×

‘สิ่งแวดล้อม-ซัพพลายเชน-ความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล’ 3 หัวใจหลักคนทำธุรกิจยุคใหม่ สรุปงานสัมมนา dtac Forum 2021 [Advertorial]

11.06.2021
  • LOADING...
‘สิ่งแวดล้อม-ซัพพลายเชน-ความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล’ 3 หัวใจหลักคนทำธุรกิจยุคใหม่ สรุปงานสัมมนา dtac Forum 2021 [Advertorial]

HIGHLIGHTS

7 mins. read
  • 3 เมกะเทรนด์ที่จะส่งผลต่อการปรับตัวสู่ความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจและธุรกิจในมุมมองของ ชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร dtac ประกอบด้วย ประสิทธิภาพและความสามารถในการสเกลหลังยุคโควิด-19, ช่องว่างทางดิจิทัลที่ห่างระหว่างตัวบุคคล และผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มีต่อซัพพลายเชน
  • ส่วนในมุมมองเชิงภาพรวม 3 ส่วนที่ dtac มองว่าภาคธุรกิจต่างๆ ควรจะต้องให้ความสำคัญ คือ สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง, ความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน และความปลอดภัยด้านข้อมูลส่วนบุคคล (ของผู้บริโภค)
  • นักวิชาการด้านข้อมูลย้ำว่า ภาคธุรกิจ เอกชน และรัฐบาล ควรจะอาศัยช่วงสุญญากาศที่ PDPA ยังไม่บังคับใช้ ปรับมาตรการด้านความปลอดภัยของข้อมูลบริโภคให้เข้มแข็งและโปร่งใส เพื่อสร้างความสบายใจให้กับผู้บริโภค

ท่ามกลางสภาวะความผันผวนที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ ทั้งสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 มาตรการจากภาครัฐที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ เศรษฐกิจโลกที่ยังคงสะบักสะบอมจากแรงเหวี่ยงที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดการตั้งคำถามที่ว่า ภาคธุรกิจต่อจากนี้ ผู้ประกอบการ ผู้นำองค์กรจำนวนมาก ควรจะก้าวเดินต่อไปอย่างไรดี?

 

เมื่อเร็วๆ นี้ dtac ได้จัดงานสัมมนาด้านธุรกิจ ‘dtac Responsible Business Virtual Forum 2021’ ขึ้นมา เพื่อฉายให้เห็นภูมิทัศน์ความเปลี่ยนแปลงในภาคธุรกิจและการปรับตัวให้ทันเพื่อความยั่งยืน โดยเน้นหลักๆ ไปที่ 3 หัวข้อใหญ่ นั่นคือ ความเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ, ซัพพลายเชน และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

 

โดยที่ทั้งหมดมีจุดร่วมเดียวกันนั่นคือ ช่วยให้บรรดาผู้ประกอบการและผู้นำองค์กรสามารถปรับตัวและเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินธุรกิจ ให้ทันกับสถานการณ์โลกและความผันผวนที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

 

THE STANDARD WEALTH สรุปประเด็นสำคัญ พร้อมข้อมูลและ Key Takeaways ที่เชื่อว่าเป็นประโยชน์จากงานสัมมนาดังกล่าวมาให้คุณ 

 

3 เมกะเทรนด์ ส่งผลต่อการปรับตัวสู่ความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจและธุรกิจ

ชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ dtac เริ่มต้นเปิดเวทีเสวนาในหัวข้อ ‘พลิกวิกฤตเศรษฐกิจสู่แนวคิดใหม่เพื่อองค์กรธุรกิจที่ยั่งยืน’ ด้วยการชี้ให้เห็นว่า ณ ปัจจุบัน มนุษย์และผู้คนจำนวนมากเริ่มปรับตัวและยืนหยัดสู่ความยั่งยืนได้แล้ว (Human Resilience) 

 

อย่าง datc เอง ณ วันนี้ก็ให้คนทำงานในออฟฟิศที่สัดส่วนกว่า 95% ปรับรูปแบบมาทำงานที่บ้าน ขณะที่โรงพยาบาลสนามที่พวกเขาเข้าไปให้บริการเชื่อมต่อโครงข่าย ก็พบตัวเลขการเชื่อมต่อใช้งานอินเทอร์เน็ตและเดต้าข้อมูลต่างๆ เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าตัว 

 

อย่างไรก็ดี ปัญหาที่ชารัดพบคือ แม้ในเชิงบุคลากร พนักงาน และคนทำงาน จะมีความยืดหยุ่น (Flexibility) แต่กับองค์กร สิ่งเหล่านั้นอาจจะเกิดขึ้นได้ยากกว่า โดยเฉพาะความยืดหยุ่น ความคล่องตัวในการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นแล้วเทรนด์ใหญ่ที่เราจะได้เห็นต่อจากนี้จะประกอบด้วย 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่

 

  1. ประสิทธิภาพและความสามารถในการสเกลหลังยุคโควิด-19: ในที่นี้ครอบคลุมไปถึงความสามารถในการประหยัดต้นทุนในเชิงการผลิตต่อหน่วย (Economy of Scale), ความลึกของความชำนาญการในด้านต่างๆ ซึ่งจะเป็นตัวนิยามความเร็วของความสามารถในการ Adopted สิ่งต่างๆ และเร่งอัตราเร็วในเส้นทางการเติบโตของการดำเนินธุรกิจต่างๆ เช่น ตัวอย่างของ Grab ที่กำลังจะเข้า IPO ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ

 

ขณะที่สิ่งที่เกิดขึ้นกับ dtac ประเทศไทย คือการที่พวกเขาได้ทุ่มงบจำนวนมหาศาลเพื่อพัฒนาช่องทางดิจิทัลให้แข็งแกร่ง ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปให้ได้

 

  1. ช่องว่างทางดิจิทัลที่ห่างระหว่างตัวบุคคล: ยิ่งการใช้ชีวิตประจำวันของเราผูกติดกับโลกดิจิทัลและแพลตฟอร์มออนไลน์แค่ไหน ก็ต้องไม่ลืมว่ายังมีผู้คนอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังคงก้าวตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่ทัน โดยตัวอย่างส่ิงที่ dtac พยายามทำคือ การนำคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz เข้ามาสร้างสะพานเชื่อมช่วงห่างระหว่างผู้คนที่อาศัยในชนบทกับคนที่ใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลและเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องปกติ ให้ไม่เกิดความเหลื่อมล้ำ
  2. ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มีต่อซัพพลายเชน: ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยหลังจากนี้จะไม่ใช่โรคระบาดอีกแล้ว แต่คือความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ โดยในเชิงของผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร dtac ยืนยันและให้สัญญาว่าพวกเขาจะลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงครึ่งหนึ่ง หรือราว 50% ของทั้งบริษัท ให้ได้ภายในปี 2030 หรืออีกราว 9 ปีต่อจากนี้

 

หัวเรือใหญ่ของ dtac ยังบอกอีกด้วยว่า 7 เสาหลักของการยกระดับขีดความสามารถในการยืนหยัดท่ามกลางความไม่แน่นอนและสร้างความไว้วางใจแก่ Stake Holders ทุกภาคส่วน จะประกอบไปด้วย

 

  1. การสร้างบรรทัดฐานใหม่ด้วยหลักธรรมาภิบาล 
  2. การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล 
  3. การสร้างความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน 
  4. การสร้างสังคมดิจิทัลสำหรับทุกคน 
  5. การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ 
  6. สิทธิมนุษยชน 
  7. การสร้างสุขภาวะในที่ทำงาน

 

 

