×

ศบค. เตรียมผ่อนปรนให้ร้านอาหารในห้างขายได้เฉพาะออนไลน์ ห้ามเปิดหน้าร้าน ต้องมีมาตรการระวังโรคเข้ม

โดย THE STANDARD TEAM
26.07.2021
  • LOADING...
ร้านอาหารในห้าง

วันนี้ (26 กรกฎาคม) ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สืบเนื่องจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา และที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) วันที่ 22 กรกฎาคม มีแนวนโยบายให้ฝ่ายแพทย์พิจารณาผ่อนคลายมาตรการสำหรับร้านอาหารในห้างสรรพสินค้าให้สามารถเปิดขายออนไลน์ได้นั้น ล่าสุดกระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณามาตรการจำหน่ายอาหารออนไลน์สำหรับร้านอาหารในห้างสรรพสินค้าแล้ว ซึ่งหลังจากนี้จะได้นำเสนอให้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) พิจารณาอนุญาตต่อไป 

 

ทั้งนี้ การให้มีแนวทางที่จะผ่อนคลายให้ร้านอาหารในห้างสรรพสินค้าสามารถเปิดขายออนไลน์ได้นี้ เนื่องจากรัฐบาลได้รับทราบถึงความเดือดร้อนของทั้งผู้ประกอบการและประชาชนจากการเพิ่มความเข้มงวดมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด ตามข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 28) ที่เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคมเป็นต้นมา ซึ่งการผ่อนคลายครั้งนี้ยังคงต้องอยู่ภายใต้มาตรการที่เข้มงวดและต้องการความร่วมมือจากทั้งผู้ประกอบการ ผู้ให้บริการรับส่งสินค้า และประชาชน 

 

ไตรศุลีกล่าวว่า แนวทางปฏิบัติเบื้องต้นที่จะผ่อนคลายให้กับร้านอาหารในห้างสรรพสินค้า มีดังนี้ 

 

  1. ผู้ประกอบการจัดทำมาตรการ DMHT สำหรับพนักงานทุกคน (สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ไม่รวมกลุ่ม และไม่รับประทานอาหารร่วมกัน) เดินทางมาทำงานแบบอยู่ในเส้นทางหรือพื้นที่ที่กำหนด (Sealed Route) ห้ามเปิดหน้าร้าน กรณีมีอาการทางเดินหายใจ เป็นผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อ ต้องหยุดทำงาน 

 

  1. ห้างสรรพสินค้าจัดจุดรอรับอาหาร โดยเน้นมาตรการเว้นระยะห่าง ทุกคนสวมหน้ากากอนามัย ไม่รวมกลุ่มกัน จุดรอเป็นสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่พลุกพล่าน และมีระบบ DMHTA คือการเว้นระยะห่าง สวมหน้ากาก จัดเจลล้างมือ ตรวจวัดอุณหภูมิ ใช้แอปพลิเคชันไทยชนะ/หมอชนะ 

 

  1. พนักงานรับส่งอาหารแบบออนไลน์เน้นย้ำมาตรการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เว้นระยะห่างผู้อื่น พกเจลแอลกอฮอล์ กรณีมีอาการทางเดินหายใจ เป็นผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อ ต้องหยุดทำงาน
  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising