×

เทคโนโลยี CCS และพลังงานไฮโดรเจน: กลยุทธ์พลังงานแห่งอนาคตสู่โอกาสที่ยั่งยืนจาก ปตท. [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
27.12.2024
  • LOADING...
ปตท. พลังงานไฮโดรเจน

HIGHLIGHTS

5 min read
  • ตั้งแต่ปี 2000-2024 โลกมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับโลกเพิ่มขึ้น 46% การใช้พลังงานต่อหัวเพิ่มขึ้น 20%
  • ก๊าซธรรมชาติจะเป็น Transition Fuel ในการปรับเปลี่ยนจากการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่พลังงานสะอาด
  • เทคโนโลยี CCS และพลังงานไฮโดรเจน เป็นโอกาสที่จะช่วยส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านพลังงานไปพร้อมกับการสร้างการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ปตท. ดำเนินธุรกิจผ่านแนวทาง C3: Climate-Resilience Business, Carbon Conscious Asset และ Coalition, Co-Creation, and Collective Efforts for All

รูปแบบการใช้พลังงานของโลกในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คำถามที่เกิดจากทุกภาคส่วนคือ ‘อะไรคือสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมเพื่อรับมือ’

 

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

 

คำตอบนี้จะตอบโดย ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ผู้เป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติ และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานมาอย่างยาวนาน ใน Global Energy Transition: Pathway towards Sustainable Future พลังงานเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

 

ไล่กวดเมกะเทรนด์โลกที่ส่งผลต่อโลกพลังงานสะอาด

 

เมกะเทรนด์มากมายกำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้เรา ทั้งสังคมผู้สูงอายุ การขยายตัวของเมือง เทคโนโลยี รวมถึงวิกฤตสภาพอากาศ และการเปลี่ยนผ่านพลังงานไปสู่ความยั่งยืน แม้กระทั่งปัจจัยภายนอกทั้งภูมิรัฐศาสตร์ ภาวะเศรษฐกิจถดถอย กฎระเบียบโลกเปลี่ยนแปลง และการเคลื่อนย้ายฐานการผลิต

 

ปตท. พลังงานไฮโดรเจน

ดร.คงกระพัน กล่าวในงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 

 

ทั้งหมดล้วนส่งผลกระทบเรื่อง ‘พลังงาน’ ที่ ดร.คงกระพัน กล่าวในงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 โดยฉายภาพว่าทั่วโลกมีความต้องการใช้พลังงานที่สูงขึ้น และส่งผลกระทบคือ

 

  • การปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับโลกเพิ่มขึ้น 46% ตั้งแต่ปี 2000 จาก 36 GtCO₂e เพิ่มเป็น 53 GtCO₂e ในปี 2023
  • การใช้พลังงานต่อหัวเพิ่มขึ้น 20% ตั้งแต่ปี 2000 จาก 18 MWh เพิ่มเป็น 21.4 MWh ในปี 2023

 

ก๊าซธรรมชาติคือกุญแจการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด

 

ความจำเป็นในการเปลี่ยนผ่านพลังงานคือสิ่งจำเป็น อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนผ่านไม่ใช่เรื่องที่ทำได้เพียงชั่วเดือน ดร.คงกระพันกล่าวว่า ก๊าซธรรมชาติ (NG) จะเป็น Transition Fuel หรือพลังงานที่ใช้ในการเปลี่ยนผ่าน ในการปรับเปลี่ยนจากการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ก่อให้เกิดมลพิษสูง เช่น ถ่านหินและน้ำมัน ไปสู่แหล่งพลังงานสะอาดที่กำลังจะเพิ่มขึ้นเป็น 17% ของการใช้พลังงานทั่วโลกภายในปี 2050

 

ก๊าซธรรมชาติเป็นกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนผ่าน

 

ก๊าซธรรมชาติจะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยในการเปลี่ยนผ่านพลังงานให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น ภายใต้ข้อจำกัดในการเปลี่ยนผ่านที่ยังคงดำเนินการควบคู่ไปกับการลดคาร์บอน ปัจจุบัน ปตท. มีความพยายามอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าเป็นกระบวนการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage: CCS) พลังงานไฮโดรเจน และการปลูกป่าทดแทน

 

พลังงานไฮโดรเจนและ CSS โอกาสของพลังงานสะอาด

 

การสร้างสมดุลความยั่งยืนในด้าน ESG ควบคู่ไปกับการลดก๊าซเรือนกระจก และลดการปลดปล่อยคาร์บอนภายในประเทศเป็นเรื่องเร่งด่วน นอกจากนี้ยังเป็น ‘โอกาส’ ของประเทศในการจะสร้างแต้มต่อจากพลังงานไฮโดรเจนและเทคโนโลยี CCS

 

โครงการเทคโนโลยี CCS มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั่วโลก โดยในปี 2023 มีโรงงานและฐานโครงการเทคโนโลยี CCS ทั่วโลกโดยส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปดังนี้ 

 

  • 41 แห่งที่ดำเนินการ CCS ไปแล้ว 
  • 26 แห่งที่กำลังเริ่มสร้างโครงการ 
  • 325 แห่งที่กำลังอยู่ในกระบวนการพัฒนาโครงการ

 

ส่วนโครงการที่เกี่ยวข้องกับไฮโดรเจนมีการกระจายอยู่ทั่วโลกทุกทวีป ในปี 2023 มีจำนวนดังนี้

 

  • 166 แห่งเป็นโครงการขนาดการผลิตขนาดใหญ่มาก (Giga Scale) 
  • 719 แห่งเป็นโครงการขนาดใหญ่
  • 149 แห่งที่โครงการนำไปปรับใช้ในเศรษฐกิจไฮโดรเจนแล้ว
  • 126 แห่งที่มีโครงสร้างที่สนับสนุนการผลิตไฮโดรเจนอีก

 

ไฮโดรเจนเป็นพลังงานที่มีคุณสมบัติที่ไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) หรือสารมลพิษอื่นๆ สามารถนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมได้หลายประเภท เช่น การผลิตไฟฟ้า การขนส่ง และอุตสาหกรรมหนัก

 

ไฮโดรเจน พลังงานสะอาดแห่งอนาคต

 

กระบวนการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCS) เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อดักจับและเก็บกักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล รวมถึงก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในกระบวนการผลิตพลังงานและอุตสาหกรรม CCS ทำให้สามารถลดการปล่อย CO₂ สู่อากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยก๊าซที่ถูกดักจับจะถูกนำไปเก็บในชั้นหินใต้ดินที่มีความปลอดภัย

 

กระบวนการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCS) เทคโนโลยีเพื่อการผลิตพลังงานสะอาด

 

ทั้งสองเป็นโอกาสสำหรับกลุ่ม ปตท. และประเทศไทยที่จะเป็นก้าวสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและคาร์บอน เฟรมเวิร์กการดำเนินการด้านพลังงานทั้งสองสิ่งนี้คือ

 

  • ฟากของ CSS แต่ละหน่วยงานจะต้องกำหนดความต้องการ CSS ในแต่ละหน่วยงานหรือองค์กรในการดำเนินการเพื่อลงทุนในด้านเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานอย่างถูกต้อง พร้อมด้วยการทำงานร่วมกับภาครัฐในการปลดล็อกกฎเกณฑ์ และส่งเสริมเทคโนโลยีด้านกักเก็บ 

 

แต่ละหน่วยงานต้องกำหนดความต้องการ CCS

 

  • ฟากของไฮโดรเจนจะต้องเริ่มคัดเลือกในการหาบลูไฮโดรเจน (ไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำ) และกรีนแอมโมเนียมาใช้ภายในประเทศก่อน และทำโมเดลในการศึกษาและผลิตภายนอกประเทศ ก่อนจะขยับเข้ามาในประเทศเมื่อความเป็นไปได้สูงขึ้น ลงทุนในด้านโครงสร้างการผลิตและโครงสร้างพื้นฐานการนำเข้า ร่วมมือกับภาครัฐในการผลักดันการใช้พลังงานไฮโดรเจน ก่อนจะต่อยอดไปสู่การใช้จริงหรือสร้างโมเดลธุรกิจต่อมา

 

สมดุลพลังงานสะอาดระหว่างการเติบโตและความยั่งยืนของธุรกิจ

 

การเปลี่ยนผ่านพลังงานของ ปตท. เป็นภารกิจสำคัญในฐานะที่เป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติ ในการดำเนินธุรกิจและดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุลและยั่งยืน ภายใต้วิสัยทัศน์ ปตท. แข็งแรงร่วมกับสังคมไทยและเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

 

ปตท. พลังงานไฮโดรเจน

ปตท. แข็งแรงร่วมกับสังคมไทยและเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

 

ภารกิจและวิสัยทัศน์ผลักดันให้กลุ่ม ปตท. กำหนดกลยุทธ์ในการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน พร้อมกับสร้างสมดุลของการเจริญเติบโตของธุรกิจ และบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปพร้อมๆ กัน ในเสาหลักของธุรกิจจะต้องเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจที่มีอยู่ ทั้งธุรกิจไฮโดรคาร์บอนตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

 

ในเสาหลักของการมุ่งสู่คาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ด้วยการมุ่งสู่โอกาส ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกระบวนการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และพลังงานไฮโดรเจน นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสการเปลี่ยนผ่านธุรกิจเดิมไปสู่ธุรกิจใหม่ด้านความยั่งยืนในระดับองค์กร บุคลากร และการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนได้อย่างราบรื่น

 

C3 กลยุทธ์ความยั่งยืนที่พาธุรกิจเติบโต

 

คงกระพันกล่าวว่า กลุ่ม ปตท. มีเสาหลักกลยุทธ์เติบโตอยู่ 3 เสาหลักที่จะเป็นแนวทางขับเคลื่อนและเสริมธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน คือ C3: Climate-Resilience Business, Carbon Conscious Asset และ Coalition, Co-Creation, and Collective Efforts for All

 

ปตท. เติบโตอย่างยั่งยืนด้วยกลยุทธ์ C3

 

  1. Climate-Resilience Business การปรับธุรกิจภายในกลุ่มบริษัทเพื่อให้มีความยืดหยุ่นและลดการปล่อยคาร์บอน

 

a. การใช้ก๊าซธรรมชาติและ LNG ในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านจากพลังงานถ่านหินสู่ธุรกิจพลังงานสะอาด

b. การเปลี่ยนผ่านพอร์ตโฟลิโอธุรกิจไปสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ ทั้งการลงทุนในธุรกิจไฮโดรเจนระดับโลก การสนับสนุนให้เขตตะวันออกไทยเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยี CCS การขยายสถานีชาร์จประจุยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น

c. การสร้างความหลากหลายให้ธุรกิจ ทั้งการทำดำเนินธุรกิจค้าปลีกด้านไลฟ์สไตล์ ธุรกิจไบโอเจ็ตและไบโอเอทานอล ธุรกิจการจัดการของเสีย เพื่อส่งเสริมความยืดหยุ่นของธุรกิจโดยรวม

 

  1. Carbon Conscious Asset การปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต

 

a. การพัฒนาประสิทธิภาพและการดำเนินงานของธุรกิจ

b. เพิ่มการใช้พลังงานสะอาดทั้งพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม

c. ปรับใช้เทคโนโลยีอันก้าวหน้าในกลุ่มธุรกิจทั้งด้านพลังงานไฮโดรเจน และเทคโนโลยี CCS รวมไปถึง Carbon Capture and Utilisation (CCU) และพลังงานนิวเคลียร์ Small Modular Reactor (SMR)

d. ธุรกิจใบรับรองเพื่อส่งเสริมการผลิตและการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน หรือ RECs ผ่านแพลตฟอร์มซื้อขาย ReAcc 

 

  1. Coalition, Co-Creation, and Collective Efforts for All การร่วมมือของบริษัทในกลุ่มในการขับเคลื่อนการมุ่งสู่ความยั่งยืน

 

a. กระบวนการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยดำเนินการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านบริษัทในกลุ่ม ปตท. ก่อนจะนำจัดส่งทางท่อนำส่ง ขนส่งทางบกและนำไปสู่ที่จัดเก็บ

b. ตั้งเป้าหมายการปลูกป่าทดแทนของกลุ่ม ปตท. ที่ 1 ล้านไร่ทั่วประเทศ

 

ปตท. มีวิสัยทัศน์ในการเปลี่ยนผ่านพลังงานดั้งเดิมไปสู่พลังงานยั่งยืน แต่กระนั้นความจริงที่ว่าหลายสิ่งยังมีข้อจำกัดคือสิ่งที่เราต้องเรียนรู้ เพื่อค้นหาโอกาสและแนวทางที่จะผลักดันการเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นได้จริงและมีความยั่งยืน ปตท. ยังคงมุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางพลังงาน สร้างการเติบโตควบคู่ไปกับการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อสังคมไทยในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติต่อไป

 

ปตท. มุ่งเติบโตและเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างยั่งยืน

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X