ความท้าทายด้านสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง

ประเทศไทยได้เข้าไปมีส่วนร่วมแผนการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนดฉบับปรับปรุง (NDC) ต่อองค์การ UNFCCC ภายใต้ความร่วมมือการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ โดยมีเป้าหมายว่า ภายในปี 2021-2030 ไทยจะต้องลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ลงในสัดส่วนที่ราวๆ 20-25% โดยมีแผนที่จะลดคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ให้ได้ภายในอนาคต (แผนระยะยาวราวปี 2050-2070) ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

เมื่อแผนของหน่วยงานภาครัฐเริ่มเป็นรูปธรรมและมีการตั้งกรอบเวลาคร่าวๆ ของแผนการลดคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นภาคเอกชนจึงต้องจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงและมีมาตรการด้านการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เป็นรูปเป็นร่างเช่นกัน

 

ประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มเทคโนโลยี dtac บอกว่า ในขาหนึ่งของ dtac ที่พวกเขาจำเป็นต้องขยายโครงข่ายการให้บริการให้ครอบคลุมทั้งประเทศ ฉะนั้นจึงเลี่ยงไม่ได้ที่พวกเขาจะยังมีสัดส่วนการใช้พลังงานอยู่ และอาจกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 

แต่ถึงอย่างนั้นก็ดี สิ่งที่ dtac และชารัด ได้ตั้งเป้าเอาไว้ว่า ภายในปี 2030 บริษัทจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 50% ก็ถือเป็นหลักฐานของความมุ่งมั่นในการมุ่งลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องยอมรับกันว่า ‘มันไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย’ แม้แต่น้อย โดยเฉพาะเมื่อมองในมุมที่ dtac ยังคงต้องขยายโครงข่ายการให้บริการออกไปอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มอัตราเร่งในการพัฒนาโครงข่ายการเชื่อมต่อสื่อสารให้ยอดเยี่ยมอยู่ตลอดเวลา

 

 

สำหรับวิธีการของ dtac ที่จะมุ่งไปสู่หลักไมล์ดังกล่าวนั้นประกอบไปด้วย 4 ส่วนใหญ่ๆ นั่นคือ

 

  1. กวาดบ้านตัวเองให้สะอาด (ลดการใช้งานพลังงานภายในบริษัทของตัวเอง): ตัวอย่างง่ายๆ เลยคือ สถานีฐานรับส่งสัญญาณที่ลดการใช้เครื่องปรับอากาศ, การลดจำนวนชุมสายในภูมิภาคต่างๆ จากเดิมที่มี 6 ที่ทั่วประเทศ ลงเหลือ 2 ที่ในกรุงเทพฯ เท่านั้น, ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในเดต้าเซ็นเตอร์ลง 32%
  2. เริ่มโครงการ ‘ทิ้งให้ D’: โดยในปี 2020 ที่ผ่านมา สามารถลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้มากกว่า 356 ตัน หรือเทียบเท่าปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ 10 ล้านกิโลกรัม และเท่ากับการปลูกต้นไม้ที่หลักล้านต้น
  3. ลงทุนในพลังงานทางเลือก: อยู่ในช่วงการจัดหาและพูดคุยการลงทุนในแหล่งพลังงานสะอาด เช่น การนำโซลาร์เซลล์มาวางบนหลังคาของสถานีฐานรับส่งสัญญาณ หรือเดต้าเซ็นเตอร์ โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นไป
  4. นำโครงข่ายของ dtac ไปช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรม: เช่น การร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ในการนำความแข็งแกร่งด้านโครงข่ายของ dtac ไปใช้งานในภาคอุตสาหกรรม บริหารจัดการการใช้ทรัพยากรพลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

 

ความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน

ทิพยรัตน์ แก้วศรีงาม รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานขาย dtac เล่ากรณีตัวอย่างขององค์กร dtac ให้เห็นภาพว่า ซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทของเธอมีอยู่มากมายหลากหลายกลุ่ม ตั้งแต่บริษัทที่ผลิตซิมให้กับ dtac, บริษัทผู้ผลิตมือถือ,​ ดิสทริบิวเตอร์สมาร์ทโฟน, ผู้ผลิตของพรีเมียมในร้าน dtac, ผู้ติดตั้งพาร์ตบริการต่างๆ ในร้าน ฯลฯ

 

จะเห็นว่าทั้งหมดนี้มีซัพพลายเออร์ที่ต้องทำงานกับ dtac แบบไม่หวาดไม่หวั่น ชนิดที่เรียกว่า 360 องศารอบตัว ฉะนั้นเมื่อเกิดโควิด-19 ขึ้น ภาคธุรกิจหรือซัพพลายเออร์ที่เกี่ยวข้องจึงได้รับผลกระทบไปด้วย ดังนั้นสิ่งที่ dtac ทำก็คือ การรีแวมป์ภาคธุรกิจใหม่ให้หมด เพื่อให้การให้บริการลูกค้าและการทำงานร่วมกับคู่ค้ายังดำเนินต่อไปได้

 

ในเชิงการให้บริการลูกค้าแบบไม่มีสะดุดนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนวิธีการทำงานสอดคล้องไปกับแพตเทิร์นของพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น dtac ได้ไปพูดคุยกับร้านกาแฟหรือสถานีบริการน้ำมัน เพื่อเพิ่มจุดให้บริการลูกค้า ขยับตัวเองเข้าไปสู่โลกดิจิทัล เพื่อ Serve ลูกค้าในทุกช่องทางให้ได้มากที่สุด

 

ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์ม dtac One ซึ่งจะเป็นช่องทางในการลงทะเบียนซิมของ dtac ที่ผู้ใช้บริการซื้อจากรีเทลรายย่อยกว่า 70,000 แห่งทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการตอบสนองความต้องการกับลูกค้าและพาร์ตเนอร์ร้านค้ารายย่อย

 

“ท้ายที่สุดแล้ว เมื่อลูกค้าไม่เดินทางเข้ามาในห้าง (ผู้ใช้บริการไม่มาที่ศูนย์บริการของ dtac) ดังนั้น dtac จึงปรับมาให้บริการแบบ o2o เช่น ให้บริการไลฟ์ขายเบอร์สวยสำหรับลูกค้าที่ไม่สะดวกเดินทางมาที่ร้าน โดยมี Success Rate ที่สูงมากๆ ของการทำแคมเปญนี้” ทิพยรัตน์กล่าว

 

 

ความปลอดภัยด้านข้อมูลส่วนบุคคล

สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านการเงินและข้อมูลความเป็นส่วนตัว กล่าวในประเด็นความปลอดภัยด้านข้อมูลส่วนตัว โดยระบุว่า ‘Data Integrity’ แม้จะไม่มีการนิยามตรงตัวตามภาษาไทย แต่ก็เป็นเรื่องที่ไปไกลกว่าแค่ความปลอดภัยหรือความมั่นคงทางไซเบอร์ เพราะหมายถึง ‘ความสมบูรณ์ครบถ้วนของข้อมูล’ ความไว้เนื้อเชื่อใจและคุณภาพของข้อมูล

 

ดังนั้น Data Integrity จึงเป็นเรื่องที่ ‘ขาดไม่ได้เลย’ ในเชิงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศไทย เนื่องจากสังคมและเศรษฐกิจดิจิทัลจะเดินได้ก็ต่อเมื่อมีความไว้วางใจและความเชื่อมั่นของประชาชนในฐานะที่เป็นผู้ใช้บริการและพลเมือง 

 

“จริงๆ แล้วในมุมผู้ใช้บริการ ความไว้วางใจในเรื่องนี้จึงสำคัญมากๆ และจะทำให้เกิดความไว้วางใจได้ก็ต่อเมื่อมีการดูแลข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลส่วนตัว และความสมบูรณ์ของตัวข้อมูล 

 

“ซึ่งในหมวกของพลเมืองที่เรารู้ว่าภาครัฐเก็บข้อมูลเรามากขึ้นเรื่อยๆ แต่เราก็ต้องการ e-Governance ที่เพิ่มความเป็นดิจิทัลให้กับระบบต่างๆ ของทางภาครัฐ ดังนั้นรัฐจึงต้องสร้างความไว้วางใจและคุ้มครองข้อมูลพลเมืองให้ได้ โดยที่รัฐและเอกชนจะต้องเคารพสิทธิของผู้ใช้งานและพลเมืองในฐานะเจ้าของข้อมูล”

 

สฤณีบอกต่อว่า การจะทำให้เกิดความไว้วางใจในประเด็น Data Integrity ขึ้นได้ก็จะต้องทำทั้งในฝั่งตัว ‘กฎหมาย’ เช่น การผลักดันให้บังคับใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล ขึ้นจริงในไทย และการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว

 

อย่างไรก็ตาม ในช่วงสุญญากาศที่การประกาศหรือบังคับใช้ PDPA ถูกเลื่อนออกไปนี้ นักวิชาการด้านข้อมูลมองว่า เป็นโอกาสที่ดีที่รัฐบาลและภาคธุรกิจจะเตรียมความพร้อมของตัวเองให้มากที่สุด เพื่อเตรียมพร้อมรองรับกฎหมายที่จะส่งผลกระทบต่อการให้บริการและการทำธุรกิจในอนาคต

 

โดยจะต้องปรับและนำเอาประเด็นข้อมูลส่วนบุคคลมาเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ธุรกิจ พร้อมประกาศในเชิงการตลาดออกไปให้ตัวผู้บริโภคเห็นเลยว่า บริษัทหรือหน่วยงานนั้นๆ มีแนวปฏิบัติการดูแลข้อมูลส่วนตัวในระดับสูงและเป็นมาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจและเชื่อมั่นในประเด็น Data Integrity นี้

 

“ในมุมมองของเรา เราอยากจะเชื้อเชิญให้หน่วยงานราชการและภาคเอกชนช่วยกันรณรงค์และส่งเสริมให้ทุกคนเห็นถึงความสำคัญในการดูแล Data Integrity ที่เชื่อมโยงไปถึงการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในด้านข้อมูลโดยไม่นิ่งนอนใจหรือปล่อยให้ช่วงเวลานี้ผ่านไป เพราะช่วงโควิด-19 ระบาดในไทย เราก็เห็นตัวอย่างแล้วว่า การที่ประชาชนเกิดความ ‘ไม่ไว้วางใจ’ มันคือต้นทุนจริงๆ แค่ไหนกับการพัฒนาสังคมและการผลักดันเศรษฐกิจ” สฤณีกล่าว

 

ด้าน มาร์คุส แอดอัคทูสเซน รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มกิจการองค์กร dtac บอกว่า ความกังวลในประเด็นความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลนั้นจะเกี่ยวข้องกับ 3 ส่วนหลัก ได้แก่

 

  1. ความกังวลว่าข้อมูลส่วนตัวของตัวเองจะถูกนำไปใช้งานผิดวัตถุประสงค์
  2. ข้อมูลของตัวเองจะถูกนำไปแชร์กับ 3rd Party โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือเปล่า
  3. ข้อมูลของตัวเองจะไม่ถูกลบไปโดยพลการ

 

ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นส่วนที่ dtac จะให้ความสำคัญในแง่ของการดูแลข้อมูลของผู้ใช้บริการของตัวเองเช่นกัน

 

ดังนั้นแล้วในเชิงของผู้ให้บริการรายอื่นๆ และผู้ประกอบการธุรกิจ การให้ความสำคัญกับประเด็นสิ่งแวดล้อม, ความยั่งยืนของซัพพลายเชน และความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล จึงเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่ส่ิงเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นความต้องการที่ผู้บริโภคและลูกค้า ต้องการเป็น Add-On นอกเหนือจากการได้รับผลิตภัณฑ์และบริการที่ดี

 

#dtacResponsibleBusiness

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising