×

“ขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยพลังงานสะอาด” เรื่องใหญ่ใกล้ตัวที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วม [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
16.12.2020
  • LOADING...
“ขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยพลังงานสะอาด” เรื่องใหญ่ใกล้ตัวที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วม [Advertorial]

HIGHLIGHTS

5 MINS. READ
  • ‘Clean Energy for Life’ โครงการรณรงค์ของ กกพ. ภายใต้กองทุนพัฒนาไฟฟ้ามาตรา 97 (5) ปี พ.ศ. 2563 มุ่งหวังสร้างการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับพลังงานสะอาด ที่จะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ที่กำหนดโดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) ในปี พ.ศ. 2558 แต่แค่การตระหนักรู้ยังไม่พอและรอไม่ได้ ถึงเวลาที่ทุกคนต้องช่วยกันสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีไปพร้อมๆ กัน
  •  พลังงานสะอาด พลังที่ทำให้องค์ประกอบการมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้ง 5 ประการ โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสมบูรณ์ขึ้น ไม่ว่าจะมาจากพลังเเสงอาทิตย์ พลังงานขยะ พลังงานชีวภาพและพลังงานชีวมวล พลังงานลม รวมไปถึงพลังงานจากน้ำ
  • ประเทศไทยได้มีการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้ามานานแล้ว และยังส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่โรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา ลดภาระค่าใช้จ่ายในเรื่องของค่าไฟ และนำส่วนต่างมาซื้ออุปกรณ์ทางแพทย์ ปรับปรุงความสะดวกในโรงพยาบาลเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ดี

พลังงานสะอาดกับชีวิตคนเมืองดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว เมื่อชีวิตคนเมืองยังต้องการเข้าถึงอุปกรณ์ที่พึ่งพาพลังงานไฟฟ้า และยิ่งในเมืองที่มีประชากรหนาแน่น ความต้องการไฟฟ้ายิ่งเพิ่มสูงขึ้น ก็ยิ่งดูเป็นเรื่องไกลตัวเกินกว่าจะหาอะไรมาทดแทนได้

 

แต่ใช่ว่าพลังงานสะอาดกับชีวิตเมืองจะเป็นไปไม่ได้ ดูอย่างเมือง Fujisawa Sustainable Smart Town ประเทศญี่ปุ่น เมืองที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อนำร่องสู่เมืองอัจฉริยะ และเป็นต้นแบบเมืองแห่งอนาคต มีการบริหารจัดการทรัพยากรของเมืองให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการใช้พลังงาน และลดคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยการติด Solar Rooftop ให้กับบ้านทุกหลัง รวมทั้งติดตั้งแบตเตอรี่เก็บพลังงานไฟฟ้า เชื่อมต่อกันเป็นโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ หรือ Smart Grid ที่สามารถผลิตไฟฟ้าที่เพียงพอต่อการใช้งานจริง 

 

เมืองที่ปราศจากมลพิษ ทุกคนสามารถสูดอากาศบริสุทธิ์ได้เต็มปอด คุณภาพชีวิตที่ดีเช่นนี้ ล้วนเป็นผลพวงจากการหันมาใช้พลังงานสะอาด

 

 

เมือง Fujisawa Sustainable Smart Town ประเทศญี่ปุ่น

 

บ้านทุกหลังและภายในเมือง Fujisawa Sustainable Smart Town ติดตั้ง Solar Rooftop

 

โครงการ ‘Clean Energy for Life’ โดย กกพ. (กำกับกิจการพลังงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และส่งเสริมการแข่งขันที่เหมาะสมเป็นธรรม) ภายใต้กองทุนพัฒนาไฟฟ้ามาตรา 97 (5) ปี พ.ศ. 2563 มุ่งหวังสร้างการตระหนักรับรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกันและมีทัศนคติที่ดี เพื่อให้ประชาชนทั้งผู้ใช้และผู้ผลิตไฟฟ้าเข้ามามีส่วนร่วมด้านพลังงาน นำไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือ ใช้พลังงานสะอาดเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน

 

