรที่ให้เด็กได้มีโอกาสในการสำรวจความหลากหลายทางอาชีพ เพื่อค้นหาตัวตนและได้รับคำแนะนำจากผู้มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์จริงในแต่ละสาขาอาชีพ ที่สาธิตพัฒนา ฝ่ายมัธยม เราทำเช่นนั้น เราเชิญคนที่ประสบความสำเร็จมาแชร์ประสบการณ์และสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียน ล่าสุดเชิญรุ่นน้องที่เคยทำงานที่ซิลิคอนแวลลีย์ และเชิญคนที่เคยเป็นนักเต้นใน Disneyland มาแชร์ประสบการณ์ เพื่อให้เด็กได้เห็นว่า อาชีพในโลกนี้มีมากมาย เขาต้องประเมินว่าอาชีพที่เหมาะกับเขา ซึ่งเด็กไม่ได้ประเมินเพียงลำพัง ที่นี่มีครู IDP Advisor ทำหน้าที่เป็นโค้ชคอยช่วยเด็กแต่ละคนประเมินอาชีพที่เหมาะกับเขา เมื่อพบแล้วเราพร้อมสนับสนุนเต็มที่ ทั้งกิจกรรมและวิชาการตามแผนการเรียนตามเป้าหมายรายบุคคล (IDP & Career Track) ที่มีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชา อาทิ สถาบันกวดวิชา OnDemand (คณิต-ฟิสิกส์-เคมี-ชีวะ) Ignite by OnDemand และ EduSmith (SAT, BMAT, IELTS, IGCSE, A-Level) และอื่นๆ ในเครือ Learn Corporation มาเสริมทัพ เพื่อให้เด็กสามารถเข้ามหาวิทยาลัยที่ต้องการไม่ว่าจะเป็นคณะภาคไทย/ภาคอินเตอร์ หรือมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เหนือสิ่งอื่นใด พวกเขาต้องมีความสุข ซึ่งผมเชื่อว่าการค้นพบสิ่งที่ชอบ คือจุดเริ่มต้นของความสุขอย่างยั่งยืน”   

 


หลักสูตรที่ดี ต้องมาพร้อม ‘ครูที่ดี’

สุธีบอกว่า นี่ก็เป็นอีกปัญหาที่ไม่ต่างอะไรกับแผลที่ไม่เคยได้รับการรักษา นำไปสู่ปัญหาทับซ้อนไปเรื่อยๆ ครูที่ดีมีอุดมการณ์เมื่ออยู่ในระบบการศึกษาที่ไม่เอื้อต่อการผลักดันเด็กตามที่หวัง สักวันครูดีๆ ก็จะหมดไป และต่อให้หลักสูตรถูกออกแบบมาอย่างดีแต่ครูไม่มีหัวใจของผู้ให้ และอยากเห็นเด็กพัฒนาก็ไร้ประโยชน์เช่นกัน 

 

“เราเชื่อว่าครูที่ดีจะสร้างเด็กที่ดี เราจึงให้ความสำคัญกับการคัดเลือกครูอย่างมาก ตั้งแต่ครูประจำชั้นที่ต้องมีจิตวิทยาและเข้าใจพัฒนาการของเด็กวัยรุ่น หมดสมัยแล้วกับการควบคุมเด็กด้วยคำสั่ง จะซื้อใจเขาได้ต้องเป็นพวกเดียวกันก่อน

 

“วิธีคิดของเราค่อนข้างแปลก เรามองว่าโรงเรียนไม่จำเป็นต้องเก่งทุกอย่าง แต่ต้องร่วมมือกับคนที่เก่งในด้านนั้นๆ และชวนเขามาพัฒนาเด็กร่วมกัน ทุกวันนี้เด็กที่นี่จึงได้เรียนกับครูและหลักสูตรระดับท็อปของประเทศ เช่น วิชาดนตรีเราเชิญครูจากมหิดลดุริยางคศิลป์มาสอน หรือ Animation 2D ก็ได้ครูจากวิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ ANT นอกจากนั้นเรายังเติมทักษะที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตในอนาคต อย่างการวางแผนการใช้เงิน โดย Money Class และทีมงานจาก Money Coach หรือภาษาที่สาม เช่น ภาษาเยอรมัน เราได้ครูจากสถาบันเกอเธ่ ภาษาจีน ก็เป็นครูจาก OKLS ซึ่งการจะเลือกเพิ่มเติมภาษาอะไรเข้ามาในหลักสูตร เราดูความต้องการของนักเรียนเป็นหลักด้วย แต่มีข้อแม้ว่าเรียนแล้วต้องได้คุณภาพ ดังนั้นเด็กที่ลงเรียนภาษาที่สามต้องเรียนต่อเนื่อง และโรงเรียนยังออกค่าใช้จ่ายในการสอบมาตรฐานของภาษาต่างๆ ให้ด้วย”  

 

 

เด็กไทยอ่อนภาษา ปัญหาอยู่ที่เด็กหรืออยู่ที่ระบบ

คำถามคือ พ่อแม่จำเป็นต้องส่งลูกเข้าเรียนโรงเรียนนานาชาติเท่านั้นหรือ สุธีกล่าวว่า ค่านิยมนี้ทำให้ผู้ปกครองต้องแบกรับภาระค่าเทอมที่สูง ไม่ว่าจะเลือกเรียน International School หรือ Bilingual School 

 

“สาธิตพัฒนา ฝ่ายมัธยม เป็นโรงเรียนหลักสูตรไทย ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ซึ่งมีความยืดหยุ่นในการสร้างแผนการเรียนที่ตอบโจทย์ได้หลากหลาย ทำให้เราสามารถขึ้นทะเบียนเป็น Cambridge International School และนำหลักสูตรภาษาอังกฤษ Cambridge Assessment International Education (CAIE) มาใช้ทำให้มาตรฐานการสอนภาษาอังกฤษที่นี่เทียบได้กับโรงเรียนนานาชาติ แต่มีค่าเทอมที่สามารถเข้าถึงได้

 

“นอกจากหลักสูตรที่ดีแล้ว สภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรก็เป็นสิ่งสำคัญ ที่นี่เราแบ่งห้องเรียนภาษาอังกฤษตามระดับภาษา ทำให้นักเรียนได้เรียนกับเพื่อนๆ ที่มีความสามารถใกล้เคียงกัน ทำให้ไม่รู้สึกกดดัน กล้าแสดงออก กล้าถาม กล้าตอบ เกิดการพัฒนาทักษะได้ดีที่สุด 

 

“สำหรับเป้าหมายการเรียนภาษาอังกฤษนอกจากพัฒนา 4 ทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน แล้ว หากนักเรียนคนไหนต้องการเรียนต่อคณะอินเตอร์หรือต่างประเทศ แผนการเรียนของเขาก็จะออกแบบให้สามารถสอบวัด IGCSE A-Level และ IELTS ได้ ซึ่งสถาบันกวดวิชา Ignite by OnDemand และ EduSmith ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเรียนต่อภาคอินเตอร์ และมหาวิทยาลัยใน Ivy League เข้ามาเสริมทัพอีก ช่วยวางแผนและติวสอบให้ด้วย ทำให้ไม่จำเป็นต้องไปเรียนพิเศษหลังเลิกเรียนอีก” 

 


โรงเรียนที่ดีต้องสร้าง ‘คนเก่งที่มี Social Awareness’

สุธีย้ำว่า นี่คือหน้าที่ของโรงเรียน การเปลี่ยนระบบการศึกษาใหม่หมดอาจต้องร่วมมือร่วมใจกันทุกภาคส่วน แต่สิ่งที่แต่ละโรงเรียนสามารทำได้ทันทีคือการสร้างบุคลากรที่เก่งในสิ่งที่เขาชอบ และส่งต่อความรู้ความสามารถของตัวเองเพื่อช่วยเหลือสังคมได้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง 

 

“ถ้าเป็นไปได้เราก็อยากมีส่วนช่วยทำให้สังคมดีขึ้น เราต้องการสร้างเด็กที่เป็นผู้นำและใช้ความรู้ความสามารถของตัวเองมาช่วยเปลี่ยนแปลงสังคมเหมือนกับที่เราทำ สิ่งที่เราทำมาตลอดคือการนำ Digital Content ไปช่วยเด็กๆ ในโรงเรียนที่ขาดโอกาส เพราะเราเห็นความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และล่าสุดเรามีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ต้องการเป็นหมอ ใช้เวลาช่วงนี้สมัครเป็นอาสาเชิงรุกกับชมรมแพทย์ชนบท เริ่มจากตำแหน่งเจ้าหน้าที่ลงทะเบียน จนตอนนี้ไปเป็นมือ Swab ประจำทีมเส้นด้าย เป็นยุวชนเส้นด้ายที่อายุน้อยสุด สิ่งนี้ทำให้เรามั่นใจว่าสิ่งที่เราทำมาตลอดนั้น มาถูกทางแล้ว” 

 

 

ประเด็นสุดท้ายที่ลืมไม่ได้เลยคือ จนถึงวันนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด อาจทำให้รูปแบบการเรียนของเด็กยุคใหม่เปลี่ยนไป การเรียนออนไลน์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น แล้วในอนาคตการไปเรียนที่โรงเรียนยังจำเป็นอยู่หรือไม่  

 

 

สุธีบอกว่า นี่เป็นความท้าทายของโรงเรียนที่ต้องปรับตัว หาบาลานซ์ระหว่างการเรียนออนไลน์และการเรียนรู้ทักษะในชีวิตจริงที่หาได้ในโรงเรียนเท่านั้น “ในอนาคตเราอาจจะมีหลักสูตรแบบผสมผสาน มาโรงเรียน 2 วัน เรียนออนไลน์ 2 วัน เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อดีของการเรียนแต่ละด้าน แต่อย่างไรก็ดี การเรียนในโรงเรียนทำให้เด็กได้ฝึกทักษะหลายอย่างโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นการเข้าสังคม การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แม้แต่การทะเลาะกับเพื่อนก็ยังได้ฝึกการแก้ปัญหา สิ่งเหล่านี้เป็นทักษะที่สำคัญในอนาคต และการที่เด็กได้ออกมาทำกิจกรรมนอกบ้าน วิ่งเล่นในโรงเรียนที่มีพื้นที่กว้างๆ หรือเล่นกีฬา เป็นสิ่งที่เด็กควรได้รับตามวัย”

 

ท้ายที่สุดแล้วโรงเรียนก็ทำหน้าที่ผลักดันเด็กให้ไปสู่เป้าหมายที่พวกเขาตั้งไว้ได้เพียงส่วนเดียว เพราะสิ่งสำคัญที่สุดต้องเริ่มจากพ่อแม่ผู้ปกครอง ต้องพร้อมที่จะมอบโอกาสให้เขาได้เป็น ‘The best in your way’ 

 

“ความสำเร็จเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความสุข แต่ความสำเร็จที่ผิด คือความสำเร็จที่ไม่มีความสุข ผมไม่อยากให้พ่อแม่หรือเด็กคนไหนต้องเสียโอกาสที่จะมีทั้งความสุขและความสำเร็จพร้อมกัน” สุธีกล่าวทิ้งท้าย

FYI
  • โรงเรียนสาธิตพัฒนา ฝ่ายมัธยม จัด Open House เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและเด็กๆ ได้เข้ามาสำรวจบรรยากาศจริง และได้ทำความรู้จักทุกแง่มุมของโรงเรียนด้วยตัวเอง โดยจะเปิด Open House (Online) รอบต่อไปวันอังคารที่ 26 ตุลาคม 2564 เวลา 18.00-20.30 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมได้ที่ https://bit.ly/2Z60fCj
  • เยี่ยมชมโรงเรียน รอบวันพฤหัสบดีที่ 21 และ 28 ตุลาคม 2564 ลงทะเบียนเข้าร่วมได้ที่ https://bit.ly/3lTDfiA
  • เปิดสอบคัดเลือกนักเรียนใหม่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-5 ตั้งแต่วันนี้ถึง 29 ตุลาคม 2564 และสอบวันที่ 6 พฤศจิกายน 2564 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครเรียนได้ที่ https://bit.ly/3FVlszg
  • เปิดสอบคัดเลือกนักเรียนใหม่ทั้งนักเรียนทั่วไป และนักเรียนประจำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-5 ตั้งแต่วันนี้ถึง 29 ตุลาคม 2564 และสอบวันที่ 6 พฤศจิกายน 2564 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครเรียนได้ที่ https://bit.ly/3FVlszg
  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising