×

ทางออกประเทศไทย รัฐต้องทำแผนให้เป็น สร้างความเชื่อมั่นจากประชาชนให้ได้

31.05.2020
  • LOADING...

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัย เพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวในงานสัมมนา THE STANDARD ECONOMIC FORUM ภายใต้หัวข้อ ‘Rethinking New Normal บทสรุปยุทธศาสตร์ประเทศไทยในโลกหลังโควิด-19’ ซึ่งเป็นเซสชันสุดท้ายของงานว่า ในภาพรวม ทั้งโลกและประเทศไทยเจอวิกฤตครั้งใหญ่จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งหนักกว่าวิกฤตทุกครั้งที่ผ่านมา ทำให้กว่า 150 ประเทศทั่วโลกขอกู้เงิน และเตรียมขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF โดยทาง IMF เองก็เตรียมเงินเพื่อช่วยเหลือในวิกฤตนี้กว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

ทั้งนี้ ภายใต้ New Normal และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทำให้ต้องจับตาใน 4 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ 

 

  1. โลกใหม่ – โลกจะไม่มีผู้นำที่ชัดเจนอีกต่อไป เห็นได้ชัดจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ประเทศใหญ่ๆ อย่างสหรัฐฯ และจีนยังต้องมุ่งเน้นการดูแลประเทศตนเองในช่วงวิกฤต ซึ่งไทยยิ่งต้องอาศัยโอกาสนี้จับมือกับพันธมิตรให้มากขึ้น แต่ต้องเลือกร่วมมือเป็นประเด็นๆ ไป 

 

  1. โอกาสใหม่ – การใช้เทคโนโลยี (เช่น 5G) ระบบดิจิทัล หรือเทรนด์ Work from Home จะส่งผลต่อเนื่องในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น 

 

  1. ข้อจำกัดใหม่ – สถานการณ์หนี้ทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นทั้งภาครัฐและในระดับประชาชน ทำให้การลงทุนลดลงทั้งรัฐและเอกชน และอาจส่งผลให้ไทยที่ก่อนหน้านี้เศรษฐกิจมีทีท่าจะฟื้นตัว อาจชะลอออกไปอีก ดังนั้น บทบาทของรัฐจะทวีความสำคัญมากขึ้น

 

  1. จินตนาการใหม่ – การทบทวนในระบบใหม่ๆ โดยเฉพาะระบบราชการ ขณะที่ภาคการเมืองต้องอาศัยความเชื่อใจที่มากขึ้น เพื่อสร้างระบบที่จะพัฒนาไทยไปด้วยกัน รัฐต้องสร้างความเชื่อใจให้ได้ เช่น อาจประกาศตัดงบกลาโหมลง เพราะมองว่าไม่ใช่ปัญหาในปัจจุบัน และจะสามารถสร้างไว้ใจให้เกิดขึ้นในไทย 

 

ยุทธศาสตร์สำคัญที่ไทยต้องจับตาในระยะต่อไปคือ เรื่องวัคซีนที่เป็นจุดชี้ขาดว่า เศรษฐกิจใครจะฟื้นตัวและกลับมาได้เร็วที่สุด ดังนั้น สิ่งที่รัฐทำได้ในวันนี้คือ การหาคนที่สามารถสอนเทคโนโลยีทั้งการผลิตวัคซีนและยา ซึ่งยังไม่เห็นการวางแผนของรัฐไปถึงปลายทางนี้  

 

ขณะเดียวกัน ภาครัฐที่ตั้งเป้าหมายจะทำแผนงาน ทำยุทธศาสตร์หลังโควิด อาจต้องคิดให้รอบคอบและเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงมากกว่าปัจจุบัน โดยดูรูปแบบของเอกชนที่มักจะวางแผนเป็นหลายสมมติฐาน เพื่อปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์อยู่เสมอ เช่น ส่ิงที่กังวลกันทั่วโลกคือ หากมีการแพร่ระบาดระลอกที่ 2 หรือ 3 จะทำอย่างไร

สุดท้ายนี้ สำหรับผู้ประกอบการ การมีมุมมองและข้อมูลที่หลากหลาย จะทำให้เห็นความเสี่ยงในหลายมิติ และย่อมจะทำให้การตัดสินใจมีความหลากหลาย เพื่อรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุด ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ประกอบการอาจเป็นการวางแผนในหลายสมมติฐาน และปรับเปลี่ยนแผนเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป 

 

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising