ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เตือนว่า อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นบีบบังคับให้ ECB ต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทำให้กำไรอาจลดลงจนอาจถึงขั้น ‘ขาดทุน’ ได้
บนเว็บไซต์เมื่อวันอังคาร (30 พฤศจิกายน) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ระบุว่า เราต้องต่อสู้กับเงินเฟ้อด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งส่งผลให้เราต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคารต่างๆ สูงขึ้น โดยในกรณีนี้ กำไรของเราลดลง และเราอาจขาดทุนด้วยซ้ำ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ภาวะ เศรษฐกิจถดถอย อาจอยู่ใกล้กว่าที่คิด เปิดกลยุทธ์รับมือเน้น Predict-Prepare-Perform
- ‘ไบเดน’ ปัดเศรษฐกิจโลกตกต่ำไม่ได้มาจากดอลลาร์แข็ง แต่มาจากนโยบายที่ผิดพลาดของประเทศอื่น
- ภาระ ‘ผ่อนบ้าน’ อาจเป็นพายุลูกใหม่ซ้ำเติมเศรษฐกิจโลก เมื่อดอกเบี้ยบ้านแพงสุดรอบ 15 ปี
โดย ECB จะต้องจ่ายดอกเบี้ยจำนวนมหาศาลให้กับธนาคารพาณิชย์ จากมูลค่าเงินฝากประมาณ 5 ล้านล้านยูโร
ทั้งนี้ ธนาคารกลางที่มีความระมัดระวังทางการเงินมากที่สุด มักจะได้รับผลกระทบหนักที่สุด เนื่องจากมีเงินฝากในธนาคารเก็บไว้เป็นจำนวนมากกว่า และพันธบัตรที่ซื้อในนามของ ECB จะให้ผลตอบแทนเป็นศูนย์หรือน้อยกว่า
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ECB ได้ใช้เครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจมากมายในช่วงที่อัตราเงินเฟ้อต่ำเกินไป รวมไปถึงการซื้อพันธบัตรจำนวนมหาศาล และการคงดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ
อย่างไรก็ตาม มาตรการเหล่านั้นมีแนวโน้มที่จะกดดันให้ ECB และผู้ถือหุ้นของธนาคารบางราย เช่น ธนาคารกลางของเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และเบลเยียม ขาดทุน และในที่สุด สิ่งนี้อาจบังคับให้ธนาคารกลางบางแห่งแสวงหาความช่วยเหลือ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความเป็นอิสระ และสร้างความเดือดดาลให้กับผู้เสียภาษีได้
ด้านธนาคารกลางเนเธอร์แลนด์ยอมรับอย่างเปิดเผยถึงความเสี่ยงที่รัฐบาลอาจต้องเพิ่มทุนให้ ขณะที่ Sigrid Kaag รัฐมนตรีคลังเนเธอร์แลนด์ได้กล่าวในภายหลังว่า ประเด็นดังกล่าวยังไม่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณา
ECB ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเจ้าของโดยธนาคารกลางของ 19 ประเทศที่ใช้เงินยูโร คิดเป็น 8% ของงบดุลที่เรียกว่า Eurosystem
อย่างไรก็ตาม ECB กล่าวว่า ธนาคารยังมีแนวป้องกันอื่นๆ โดยนอกเหนือไปจากการลดเงินสำรอง (Provision) แล้ว ECB ยังอาจบริหารจัดการรายได้ใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบายการเงิน เช่น พันธบัตร และเงินกู้ เป็นต้น
ECB ยังกล่าวอีกว่า ในท้ายที่สุด การกลับสู่สภาพแวดล้อมอัตราดอกเบี้ยที่เป็นบวก จะสนับสนุนการทำกำไรของระบบ Eurosystem ในระยะกลาง
ทั้งนี้ โดยทั่วไปแล้วธนาคารกลางยังสามารถดำเนินงานหรือทำพันธกิจต่างๆ ต่อไปได้ แม้ว่าพวกเขาจะขาดทุนจนสูญเสียเงินทุนทั้งหมดก็ตาม ดังที่เกิดขึ้นในทศวรรษที่ผ่านมา ในหลายประเทศรวมถึงเยอรมนี
“สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่า ธนาคารกลางไม่เหมือนกับบริษัททั่วไป พวกเขาสามารถสูญเสียเงิน และยังคงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงกระนั้นแล้ว ตามหลักการของความเป็นอิสระทางการเงินหมายความว่า ในที่สุดแล้วธนาคารกลางควรมีเงินทุนเพียงพอเสมอ” ECB กล่าว
อ้างอิง: