×

รู้จัก Discovery Commerce เครื่องมือการตลาดดิจิทัลยุคใหม่ที่รู้ใจนักช้อปและผู้ใช้งาน

โดย THE STANDARD TEAM
13.01.2023
  • LOADING...

โลกของโซเชียลมีเดียกำลังเกิดการเคลื่อนที่อีกครั้ง

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโลกของเรานั้นมีความเคลื่อนไหวและไม่หยุดนิ่งที่เพิ่มมากขึ้นในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา และหนึ่งสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอคือ ‘โซเชียลมีเดีย’ จากเครื่องมือที่ใช้เชื่อมต่อคนในเครือข่ายสังคม สู่พื้นที่ที่ให้ความรู้ ความบันเทิง และในปัจจุบันได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับภาคธุรกิจที่ใช้งานในทางพาณิชย์ ทั้งทางด้านการสื่อสาร เชื่อมต่อกับผู้บริโภค และช่องทางในการขายสินค้าที่ทรงพลัง

 

ดังนั้นการทำความเข้าใจระบบการทำงานที่อยู่เบื้องหลังของโซเชียลมีเดียจึงกลายมาเป็นเรื่องที่ ‘จำเป็นต้องรู้’ หากธุรกิจหรือแบรนด์ต้องการที่จะใช้ประโยชน์จากเครื่องมือดังกล่าวให้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุด และคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยีต่างๆ ของ Meta นั้นเป็นกลุ่มแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานอันดับ 1 ซึ่งเป็นส่วนสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการจะดำเนินธุรกิจในช่องทางออนไลน์ เพราะเครือข่ายที่มีความครอบคลุมและกว้างไกล

 

ธุรกิจหรือแบรนด์ที่ใช้งาน Meta เป็นช่องทางหลัก จึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจระบบการทำงานของแพลตฟอร์มต่างๆ เหล่านี้ให้มากขึ้น เพื่อให้ธุรกิจออนไลน์สามารถได้รับประโยชน์สูงสุดจากตัวแพลตฟอร์ม 

 

 

Discovery Commerce ขับเคลื่อนการค้นพบด้วย Machine Learning 

เทรนด์ของผู้บริโภคและนักช้อปสายดิจิทัลในยุคสมัยใหม่คือ พวกเขาต้องการสิ่งที่ตอบสนองกับความชอบและแมตช์กับความสนใจของพวกเขามากที่สุด แพลตฟอร์มต่างๆ จึงคำนึงถึงเรื่อง Personalization หรือการตอบสนองที่ตรงกับความต้องการที่พวกเขามองหา 

 

ระบบ Discovery Commerce ของ Meta สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการนำเสนอสินค้าหรือบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ด้วยการผสมผสานระบบแมชชีนเลิร์นนิงเข้ากับข้อมูลที่ผู้คนเลือกแชร์ ทำให้ผู้ใช้งานได้ ‘ค้นพบ’ สิ่งที่เชื่อมโยงกับความสนใจของตนเองโดย ‘บังเอิญ’ ไม่ว่าจะมาจากฟีเจอร์ใดบนแพลตฟอร์มของ Meta ก็ตาม 

 

สิ่งที่พลิกโฉมการค้าบนโลกออนไลน์ในยุคโซเชียลมีเดียก็คือ ระบบ ‘การค้าผ่านการค้นพบ’ อย่าง Discovery Commerce ที่สามารถสร้างความอยากซื้อก่อนที่คุณจะต้องการมันเสียอีก จากการศึกษาของ Meta ร่วมกับ Bain & Company พบเทรนด์ที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นั่นก็คือการเปลี่ยนพฤติกรรมจากการ ‘ออกไปช้อปปิ้ง’ (Go Shopping) ไปสู่การ ‘ช้อปปิ้งตลอดเวลา’ (Constantly Shopping) กล่าวคือ ผู้คนไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ที่การออกไปพบและซื้อสินค้าที่พวกเขารู้อยู่แล้วว่าต้องการ แต่เทรนด์คือการเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ที่พวกเขาอาจจะชอบและต้องการ ส่งผลให้แบรนด์และธุรกิจต้องทำให้ตัวเองถูกค้นพบได้ง่ายขึ้น และทำให้ผู้คนมีประสบการณ์เชื่อมต่อกับแบรนด์และการซื้อขายได้ง่ายยิ่งขึ้นด้วย

 

คำว่า Discovery หรือการค้นพบ จึงน่าจะเป็นคำที่เหมาะสมในการนิยามประสบการณ์คอมเมิร์ซบนโซเชียลมีเดียยุคใหม่

 

 

Social Commerce พฤติกรรมช้อปออนไลน์ที่มองข้ามไม่ได้

นอกเหนือไปจากตัวแพลตฟอร์มแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องเข้าใจคือ ‘พฤติกรรมผู้ใช้งาน’ เพราะแนวทางการพัฒนาโซเชียลมีเดียในปัจจุบันให้ความสำคัญกับ ‘User Centric’ เป็นอย่างมาก การทำความเข้าใจต้นทางอย่างพฤติกรรมผู้บริโภคจึงกลายเป็นสิ่งที่ทำให้ธุรกิจหรือแบรนด์สามารถจะมองเห็นและเข้าใจโอกาสได้ว่า ‘ทำไมเราถึงต้องเริ่มทำสิ่งนี้’

 

โดยจากการเก็บข้อมูลของธนาคารกรุงศรีได้พบว่าเทรนด์ของผู้ซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์กำลังเคลื่อนจาก ‘E-Commerce’ ไปสู่คำว่า ‘Social Commerce’ หรือการใช้สื่อโซเชียลมีเดียในการเป็นพื้นที่ในการติดต่อซื้อขายสินค้าและบริการนั่นเอง

 

 

ซึ่งทาง Hootsuite Social Media Trends 2023 ได้เผยถึงโอกาสของเทรนด์ Social Commerce ผ่านเม็ดเงินที่ทำการซื้อขายในรูปแบบบ Social Commerce ในประเทศฝั่งอเมริกาเหนือ พบว่ามีการเติบโตจากปีก่อนหน้าถึง 34.4% คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 53.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีแนวโน้มว่าจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ 

 

ซึ่งสอดรับกับโอกาสของประเทศไทย โดยเฉลี่ยแล้วคนไทยมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตถึงวันละ 11 ชั่วโมง 25 นาที อีกทั้งกิจกรรมอันดับ 1 ของชาวไทยยังเป็นการใช้งานโซเชียลมีเดีย ซึ่งถือได้ว่าเป็นตัวเลขที่อยู่ในระดับแนวหน้า

 

 

“อีคอมเมิร์ซยังคงเป็นช่องทางหลักสำหรับธุรกิจในปัจจุบันสำหรับการเข้าถึง และมีส่วนร่วมกับนักช้อป เนื่องจากความคุ้นเคยในการช้อปปิ้งออนไลน์ และความสะดวกในการจับจ่ายใช้สอย”

Peggy Zhu, Head of Brand and Growth Marketing จาก Shopee

 

 

Social Commerce จึงไม่เป็นเพียงแค่เทรนด์ที่เข้ามาและผ่านไป เพราะตัวเลขทางสถิติได้บ่งชี้แล้วว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นแนวโน้มที่จะเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต

 

เมื่อเรารู้จักกับระบบ Discovery Commerce ของ Meta บวกกับเทรนด์พฤติกรรม Social Commerce แล้วนั้น สิ่งสุดท้ายที่ต้องเข้าใจเพื่อคว้าโอกาสในการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้คือการลงทุนในโฆษณาบนเทคโนโลยีต่างๆ ของ Meta ที่ได้ออกแบบเพื่อตอบสนองทั้งความต้องการของผู้ใช้งาน และความสะดวกสบายในการตามหาลูกค้าที่ใช่ของแบรนด์

 

 

ธุรกิจออนไลน์แบบเดิมรอให้ลูกค้ามาหาในตลาดที่กว้างใหญ่ และเต็มไปด้วยคู่แข่งจำนวนมหาศาล

จากการเก็บข้อมูลของทางบริษัท Accenture พบว่าตลาด Social Commerce ทั่วโลกที่ปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดการณ์ว่าจะเติบโตเร็วกว่า E-Commerce แบบดั้งเดิมถึง 3 เท่า โดยจะทำให้ตลาด Social Commerce มีมูลค่าสูงถึง 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2025

 

และจากรายงานในปี 2022 ที่ Meta ทำร่วมกับ Bain & Company ชื่อว่า SYNC Southeast Asia Digital Consumer Report ได้เผยว่า 69% ของผู้ใช้งานในไทยตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยกระบวนการแบบ Discovery Led หรือการค้นพบสินค้าก่อน แล้วจึงเกิดความต้องการก่อนที่จะตัดสินใจซื้อนั่นเอง

 

การรอให้ผู้ใช้งานมาพบกับแบรนด์จึงเปรียบเสมือนกับการรอให้ลูกค้าเดินช้อปปิ้งในห้างที่เต็มไปด้วยร้านค้าและสิ่งให้ความบันเทิงมากมาย ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อการแข่งขันอีกต่อไป

 

 

รู้จัก Discovery Commerce เครื่องมือที่จับคู่ความต้องการของผู้ใช้งานอย่างทรงพลัง

เมื่อการนำเสนอสินค้าตามความต้องการไม่เพียงพออีกต่อไป การสร้างความต้องการให้ผู้ใช้แล้วนำเสนอสินค้าให้ผู้บริโภคจึงต้องถูกยกระดับมากขึ้น Meta จึงเข้ามาตอบโจทย์ Pain Point ด้วยการนำเสนอระบบ Discovery Commerce ซึ่งเป็นเครื่องมือการทำการตลาดยุคใหม่ที่ขานรับกับบริบทที่เปลี่ยนไปในโลกแห่งการช้อปปิ้ง โดยระบบจะจับคู่ความต้องการของผู้ใช้งานให้ตรงกับประเภทของสินค้าและบริการที่แบรนด์จะนำเสนอได้อย่างราบรื่นไร้รอยต่อ

 

 

“ด้วยระบบ Discovery ทุกการโต้ตอบจะมอบโอกาสให้คุณได้เรียนรู้แบบเรียลไทม์ เพราะคุณสามารถดึงดูดความสนใจของคนไว้ได้ในห้วงขณะที่พวกเขาไม่ได้นึกถึงแบรนด์ของคุณอยู่ พร้อมกับเปลี่ยนความสนใจนั้นให้กลายเป็นยอดขายได้ นี่แหละคือสิ่งที่ทรงพลังอย่างแท้จริง”

Sapna Nemani, Chief Product & Solutions Officer จาก Publicis Groupe

 

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ทำให้โลกออนไลน์มีบทบาทสำคัญมากขึ้นในทุกมิติของการใช้ชีวิต ธุรกิจที่ใช้งานแอปพลิเคชันของ Meta มีโอกาสที่จะทำให้สินค้าและบริการถูกค้นพบโดยผู้บริโภคทั่วโลก Discovery Commerce จึงเพิ่มโอกาสให้กับแบรนด์และธุรกิจ โดยเฉพาะผู้ประกอบการหรือผู้สร้างแบรนด์ขนาดเล็กและขนาดกลางที่จะมีโอกาสมากขึ้นในการนำเสนอสิ่งใหม่ๆ ขณะเดียวกัน การผสมผสานการตลาดดิจิทัลแบบใหม่เข้ากับประสบการณ์การช้อปปิ้งบนแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นผ่านแชตหรือผ่านไลฟ์ขายสินค้า ก็ช่วยให้การค้าขายออนไลน์มีความคล่องตัวและง่ายดายยิ่งขึ้นทั้งสำหรับผู้ซื้อและผู้ขายอีกด้วย

 

หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ Discovery Commerce จะช่วยให้แบรนด์สามารถค้นพบผู้บริโภคที่มีความสนใจที่จะใช้สินค้า และบริการที่ธุรกิจสามารถส่งมอบได้ ซึ่งช่วงเวลาแห่งการค้นพบโดยบังเอิญนั่นเองจะสร้างความประทับใจและช่วยให้ผู้บริโภครู้สึกว่า ‘แบรนด์เข้าใจความต้องการของพวกเขาอย่างลึกซึ้ง’ นั่นเอง

 

ทั่วทุกแพลตฟอร์มของ Meta มีผู้คนกว่า 3.6 พันล้านคน* เชื่อมต่อถึงกันผ่านอีโคซิสเต็มอันกว้างใหญ่ที่เต็มไปด้วยแบรนด์ที่พวกเขาชื่นชอบ ผู้คน กลุ่มต่างๆ เหล่าครีเอเตอร์ ธุรกิจและร้านค้า องค์กรไม่แสวงหากำไร และชุมชนอื่นๆ อีกมากมาย ด้วยขนาดมหึมาระดับนี้ ไม่น่าแปลกใจเลยที่ 73% ของนักช้อปออนไลน์ที่ทำแบบสำรวจค้นพบแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บนแพลตฟอร์มของ Meta**

 

ยกตัวอย่างเช่น หากคุณอยู่ในกลุ่มรองเท้าสนีกเกอร์บน Facebook เพื่อติดตามคอลเล็กชันรองเท้าใหม่ๆ ก็มีแนวโน้มว่าระบบ Discovery Commerce นั้นจะนำเสนอรองเท้าแบบที่คุณสนใจให้คุณได้เห็นบนหน้าฟีดหรือสตอรีได้ 

 

 

“การมอบประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้าตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของการค้นพบสินค้า ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ผู้บริโภคยอมรับข้อมูลผลิตภัณฑ์ได้ง่ายและเป็นธรรมชาติมากขึ้น แต่ยังช่วยให้เราเชื่อมต่อกับพวกเขาได้อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งนอกจากจะทำให้เราให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของลูกค้าได้อย่างเต็มรูปแบบมากขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ผู้บริโภคเข้าใจถึงแนวคิดเกี่ยวกับแบรนด์ของเราและยอมรับผลิตภัณฑ์ที่เรานำเสนอได้โดยไม่รู้สึกกดดัน”

 

Molly Miao, CMO จาก Shein

 

 

ทำไม Discovery Commerce จึงเป็นโอกาส

เมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ย้ายขึ้นมาอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น หมายความว่าความคาดหวังต่อของผู้ใช้งานต่อแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียย่อมเปลี่ยนแปลงไป และนี่คือ 3 ปัจจัยที่เป็นโอกาสสำหรับผู้ที่เข้าใจในระบบ Discovery Commerce ก่อนผู้อื่น

 

1. ระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยครีเอเตอร์ และอิทธิพลในการตัดสินใจขึ้นอยู่กับผู้คนในวงสังคม

 

ก่อนหน้านี้การใช้อินฟลูเอ็นเซอร์เพื่อโปรโมตแบรนด์มักจะถูกใช้งานโดยธุรกิจที่มีขนาดใหญ่และใช้ทุนสูง แต่ในปัจจุบันเราเห็นธุรกิจขนาดเล็กหันมาปรับกลยุทธ์การใช้งานอินฟลูเอ็นเซอร์มากขึ้น ซึ่งนั่นอาจรวมไปถึงนาโนหรือไมโครอินฟลูเอ็นเซอร์ที่มียอดผู้ติดตามที่น้อยกว่า

 

 

เพราะในโลกที่ตัวเลือกมีอยู่มากมายมหาศาล ครีเอเตอร์จึงไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวแทนของแบรนด์เท่านั้น แต่ยังเป็นช่องทางการตลาดใหม่ๆ ในตัวของพวกเขาเอง

 

และการมาถึงของ Discovery Commerce จะช่วยเพิ่มอิทธิพลให้กับเหล่าอินฟลูเอ็นเซอร์เหล่านี้ได้เป็นอย่างมาก การเลือกอินฟลูเอ็นเซอร์ที่ถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากสำหรับธุรกิจและแบรนด์

 

2. ความสนุกสนานความบันเทิงได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการช้อปปิ้ง

 

เทคโนโลยีกำลังจะเข้ามามีบทบาทในการสร้างประสบการณ์ที่เข้าถึงผู้คนทั่วโลกได้มากขึ้น และยังจะช่วยยกระดับประสบการณ์ความบันเทิงในการช้อปปิ้งให้ได้อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เช่น การไลฟ์สดขายของ หรือการเยี่ยมชมหน้าร้านค้าในรูปแบบของ VR และ AR ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถจินตนาการถึงการเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ได้ก่อนที่จะซื้อสินค้าเสียอีก

 

Discovery Commerce จึงไม่เพียงส่งมอบสิ่งที่ลูกค้าต้องการ แต่ยังเฟ้นหาประสบการณ์การช้อปปิ้งใหม่ๆ ให้กับลูกค้าที่พร้อมจะเปิดรับสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ

 

 

3. การเชื่อมต่อกับผู้บริโภคด้วยการส่งข้อความคือจุดเริ่มต้นของการปิดการขาย

 

จากการรายงานของ Boston Consulting Group พบว่า 1 ใน 2 ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทย แชตกับธุรกิจหรือแบรนด์ต่างๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง***

 

 

นอกเหนือจากการค้นพบที่ง่ายขึ้นด้วยระบบ Discovery Commerce แล้วนั้น การโฆษณาในรูปแบบคลิกไปยัง Messenger หรือ Instagram Direct ยังได้เพิ่มความผูกพันระหว่างแบรนด์และผู้บริโภคเข้าไปอีก

 

และนี่คือทั้งหมดสำหรับโอกาสในโลกดิจิทัล และกลไกของ Discovery Commerce ที่จะเข้ามาเป็นแนวทางหลักในการแสดงผลของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียในเครือของ Meta ซึ่งไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจในรูปแบบใด แต่ Discovery Commerce จะช่วยให้คุณเจอความต้องการของลูกค้าได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าที่เคย 

 

เรียนรู้วิธีช่วยแบรนด์ให้เติบโตด้วย Discovery Commerce และทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจของ Meta เพื่อปลดล็อกประสิทธิภาพแห่งพลังการค้นหา และอยู่แนวหน้าของการค้ายุคใหม่ 


หมายเหตุ:
*จากรายงานผลประกอบการของ Meta ไตรมาสที่ 2 ปี 2022
**Discovery-Led Shopping Study โดย GFK (แบบสำรวจออนไลน์ที่สนับสนุนโดย Meta สอบถามกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 18-74 ปี มากกว่า 12,000 คนในออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย เม็กซิโก สโลวาเกีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่ 2 ปี 2022 ผู้ตอบแบบสำรวจที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ซื้อสินค้าออนไลน์อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง และได้ทำการซื้อสินค้าด้านความงาม เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และ/หรือเสื้อผ้าผ่านช่องทางออนไลน์ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ณ เวลาที่ทำการศึกษา)
***BCG & Meta Survey on Consumers and Businesses Behavior on Business Messaging (2022)​

Q10 (Consumers): Which categories of goods/services did you purchase or sign-up through any channel (online or offline) within the past 6 months? 

Q13 (Consumers): For which categories of goods/services have you engaged with businesses via chat within the past 6 months? 

Q21 (Consumers): For each category, please specify how frequently you engage with businesses via chat within the past 6 months pre-pandemic.

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X