×

‘พังก์’ วัฒนธรรมที่รวมกลุ่มด้วยดนตรี

01.07.2017
  • LOADING...

     ‘มันคงหนักน่าดู’ โซ่ใหญ่ขนาดที่ใช้ล่ามช้างอยู่บนคอ สวมใส่เสื้อที่เต็มไปด้วยหมุดหนามเป็นร้อยๆ เม็ด ทรงผมที่ตั้งขึ้นจนทำให้กลุ่มชายเบื้องหน้าดูเหมือนสูงสัก 2 เมตร
     นี่คือการรวมตัวของชาวพังก์ วัฒนธรรมที่รวมกลุ่มจากเสียงดนตรีในคืนวันเสาร์ ณ บาร์เล็กๆ ย่านรางน้ำ มันเป็นอะไรที่โดดเด่นและอาจดูแปลกแยกในยุคนี้ สไตล์การแต่งตัวของพวกเขามันดึงดูดและมีเสน่ห์ในแบบของตัวเอง

 


     แนวเพลงพังก์เป็นวัฒนธรรมย่อย (sub culture) ที่เกิดขึ้นในช่วงยุค 1970 จากชนชั้นกรรมกร ผู้ที่ต้องการเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมของสังคม การเรียกร้องโดยการชูป้ายหรือตะโกน พลังของมันย่อมเทียบไม่ได้กับการประชาสัมพันธ์ชวนเชื่อของรัฐ
     ความเจ็บปวดจากการถูกกดขี่จึงถูกบีบอัดและยัดลงในดนตรีที่ใช้แผ่นเสียงเป็นเครื่องมือในการเรียกร้องอุดมการณ์ และมันก็สามารถรวมกลุ่มคนที่มีแนวคิดทางการเมืองร่วมกันได้มากทีเดียว ดนตรีแนวพังก์จึงเต็มไปด้วยความก้าวร้าวและแข็งกระด้าง มันจึงโคตรเหมาะที่จะเป็นเพลงปลุกระดมที่ยึดกลุ่มคนไว้ด้วยกัน และได้รับความนิยมไปทั่วโลกอยู่พักใหญ่

 


     เหมือนจะเป็นความรุนแรงของการร่วมคอนเสิร์ต มีการกระโดดเข้าหากันแบบไม่คิดชีวิตโดยที่มีหมุดหนามอยู่เต็มตัว กระแทกกัน มีคนล้มลง
     แต่หากเป็นการเต้นแบบฉันมิตร มีมือยื่นมาดึงอีกมือให้ลุกขึ้นแล้วเต้นต่อเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เป็นมิตรภาพของคนที่มีความชอบเหมือนๆ กัน เกิดการรวมกลุ่มที่แนบแน่นแบบ ‘มึงไปไหน กูไปด้วย’

 


     และถึงแม้ยุคสมัยและบทบาทของสื่อจะเปลี่ยนไป การเรียกร้องอะไรบางอย่าง การรวมกลุ่มเพื่ออุดมการณ์หรือความชอบที่สามารถใช้โลกออนไลน์เป็นเครื่องมือในการรวมกลุ่มสร้างสังคมเฉพาะได้ง่ายดาย บทบาทของพังก์ที่เป็นสัญลักษณ์ในการต่อต้านหรือแสดงจุดยืนของตนเองในทางการเมืองอาจหายไป
     แต่พังก์ก็ยังคงอยู่ในอีกบริบทที่เป็นวัฒนธรรมทางดนตรีอยู่จนถึงทุกวันนี้

 


     หากเมื่อตอนสมัยวัยรุ่น ผมเคยเปิดเพลงแนวพังก์ที่บ้าน แม่ผมตะโกนมาว่า “แม่หัวใจจะวาย” หลังจากนั้นผมก็ไม่เคยเปิดเพลงพังก์ที่บ้านอีกเลย

 

 

     ติดตามภาพบรรยากาศเพิ่มเติมได้ที่ Soul of Punk

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising