×

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สัญญะสะท้อนแนวคิดคณะราษฎร ผ่านสมรภูมิการเมืองโชกโชน

24.06.2021
  • LOADING...
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สัญญะสะท้อนแนวคิดคณะราษฎร ผ่านสมรภูมิการเมืองโชกโชน

ย้อนไปเมื่อ พ.ศ. 2482 สมัยรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้สร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยขึ้น เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลักในการปกครองประเทศ 

 

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยตั้งตระหง่านอยู่กลางถนนราชดำเนินกลางตัดกับถนนดินสอ โดยมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 อีกทั้งยังถือเป็นหลักกิโลเมตรที่ 0 ของประเทศไทยด้วย

 

“…อนุสาวรีย์นี้จะเป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญก้าวหน้าทั้งมวล เป็นต้นว่าถนนสายต่างๆ ที่ออกจากกรุงเทพฯ ไปยังหัวเมือง ก็จะนับต้นทางจากอนุสาวรีย์นี้ ถนนราชดำเนินซึ่งเป็นแนวของอนุสาวรีย์ก็กำลังสร้างอาคารให้สง่างามเป็นที่เชิดชูเกียรติของประเทศ…” จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี กล่าวขณะทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2483

 

THE STANDARD ชวนทำความรู้จักอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อันเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงระบอบการปกครองของประเทศไทย

  • 24 เมตร ความสูงของของปีก 4 ด้าน และรัศมี หมายถึง วันที่ 24 มิถุนายน วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง
  • 75 กระบอก ปืนใหญ่โดยรอบ หมายถึง พ.ศ. 2475 ปีที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
  • 3 เมตร พานรัฐธรรมนูญตั้งบนป้อมกลางสูง หมายถึง เดือนที่ 3 คือเดือนมิถุนายนที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (เดิมการนับปีใหม่เริ่มจากเดือนเมษายนเป็นเดือนที่ 1)
  • 6 พระขรรค์ รอบป้อมกลาง หมายถึง หลัก 6 ประการของคณะราษฎร 
  • 4 ภาพดุน ภาพดุนที่ฐานปีกทั้ง 4 ด้าน หมายถึง ประวัติการดำเนินงานของคณะราษฎร ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
  • หลักกิโลเมตรที่ 0 วงเวียนบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยยังเป็นหลักกิโลเมตรที่ 0 ของทางหลวงแผ่นดินสายประธาน

 

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นส่วนหนึ่งที่คณะราษฎรใช้เพื่อแสดงออกถึงแนวคิดที่จะปลูกฝังอุดมการณ์ทางการเมืองในระบอบรัฐธรรมนูญ มีการนำพานรัฐธรรมนูญมาเป็นองค์ประกอบเด่น มีความพยายามที่จะสร้างพิธีกรรมเสริมมิติความศักดิ์สิทธิ์ให้เกิดแก่สัญลักษณ์พานรัฐธรรมนูญ เพื่อแทนที่ความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและสัญลักษณ์เดิมในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ก็ไม่อาจตีความได้แบบเหมารวมทั้งหมด เพราะสัญลักษณ์พานรัฐธรรมนูญเองก็ปรากฏอยู่ในสิ่งของเครื่องใช้ทั่วไป เช่น ที่เขี่ยบุหรี่ เป็นต้น

 

ขณะที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในยุคสมัยปัจจุบันได้ถูกใช้เป็นพื้นที่สัญลักษณ์เพื่อแสดงออกทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง มีความเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ผ่านการปรับปรุงและเข้มงวดต่อการเข้าออกพื้นที่ ปัจจุบันมีสภาพอย่างที่ปรากฏ 

 

ดู INFO ประกอบเพื่อความเข้าใจได้ที่: https://thestandard.co/89th-anniversary-democracy-monument/

 

 

อ้างอิง: พิพิธภัณฑ์รัฐสภา

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising