×

ถอด 5 แนวคิดพาธุรกิจก้าวกระโดดสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน จากเวที ‘EARTH JUMP 2023: New Frontier of Growth’ [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
22.05.2023
  • LOADING...
EARTH JUMP 2023: New Frontier of Growth

HIGHLIGHTS

10 min read
  • ‘EARTH JUMP 2023: New Frontier of Growth’ งานสัมมนาที่ธนาคารกสิกรไทยรวมสุดยอดผู้บริหารชั้นนำระดับโลกกว่า 30 รายมาร่วมแสดงวิสัยทัศน์และแบ่งปันประสบการณ์ ชี้ให้เห็นโอกาสในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจเพื่อก้าวกระโดดสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน 
  • THE STANDARD สรุป 5 แนวคิดสำคัญที่กลั่นจากทัศนะของผู้นำที่เชื่อว่าจะทำให้คนทำธุรกิจทุกไซส์สามารถนำไปปรับใช้และต่อยอดเพื่อพาธุรกิจก้าวกระโดดไปได้อย่างงดงาม

ถ้าให้ยกหนึ่งประโยคที่ทรงพลังที่สุดใน ‘EARTH JUMP 2023: New Frontier of Growth’ คงต้องยกให้กับประโยคที่ว่า “Sustainable คือทางรอดไม่ใช่ทางเลือก” แม้ประโยคนี้จะถูกหยิบยกมาพูดกันแทบจะทุกเวทีตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่มันคือความจริงแท้เพียงหนึ่งเดียวที่จะนำพาให้เราทุกคน ‘รอด’ ไปด้วยกัน

 

EARTH JUMP 2023: New Frontier of Growth

 

ผู้บริหารชั้นนำระดับโลกกว่า 30 รายที่มารวมตัวกันในงาน ‘EARTH JUMP 2023: New Frontier of Growth’ งานสัมมนาที่ธนาคารกสิกรไทยจัดขึ้นเพื่อชวนให้ผู้นำมาร่วมแสดงวิสัยทัศน์และแบ่งปันประสบการณ์ ชี้ให้เห็นโอกาสในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจเพื่อก้าวกระโดดสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน 

 

คงไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติมว่าทำไมผู้นำทั่วโลกถึงให้ความสำคัญกับเรื่อง Climate Change เพราะ 5 ใน 10 ปัญหาสำคัญของโลกที่ World Economic Forum รายงานว่าต้องเร่งให้ความสำคัญเร่งด่วน ล้วนเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง Climate Change แต่ถ้าเรายังไม่รีบจัดการก็เชื่อว่าอีก 10 ปีข้างหน้า ปัญหาทั้ง 10 อาจจะกลายเป็นเรื่องของ Climate Change ทั้งหมดก็ได้ 

 

THE STANDARD จึงขอสรุป 5 แนวคิดสำคัญที่กลั่นจากทัศนะของผู้นำที่เชื่อว่าจะทำให้คนทำธุรกิจทุกไซส์สามารถนำไปปรับใช้และต่อยอดเพื่อพาธุรกิจก้าวกระโดดไปได้อย่างงดงาม

 

EARTH JUMP 2023: New Frontier of Growth

 (จากซ้ายไปขวา) กฤษณ์ จิตต์แจ้ง, กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย, ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, จอมขวัญ คงสกุล รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์, มนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม, วิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้ง

 

1. ความตื่นตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมคือตัวเร่งที่ทำให้ ‘ธุรกิจแบบยั่งยืน’ เติบโตไม่หยุด

 

จากรายงานของ McKinsey พบว่ามีกลุ่มธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตอย่างก้าวกระโดดจากการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน จำนวน 11 กลุ่ม เช่น ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจพลังงาน ธุรกิจเกษตร และธุรกิจน้ำมันและก๊าซ ที่จะสามารถสร้างรายได้รวมกันมากกว่า 12 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี ภายในปี 2030 เพื่อเปลี่ยนผ่านระบบเศรษฐกิจของทั้งโลกไปสู่ Net Zero อีกทั้งทิศทางการลงทุนของ Venture Capital ในเทคโนโลยีด้านความยั่งยืนเพิ่มขึ้น 89% ล้วนส่งผลบวกต่อธุรกิจที่กำลังจะหันหางเสือสู่ธุรกิจแบบยั่งยืน 

 

เมื่อโลกเข้าสู่ระยะวิกฤต เรื่องความยั่งยืนจึงเป็นเรื่องของทุกคน โดยเฉพาะองค์กรหรือภาคธุรกิจที่มีส่วนในการปล่อยคาร์บอนหรือสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันผู้บริโภคเองก็มีการเรียกร้องด้าน ESG เพิ่มมากขึ้นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่แปลกที่ปัจจุบันจะเห็นผู้บริโภคพร้อมใจกันสนับสนุนธุรกิจที่รับผิดชอบและช่วยแก้ปัญหาไม่ใช่สร้างปัญหา 

 

ผู้บริโภคมากถึง 95% มีความพยายามปรับพฤติกรรม เช่น หันมาใช้ถุงผ้า แยกขยะ และกว่า 69% ที่สนับสนุน Sustainable Brand แม้จะจ่ายในราคาที่สูงกว่าก็ตาม นั่นหมายความว่า ธุรกิจไหนที่ไหวตัวทันจะรู้ทันทีว่านี่คือโอกาสที่จะสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ 

 

อีกปัจจัยคือนโยบายและกฎต่างๆ ที่มีความละเอียดและเข้มงวด ซึ่งหากธุรกิจไม่เรียนรู้หรือทำตามอาจเสียโอกาสทางธุรกิจ เช่น มาตรการทางการค้า อย่าง CBAM Effect ที่มีต่อสินค้าในกลุ่มปุ๋ย เหล็กกล้า อะลูมิเนียม ที่ในอนาคตอาจมีการเก็บค่าธรรมเนียมไปจนถึงแบนห้ามส่งออก 

 

EARTH JUMP 2023: New Frontier of Growth

ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย

 

นอกจากนี้ยังมีการเรียกร้อง ผลักดัน สนับสนุนความยั่งยืน ทั้งจากทางภาครัฐและทางสังคม เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. เพิ่มมาตรฐานการรายงานและเปิดเผยข้อมูลเรื่องการปล่อย Carbon Credit หรือมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (CBAM) ที่กำลังจะมีการปรับใช้ในปีนี้ ซึ่งจะกลายเป็นกติกาการค้าโลกแบบใหม่ รวมไปถึงร่างกฎหมายและความเคลื่อนไหวของการเมืองในเวทีโลกที่พยายามดึงเรื่อง ESG เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งธุรกิจที่ไหวตัวทันก็จะสามารถเห็นสิ่งนี้เป็นโอกาสได้ หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ก็เร่งพัฒนา ESG Data Platform เพื่อรวบรวมข้อมูลและสร้างความโปร่งใส ช่วยให้องค์กรที่ดำเนินงานด้าน ESG ได้รับความสนใจในการลงทุนจากต่างชาติ ตลอดจนพัฒนา SET ESG Academy และสร้าง Live Platform เพื่อส่งเสริมการพัฒนา SME

 

EARTH JUMP 2023: New Frontier of Growth

ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 

2. Carbon Credit จะเป็น Green Gold สำหรับอนาคต 

 

ปัจจัยสำคัญที่เร่งให้องค์กรต้องปรับตัวเพื่อให้การค้าขายในอนาคตไม่ติดขัด คือเรื่องของนโยบายที่หลายประเทศเริ่มมีมาตรการกีดกันทางการค้า หรือจัดเก็บค่าปรับกับธุรกิจที่ไม่สามารถดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืนได้เช่นกัน 

 

ชัดเจนที่สุดคือเรื่องของกำแพงภาษีที่เรียกเก็บจากการคำนวณ Carbon Footprint ที่จะครอบคลุมสินค้าในกลุ่มต่างๆ มากขึ้น ประเทศไทยเองก็มีการทำสัญญาความร่วมมือกับสวิตเซอร์แลนด์ ขาย Carbon Credit ราวๆ 5 แสนตันเพื่อแลกกับการที่เอกชนของสวิตเซอร์แลนด์จะให้การสนับสนุนเอกชนไทยเรื่องสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน เช่น สนับสนุนรถเมล์ EV

 

นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งกองทุน Thai CI (Thailand Climate Initiatives) เพื่อให้องค์กรหรือบริษัทมาขอทุนเพื่อปรับกระบวนการในองค์กรเพื่อลดคาร์บอนได้ และในปี 2022 สภาอุตสาหกรรมมีการตั้ง FTIX ซึ่งเป็นกระดานซื้อขาย Carbon Credit ที่ได้เริ่มเทรดกันไปแล้ว

 

ด้านกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็ยกระดับการทำงานและขับเคลื่อนการดำเนินงานที่สำคัญ ตั้งแต่การทบทวนแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกรายสาขาที่สอดคล้องกับเป้าหมาย NDC (ปี 2030) ในภาคพลังงานและขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม ภาคของเสีย และภาคเกษตร พัฒนากลไกตลาดคาร์บอนเครดิตทั้งในและต่างประเทศ การเพิ่มแหล่งกักเก็บและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน 

 

นอกจากนี้กระทรวงอยู่ระหว่างผลักดัน (ร่าง) พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการยกระดับจาก Voluntary เป็น Mandatory เพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคาคาร์บอน และกลไกตลาดคาร์บอนเครดิต และเชื่อมั่นในศักยภาพของคนไทยที่จะไปสู่ Net Zero GHG 

 

หรือในภาคเกษตรซึ่งถูกมองว่าเป็นกลุ่มที่ปล่อยคาร์บอนจำนวนมาก ก็หันมาให้ความรู้ รณรงค์ และปรับเปลี่ยนวิธีทำนาแบบเปียกสลับแห้ง ใช้น้ำน้อยลง และยังสามารถลดก๊าซมีเทนได้ 70% รวมถึงสร้าง Carbon Credit ให้กับเกษตรกรนำไปขายได้ 500-600 บาทต่อไร่ต่อปี 

 

ไม่เพียงเท่านั้น กระทรวงพลังงานได้ริเริ่มโครงการ T-VER เพื่อใช้รับรองปริมาณ Carbon Credit ของโครงการ ซึ่งมีโครงการมาขอ Verify แล้วราวๆ 144 โครงการ ด้านองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เริ่มทำ Premium T-VER เพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกับ Verra, Gold Standard เพื่อให้สามารถซื้อขายกับต่างประเทศได้ 

 

ยังมีอีกหลายโครงการและหลากเทคโนโลยีที่จะช่วยผลักดันการสร้าง Carbon Credit ให้กับธุรกิจและภาคเกษตร อาทิ เทคโนโลยี Flux-Tower หรือการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับแบบถาวรบนหอคอย เพื่อมอนิเตอร์ Carbon Footprint ผ่านดาวเทียมในไทย หรือเทคโนโลยี CCUS จัดเก็บก๊าซเรือนกระจกใต้ดินกลับมาใช้งานใหม่ รวมถึงการทำระบบการบันทึก / การซื้อขายคาร์บอนเครดิต (Trade Carbon Credit)

 

EARTH JUMP 2023: New Frontier of Growth

(จากซ้ายไปขวา) พิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย, ทิเดช เอี่ยมสาย รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, จรีพร จารุกรสกุล ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่ม บมจ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น และ อโณทัย สังข์ทอง ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารและทะเบียนคาร์บอนเครดิต องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก 

 

3. EV Ecosystem คือโอกาสสำคัญของไทย 

 

EV เป็นทางรอดที่ไร้ข้อโต้แย้ง เพียงแต่การจะก้าวสู่โลกแห่งยานยนต์ไฟฟ้าในวันนี้ยังมีข้อจำกัดที่ต้องร่วมมือและทำไปพร้อมกันหลายภาคส่วน ปัจจัยเรื่องราคารถไฟฟ้าที่สูงก็เป็นข้อจำกัดที่สำคัญ องค์กรขนาดใหญ่ในเมืองไทยอย่าง ‘ไปรษณีย์ไทย’ ซึ่งมีปริมาณการใช้รถยนต์กว่า 24,000 คัน ส่งผลให้องค์กรมีค่าใช้จ่ายน้ำมันที่สูงและมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สูงด้วยเช่นกัน แม้ว่าจะมีแผนผลักดันโครงการเปลี่ยนรถขนส่งทั้งหมดให้เป็นรถ EV แต่ยังติดเรื่องค่าใช้จ่ายในการถ่ายโอนกรรมสิทธิ์ของพนักงานไปรษณีย์ไทย รวมถึงสถานีชาร์จที่ยังไม่ครอบคลุมทุกการเดินทางทั่วประเทศ 

 

แต่หากมองภาพรวมเทียบกับจุดเริ่มต้น ตลาด EV ในไทยถือว่ามีศักยภาพที่ดี เนื่องจากมีค่ายรถยนต์หลายค่ายที่เริ่มทำราคาให้ถูกลง การพัฒนาคุณภาพของแบตเตอรี่ที่ดีขึ้นก็ช่วยทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ซึ่งปัจจุบันตลาด EV เติบโตเพียง 2% จึงมีโอกาสอีกมากที่จะขยายตัวได้อีก นโยบายของภาครัฐที่จะสนับสนุนต่อจากนี้อาจเป็น Game Changer สำคัญ 

