ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยอ้างอิงขึ้นอีก 0.75% ในการประชุมวันนี้ (27 ตุลาคม) เพื่อต่อสู้กับสถานการณ์เงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์ตามคาดการณ์ของตลาด โดยในครั้งนี้ถือเป็นการขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกันของ ECB หลังจากที่ในเดือนกรกฎาคมและกันยายนที่ผ่านมาได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว 0.50 และ 0.75% ตามลำดับ
นอกจากอัตราดอกเบี้ยแล้ว สิ่งที่ผู้เล่นในตลาดจับตาจากการประชุมของ ECB คือการส่งสัญญาณว่าเมื่อไร ECB จะเริ่มทำ QT หรือการปรับลดขนาดงบดุลของตัวเอง และจะเกิดอะไรขึ้นกับเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อให้กับธนาคารพาณิชย์ในอนาคตอันใกล้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- ความมั่งคั่งจากหุ้นของชาวอเมริกันหายไปกว่า 9 ล้านล้านดอลลาร์ จากที่เคยเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวหลังวิกฤตโควิด
- ตามคาด ‘Fed’ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% พร้อมส่งสัญญาณปรับขึ้นต่อ หวังคุมเงินเฟ้อให้อยู่หมัด
- นักวิเคราะห์ชี้พิษนโยบาย Fed เป็นเหตุทำตลาดหุ้นทั่วโลกปั่นป่วน
โดยแถลงการณ์ของ ECB ระบุว่า ข้อกำหนดและเงื่อนไขของโครงการรีไฟแนนซ์ระยะยาวที่กำหนดเป้าหมาย หรือ TLTRO III ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วย ECB ปล่อยกู้ให้กับธนาคารพาณิชย์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้ถูกปรับเปลี่ยนไปจากเดิม
“เราตัดสินใจปรับอัตราดอกเบี้ยที่ใช้กับ TLTRO III ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป และได้เสนอวันชำระเงินคืนก่อนกำหนดโดยสมัครใจให้แก่ธนาคารพาณิชย์ นอกจากนี้ยังมีการปรับการจ่ายผลตอบแทนสำหรับเงินสำรองขั้นต่ำของธนาคารพาณิชย์ที่ฝากไว้กับ ECB ให้อยู่ในอัตรา Deposit Facility Rate” แถลงการณ์ของ ECB ระบุ
การขึ้นดอกเบี้ยถึง 2% ในการประชุม 3 รอบล่าสุด ทำให้ธนาคารพาณิชย์ในยุโรปได้รับประโยชน์จากทั้ง TLTRO III และดอกเบี้ยที่สูงขึ้น จนถูกเปรียบเทียบว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับธนาคาร
ปัจจุบัน ECB กำลังเผชิญกับ 2 ปัญหาใหญ่ คือ เงินเฟ้อที่สูงเป็นประวัติการณ์และภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยนักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดการณ์ว่าจะเกิดภาวะถดถอยในภูมิภาคยุโรปก่อนสิ้นปีนี้ ทั้งนี้ หาก ECB มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่มากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดปัญหามากขึ้นสำหรับเศรษฐกิจในวงกว้าง
อ้างอิง: