คุณเคยถูกกลั่นแกล้งรังแกในโรงเรียนเพราะเหตุแห่งเพศไหม
จากรายงานผลการสำรวจล่าสุดเมื่อเดือนที่ผ่านมา พบว่าเด็กนักเรียนที่เป็นกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) ที่ศึกษาอยู่ในสถานศึกษาของไทยกว่า 55% เคยมีประสบการณ์ได้รับความรุนแรงทางด้านร่างกายและจิตใจเนื่องด้วยเหตุแห่งเพศ
เด็กนักเรียน LGBTIQ ในเวียดนามกว่า 44% ก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโรคหวาดกลัวคนรักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศในสังคมโรงเรียน ในขณะที่เด็กนักเรียน LGBTIQ ในญี่ปุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 10-35 ปีขึ้นไปกว่า 68% เปิดเผยว่าตนเคยได้รับความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศขณะที่เรียนอยู่ในสถานศึกษา
ในอีกหลายประเทศทั่วโลก เด็กนักเรียน LGBTIQ ก็กำลังเผชิญสภาพปัญหาเดียวกันนี้ที่สถานศึกษากลายเป็นพื้นที่ของการบูลลี่ กลั่นแกล้งรังแก ใช้ความรุนแรง และเลือกปฏิบัติ พวกเขาถูกลดทอนคุณค่าของความเป็นมนุษย์ด้วยเหตุแห่งเพศ
ในวันนี้ 17 พฤษภาคม ซึ่งตรงกับวันสากลว่าด้วยการยุติความหวาดกลัวคนรักเพศเดียวกัน (Homophobia) คนข้ามเพศ (Transphobia) และคนรักสองเพศ (Biphobia): IDAHOTB 2019 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย หรือยูเนสโก ได้เริ่มต้นกิจกรรม #ColourMeIn แคมเปญรณรงค์อย่างสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการจัดการและป้องกันความรุนแรงบนฐานของวิถีทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศภาวะ และการแสดงออกทางเพศ (Sexual Orientation and Gender Identity or Expression – SOGIE)
โดยร่วมมือกับศิลปินผู้สนับสนุนสิทธิความหลากหลายทางเพศจาก 8 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก สร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่จะเป็นกระบอกเสียงและสื่อสะท้อนว่าสถานศึกษา เช่น โรงเรียน และมหาวิทยาลัย ที่เป็นสถานที่ปลอดภัย ไม่มีการแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติต่อเด็กกลุ่ม LGBTIQ นั้นเป็นอย่างไร
นี่คือผลงานบางส่วนในแคมเปญนี้ เพื่อส่งเสริมการสร้างสังคมที่เท่าเทียมทางเพศโดยเริ่มต้นจากสถานศึกษา
Reimagining the classroom as a safe space
Photo: Upasana Agarwal / India
การอยู่ร่วมกันของสีที่หลากหลาย
Photo: Nat Natty / Thailand
Photo: Oyuna Bold / Mongolia
Photo: Cenga / Hong Kong-China
You can come out now
Photo: Maxine San Diego / Philippines
(บางส่วนของผลงาน Paper Plane)
Photo: Migo / China
(บางส่วนของผลงาน Paper Plane)
Photo: Migo / China
Through
Photo: Gontography / Mongolia
- ติดตามผลงานศิลปะชิ้นอื่นๆ ได้ที่ Facebook – UNESCO Asia-Pacific