 

จากเดิมที่ไทยเคยเป็นผู้ส่งออกรถยนต์กลุ่มรถสันดาป เมื่อแนวโน้มตลาดโลกขับเคลื่อนไปยังตลาด EV ผู้ประกอบการไทยต้องเร่งปรับตัว เนื่องจากมีเรื่องของปัญหาสิ่งแวดล้อมมาเป็นตัวเร่งให้เกิดแรงขับในการรณรงค์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อย่าง KBank เดินหน้าโปรเจกต์ EV Bike จับมือกับ H SEM Motor ผู้นำรถจักรยานไฟฟ้าผลักดันโครงการ ‘Watt’s Up’ รับเปลี่ยนแบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า หรือการเป็นพาร์ตเนอร์กับไปรษณีย์ไทย

 

EARTH JUMP 2023: New Frontier of Growth

(จากซ้ายไปขวา) สุขสันต์ วัฒนายากร Head of Project, Watt’s Up ธนาคารกสิกรไทย, ดร.วราภรณ์ ข้องเกี่ยวพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานกลยุทธ์และการขับเคลื่อนองค์กร บจก.ไปรษณีย์ไทย และ Mr. Michael Chong General Manager, Great Wall Motor (Thailand) 

 

4. กลยุทธ์ปลดล็อกธุรกิจสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน 

 

หลักเกณฑ์การทำธุรกิจอย่างยั่งยืนคือ คนทำต้องวางแผนอย่างยั่งยืน โดยต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กับเตรียมรับมือกับการบริหารความเสี่ยงเรื่องการถูก Disrupt ซึ่งวิธีที่ถูกต้อง นักลงทุนควรได้รับข้อมูลว่าการบริหารงานแบบยั่งยืนเป็นการเพิ่มมูลค่า (Value Added) รวมถึงการทำแบบรายงานเดียวหรือ One Report มีประโยชน์อย่างไร ท้ายที่สุด บุคลากรที่เกี่ยวข้องจะต้องมีความเข้าใจเรื่อง Sustainability ในระดับที่นำข้อมูลไปวิเคราะห์ได้ 

 

ในอนาคต Supply Chain ของบริษัทใหญ่ๆ ต้องเจอกับเรื่อง Carbon Credit เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีประสิทธิภาพที่สุด จำเป็นต้องมีภาครัฐเป็นตัวกลางในการกำหนดแนวทางการสนับสนุนและบทลงโทษ รวมถึงการมีโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถต่อยอดในอนาคต

 

EARTH JUMP 2023: New Frontier of Growth

 

แนวทางที่ดูเหมือนจะช่วยปลดล็อกธุรกิจให้ก้าวกระโดดสู่การเติบโตที่ยั่งยืนได้ก็คือ ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีการสร้าง Ecosystem โดยกำหนดหน้าที่ของแต่ละภาคส่วนไปพร้อมๆ กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับแนวคิดดังกล่าว เช่น Investment Governance Code: I Code หรือหลักธรรมาภิบาลการลงทุนสำหรับผู้ลงทุนสถาบัน เพื่อเป็นมาตรฐานของผู้ลงทุนสถาบันให้ลงทุนด้วยความรับผิดชอบต่อลูกค้า โดยคำนึงถึง ESG และติดตามการลงทุนอย่างใกล้ชิด 

 

ส่วนจะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในการทำ ESG ได้นั้นให้ยึดแนวคิดหลักๆ ดังนี้

 

  • คนทำธุรกิจต้องมี Game Changer Mindset 
  • ทำได้ในราคาที่ถูกลงและไม่ขาดทุน 
  • ทำงานกับลูกค้าหรือพาร์ตเนอร์ที่มีเป้าหมายเดียวกัน
  • ต้องมีการบริหารจัดการภายในแบบยั่งยืน 
  • หาบุคลากรที่มีความรู้หรือมีศักยภาพมาอยู่ในองค์กร 
  • จัดสรรเงินทุนให้เหมาะกับจังหวะการลงทุน 

 

EARTH JUMP 2023: New Frontier of Growth

รณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

 

5.มิติใหม่ของธนาคารสีเขียวที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจแบบยั่งยืน 

 

Climate Change จะผลักดันให้ภาคการเงินเกิดแนวทางสร้างความยั่งยืนในมิติใหม่ๆ มิติแรกคือ การลงทุนในรูปแบบ Go Green และมิติที่สองคือ การหาแนวทางแก้ปัญหาใหม่ๆ เพื่อให้เกิด Transition Finance 

 

ปัจจุบันธนาคารทั่วโลกมีการทำ Transition Finance แล้ว แต่ในประเทศไทยยังไม่มีธนาคารใดที่ทำ Transition Finance ตอนนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังผลักดันแนวทางขับเคลื่อนภาคการเงินและภาคธุรกิจพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม โดยสนับสนุนให้สถาบันการเงินออก Transition Finance ผ่านรากฐานสำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ 

 

  • ปรับกระบวนการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงิน เพื่อให้มีบริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงินด้านสิ่งแวดล้อมที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจ (Products and Services)
  • จัดทำมาตรฐานกลางที่กำหนดนิยามและจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Taxonomy)
  • ร่วมพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางด้านสิ่งแวดล้อมและมีมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลของสถาบันการเงิน (Data and Disclosure) 
  • สนับสนุนการสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม (Incentive) 
  • ยกระดับองค์ความรู้และความชำนาญของบุคลากรในภาคการเงิน (Capacity Building)

 

สถาบันการเงินจำเป็นต้องประเมินพอร์ตให้รู้สถานะและความเสี่ยงของตนด้วย พร้อมตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อที่สนับสนุน Transition Finance เลือก Prioritized Sector และกำหนด Pathway และ Framework ให้ชัดเจน ท้ายที่สุดคือต้องเร่งสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่มีส่วนช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจที่ยั่งยืน 

 

EARTH JUMP 2023: New Frontier of Growth

ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย

 

สำหรับธนาคารกสิกรไทย ได้ให้การสนับสนุนและผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero ในแนวทางต่างๆ อาทิ จัดสรรสินเชื่อกว่า 1-2 แสนล้านบาท เพื่อหนุนการลงทุนที่ยั่งยืน หรือทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์อย่าง SMU (Singapore Management University) และ NTU (Nanyang Technological University) ในด้านการวิจัย วิเคราะห์ เพื่อค้นหาแนวทางที่จะส่งเสริมความร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ 

 

ที่น่าสนใจคือการเกิดขึ้นของ Beacon Impact Fund ที่ KBank ใช้เม็ดเงินราว 1,200 ล้านบาท เพื่อลงทุนหรือหาผู้ร่วมทุนที่เป็นสตาร์ทอัพด้านความยั่งยืน จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการ Empower ผู้ประกอบการในการสร้างอนาคตที่ดีขึ้น โดยมีแนวทางในการคัดกรองเรื่องการดูแลโลก ได้แก่ ต้องเป็นธุรกิจที่ Clean Energy Adoption, Circular Economy, Sustainable Agriculture และ Decarbonization ในขณะที่มองการลงทุนในธุรกิจประเภทต่างๆ ได้แก่ Financial Inclusion, Health Care Accessibility และ Digital Literacy and Access

 

แต่การพัฒนาธุรกิจให้เติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างยั่งยืนนั้นยังต้องการการสนับสนุนอีกมาก โดยเฉพาะเรื่องเงินลงทุนจำนวนมหาศาล ทั้งจากนักลงทุนทั่วไป Venture Capital ธนาคาร และสถาบันการเงิน ที่ในอนาคตจะเข้ามามีส่วนช่วยเหลือให้ธุรกิจสีเขียวเหล่านี้เติบโตได้เต็มศักยภาพ 

 

เพราะการแก้ปัญหาเรื่องความยั่งยืนไม่ใช่งานของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นความร่วมมือกันทั้งภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล นักลงทุน ภาคธุรกิจ ผู้บริโภค และสถาบันการเงิน ทุกฝ่ายล้วนมีส่วนสำคัญในการช่วยให้โลกใบนี้เปลี่ยนผ่านไปได้ 

 

และนี่คือ 5 แนวคิดที่ THE STANDARD เชื่อว่าจะทำให้ธุรกิจเห็นแนวคิดและแนวทางในการปรับตัวชัดขึ้น มองเห็นเครื่องมือและผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยส่งแรงให้ก้าวกระโดดไปสู่อนาคตของธุรกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืน ตามความตั้งใจของธนาคารกสิกรไทยที่อยากให้ทุกภาคส่วนมาร่วมกันลงมือทำอย่างจริงจัง

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising