×

นักเศรษฐศาสตร์เรียกร้องให้ ‘จีน’ มองไกลกว่า GDP เพื่อจัดการ ‘ความเสี่ยงด้านสภาพอากาศ’

23.02.2023
  • LOADING...
ความเสี่ยงด้านสภาพอากาศ

นักเศรษฐศาสตร์เรียกร้องให้ ‘จีน’ ตั้งเป้าหมายทางเศรษฐกิจให้ไกลกว่า GDP เพื่อจัดการ ‘ความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ’ หลังรายงานใหม่ชี้ว่าโมเดลการพัฒนาแบบเก่า ซึ่งช่วยทำให้เศรษฐกิจจีนโตอย่างรวดเร็วในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา กำลังทำให้โลกตกอยู่ใน ‘ความเสี่ยงร้ายแรง’

 

ทีมนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำระดับโลกเรียกร้องให้จีนใช้โมเดลการพัฒนาแบบใหม่ โดยยึดความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) มากกว่าการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ​ในปี 2060 และหลีกเลี่ยงภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

ในรายงานที่เผยแพร่วันนี้ (23 กุมภาพันธ์) ทีมนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งรวมถึงอดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารโลก (World Bank) 2 ท่าน เรียกร้องให้จีนกำหนดเพดานการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทั้งหมด และกำหนดเส้นทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยละเอียด

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

นิโคลัส สเติร์น (Nicholas Stern) หนึ่งในผู้เขียนรายงาน และประธาน Grantham Research Institute on Climate Change and the Environment ในอังกฤษ เปิดเผยว่า ทีมงานได้ส่งรายงานและคำแนะนำไปถึงรัฐบาลจีนแล้ว พร้อมคาดหวังว่ารายงานฉบับนี้จะมีบทบาทในแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ 5 ปี ฉบับปี 2026-2030

 

ในรายงานยังระบุว่า โมเดลการพัฒนาแบบเก่าทำให้จีนเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา แต่กำลังทำให้โลกตกอยู่ในความเสี่ยงร้ายแรง

 

พร้อมทั้งเรียกร้องให้จีนให้ความสำคัญกับการขนส่งสาธารณะมากขึ้น และกำหนดตารางเวลาสำหรับการกำจัดยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล นอกจากนี้จีนยังควรส่งเสริมการเกษตรแบบคาร์บอนต่ำ ซึ่งรวมถึงเนื้อสัตว์จากพืชและนมจากพืช (Plant-based Meat and Dairy) ด้วย

 

ในปี 2005 จีนมีโครงการ GDP สีเขียว (Green GDP) จากความกังวลเกี่ยวกับความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว โดยในรายงานของรัฐบาลเมื่อปี 2006 สรุปว่า การสูญเสียด้านสิ่งแวดล้อมคิดเป็น 3% ของ GDP แต่นักวิจารณ์เชื่อว่าตัวเลขที่แท้จริงนั้นสูงกว่ามาก

 

แม้ว่าโครงการ Green GDP จะถูกยกเลิกในปี 2009 แต่ในปี 2013 จีนสัญญาว่าจะละทิ้งโมเดล ‘การเติบโตในทุกด้าน’ (Growth at All Costs) และกล่าวว่า GDP จะไม่เป็นเกณฑ์เดียวในการประเมินของเจ้าหน้าที่อีกต่อไป

 

เมื่อเร็วๆ นี้ ในบางมณฑลพยายามที่จะสร้างตัวชี้วัดใหม่อีกครั้ง เพื่อสะท้อนถึงต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมของการพัฒนา โดยมณฑลหูเป่ยทางตอนกลางของจีนก็เริ่มใช้ ‘ผลิตภัณฑ์มวลรวมของระบบนิเวศ’ (Gross Ecosystem Product: GEP) ด้วย

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X