×

นโยบายลูกคนที่ 2 ไม่ได้ผล อัตราการเกิดลดลงเรื่อยๆ ผู้เชี่ยวชาญคาดหลังปี 2050 ประชากรของจีนจะลดลง 10 ล้านคนต่อปี

15.10.2023
  • LOADING...
ผู้ชายอุ้มเด็กทารก

ครอบครัวชาวจีนที่ให้กำเนิดลูกคนที่ 2 ในปีที่แล้วจำนวนลดน้อยลง ซึ่งนี่เป็นการส่งสัญญาณถึงผลกระทบที่ค่อยๆ หายไปจากนโยบายลูกสองคนของจีนที่ริเริ่มในปี 2016

 

คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติของแดนมังกรระบุว่า ปี 2022 มีทารกเกิดในจีนทั้งหมด 9.56 ล้านคน ซึ่งลดลง 10% จากปีที่แล้ว และคาดว่าอัตราการเกิดจะลดลงต่อไป แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามเปลี่ยนจากข้อจำกัดการเกิดมาเป็นการส่งเสริมให้คู่รักทุกคู่มีลูก 3 คนก็ตาม

 

He Yafu นักประชากรศาสตร์ระบุว่า จำนวนบุตรคนที่ 1, 2 และ 3 ทั้งหมดลดลงเมื่อเทียบกับปี 2021 สะท้อนถึงจำนวนสตรีวัยเจริญพันธุ์และอัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลง

 

ในช่วง 2-3 ปีแรก หลังปี 2016 เมื่อนโยบายลูกสองคนถูกนำมาใช้อย่างเต็มที่ ผลกระทบจากการสั่งห้ามก่อนหน้านี้ได้ผลักดันอัตราส่วนของทารกคนที่ 2 ให้สูงขึ้น แต่ผลกระทบดังกล่าวเริ่มจางหายไปในปี 2018 เมื่ออัตราส่วนลูกคนที่ 2 ลดลง และจำนวนลูกคนแรกเพิ่มขึ้น

 

ปีที่แล้วนับเป็นครั้งแรกที่มีการบันทึกว่าจำนวนทารกแรกเกิดลดลงต่ำกว่า 10 ล้านคน และน้อยกว่าจำนวนผู้เสียชีวิต จำนวนประชากรของจีนก็ลดลงในปี 2022 เป็นครั้งแรกในรอบ 60 ปี จนแดนมังกรต้องเสียตำแหน่งที่มีมายาวนานในฐานะประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกให้กับอินเดีย

 

Chen Wei ศาสตราจารย์จากศูนย์การศึกษาประชากรและการพัฒนา มหาวิทยาลัยเหรินหมินแห่งประเทศจีน กล่าวว่า เหตุผลหนึ่งที่ทำให้อัตราการเจริญพันธุ์ลดลงก็คือ จำนวนสตรีวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990 ลดลงอย่างมากจากรุ่นพ่อแม่ อันเป็นผลมาจากนโยบายลูกคนเดียว

 

นักประชากรศาสตร์หลายคนกล่าวว่า จำนวนประชากรของจีนถึงจุดสูงสุดแล้ว และการเติบโตของจำนวนประชากรติดลบเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คาดการณ์ในการศึกษาพบว่า จำนวนประชากรของจีนจะลดลง 10 ล้านคนต่อปีหลังจากปี 2050

 

นักวิชาการตั้งข้อสังเกตว่า นโยบาย บรรทัดฐานทางสังคม และประเพณีของครอบครัวของจีนหลายอย่าง เกิดขึ้นเมื่อประชากรมีอัตราการเจริญพันธุ์สูงและมีโครงสร้างที่ค่อนข้างใหม่ นโยบายเหล่านี้ไม่ได้รับการปรับให้เข้ากับแนวโน้มการพัฒนาประชากรในปัจจุบันและอนาคต และจำเป็นต้องได้รับการปรับเปลี่ยนและเปลี่ยนแปลงอย่างทันท่วงที

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X