เป็นอีกหนึ่งโครงการที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดการใช้พลังงานสะอาดในทุกภาคส่วน เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ที่กำหนดโดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) ในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งมีทั้งหมด 17 เป้าหมาย และในเป้าหมายที่ 7 หรือ Affordable and Clean Energy คือการสร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม สอดคล้องกับพลังงานสะอาด หรือ Clean Energy ที่หมายถึงพลังงานไฟฟ้าทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพลังงานจากแหล่งเชื้อเพลิงชนิดใดก็ตามที่ผลิตและใช้อยู่ในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้ประชาชนสามารถวางใจและมั่นใจได้ว่า พลังงานไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเป็นพลังงานสะอาด จากการที่ กกพ. เป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมกำกับดูแลกิจการพลังงานทั้งหมดอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสมดุล มีมาตรฐาน ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ภายใต้วิสัยทัศน์ของ กกพ. สามารถสร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้สูงสุด

 

ถึงแม้เป้าหมายระยะไกลของ SDGs ในเป้าหมายที่ 7 ที่มุ่งสร้างหลักประกันว่าทุกคนต้องเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ในราคาที่สามารถซื้อหาได้ เชื่อถือได้ และยั่งยืน ต้องสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2573 หรืออีก 10 ปีต่อจากนี้ ดูเหมือนยังมีเวลาอีกมาก แต่ 10 ปีสำหรับการเปลี่ยนแปลงให้ครบทุกมิติ ไปจนถึงการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติยังถือว่าน้อยเกินไป พลังของคนที่ร่วมกันลงมือสร้างความเปลี่ยนแปลงก็ยังไม่เพียงพอ และคงรอให้ทุกฝ่ายพร้อมใจกันลงมือทำไม่ได้ เราจึงเห็นบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรบางแห่งที่ตระหนักถึงความสำคัญของพลังงานสะอาด และลุกขึ้นมาสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เห็นเป็นแบบอย่าง

 

ขอยกกรณีศึกษาโรงพยาบาลที่หันมาติดตั้งโซลาร์เซลล์ เมื่อพลังงานสะอาดอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ ด้วยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ จะส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้อย่างไร เมื่อพูดถึงเรื่องแก่นความยั่งยืนด้านสาธารณสุข โรงพยาบาลถูกจัดให้เป็นสถานที่ที่ประชาชนควรจะได้รับบริการสาธารสุขที่ดี มีบริการที่ครอบคลุม กำลังคนที่เพียงพอ เทคโนโลยีการแพทย์ที่ครบครัน เครื่องมือแพทย์ ยา เวชภัณฑ์ ปัจจุบันประเทศไทยยังมีโรงพยาบาลอีกหลายแห่งที่ขาดบริการสาธารณสุขที่ดี ปลายเหตุคือค่าใช้จ่ายที่ไม่เพียงพอที่จะนำมาพัฒนาบริการสาธารณสุขที่ดี การติดดั้งโซลาร์เซลล์ในโรงพยาบาล ระยะยาวจะช่วยลดภาระค่าไฟฟ้า เงินส่วนนี้สามารถนำมาซื้อเครื่องมือแพทย์ และปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโรงพยาบาลได้ สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นประโยชน์แก่ผู้มาใช้บริการที่จะได้รับการดูแลด้วยเครื่องมือแพทย์ที่ครบครัน และความสะดวกสบายอื่นๆ เมื่อมาใช้บริการโรงพยาบาล ในขณะที่โรงพยาบาลเองก็สามารถบริหารจัดการงบประมาณจากการลดต้นทุนโดยไม่ต้องรองบจากรัฐบาลทุกครั้ง   

 

 

 

พลังของการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อย ยังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในมิติความยั่งยืนด้านสิ่งเเวดล้อม ด้วยการพัฒนาสังคมและสภาพความเป็นอยู่ สร้างความตระหนักรู้ให้แก่ทุกองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ถึงผลระยะยาวหากติดตั้งโซลาร์เซลล์ อาทิ บริษัทเอกชน โรงเรียน วัด หรือที่พักอาศัย การร่วมกันลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตกระแสไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซ เเละอื่นๆ เท่ากับลดการทำลายสิ่งแวดล้อมอีกทาง ในขณะที่พลังงานสะอาดจากโซลาร์เซลล์เป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมดและคุ้มค่า ติดตั้งครั้งเดียวอยู่ได้นานกว่า 20 ปี และ มิติความยั่งยืนด้านสังคม การติดตั้งโซลาร์เซลล์ในชุมชนทำให้เกิดอาชีพใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ช่างโซลาร์เซลล์ หรือแม้แต่ไฟฟ้าที่เหลือจากการผลิตโซลาร์เซลล์ก็สามารถขายคืนได้ ทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในสังคม เป็น Clean Energy Economy ได้ในอนาคต

 

 

ประเทศไทยมีการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตเป็นพลังงานสะอาด โดยเฉพาะโซลาร์เซลล์มานานแล้ว และจริงๆ ประเทศไทยยังขึ้นชื่อว่ามีศักยภาพด้านการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ ตอบโจทย์พลังงานสะอาดนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีในหลายโครงการ อาทิ การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ที่โรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา ใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดภาระค่าไฟฟ้า ควบคู่ไปกับมาตรการอื่นๆ เช่น มาตรการเปลี่ยนหลอดไฟและเครื่องปรับอากาศ มาตรการปรับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าในโรงพยาบาล เพื่อให้โรงพยาบาลเป็นต้นแบบโรงพยาบาลโซลาร์เซลล์ที่สมบูรณ์แบบ และสามารถนำงบประมาณที่ประหยัดได้ไปใช้พัฒนาระบบบริการและการรักษาผู้ป่วยต่อไป ค่าไฟก่อนติดตั้งในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2559 สูงถึง 163,488 บาท แต่หลังจากติดตั้งโซลาร์เซลล์ ค่าไฟเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2560 เหลือ 108,751 บาท ซึ่งปัจจุบันโรงพยาบาลจะนะดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์ขนาด 72 กิโลวัตต์ สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ประมาณเดือนละ 32,000 บาท ควบคู่ไปกับมาตรการอื่นๆ เช่น การเปลี่ยนมาใช้หลอด LED ติดฟิล์มอาคาร เหลื่อมเวลาการใช้ไฟ จึงลดค่าไฟได้นับล้านบาทต่อปี

 

โรงพยาบาลหลายแห่งประสบปัญหาค่าใช้จ่ายกระแสไฟฟ้าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ในโรงพยาบาล จะคุ้มทุนภายในระยะเวลา 5 ปี และลดผลกระทบจากวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ในระยะยาว โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ​ ณ​ อำเภอนาทวี เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของโรงพยาบาลที่ติดตั้งแผงโซลาร์ไปแล้ว 2 ครั้ง และกำลังทยอยติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์รอบที่​ 3  

 

 

การเริ่มต้นผลัดเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดของโรงพยาบาลต่างๆ ไม่เพียงแต่จะเป็นต้นแบบที่ดีให้กับองค์กรอื่นๆ ได้เห็นถึงผลดีในระยะยาว ทั้งเรื่องค่าไฟที่ลดลง การนำเงินส่วนต่างมาใช้พัฒนาด้านอื่นๆ ยังสามารถทำให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น นี่แค่การเปลี่ยนแปลงจากพลังงานโซลาร์เซลล์เพียงอย่างเดียว ถ้าในอนาคตประเทศไทยสามารถผลิตพลังงานสะอาดได้มากขึ้น และเราทุกคนพร้อมใจกันเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนย่อมเกิดขึ้นได้จริง 

 

คุณเองก็ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในพลังขับเคลื่อนให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี จากสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น โดยการใช้และผลิตพลังงานสะอาดได้ ด้วยการร่วมสนับสนุนติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ให้โรงพยาบาลทั่วประเทศทั้ง 77 จังหวัด ผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขากระทรวงสาธารณสุข ‘มูลนิธิแพทย์ชนบทเพื่อไฟจากฟ้า’ เลขที่ 142-0-28997-7

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising