นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าธนาคารกลางอังกฤษน่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 8 ติดต่อกัน โดยขึ้นอีก 0.75% ในการประชุมวันพฤหัสบดีนี้ นับเป็นการขึ้นที่รุนแรงสุดในรอบ 33 ปี เหตุอัตราเงินเฟ้อพุ่งแตะระดับ 10.1% ในเดือนกันยายน สูงสุดในรอบ 40 ปีอีกครั้ง
ตลาดพากันคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) จะปรับขึ้นดอกเบี้ยในอัตรา 0.75% ในวันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน ซึ่งจะถือเป็นการปรับขึ้นครั้งใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่ปี 1989 หรือในรอบ 33 ปี อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์หลายคนเชื่อว่า ผู้กำหนดนโยบายของ BOE จะส่งสัญญาณประนีประนอมและผ่อนคลายมากขึ้น (Dovish) เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ ท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจถดถอยจะรุนแรงขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- รายงานชี้ Fed ขึ้นดอกเบี้ยไม่ช่วยสกัดเงินเฟ้อ ตราบใดที่การใช้จ่ายภาครัฐยังอยู่ในระดับสูง
- วิเคราะห์ 5 สัญญาณ บ่งชี้ เงินเฟ้อ โลกใกล้ถึงจุดพีค
- เศรษฐกิจสหรัฐฯ ‘หดตัว’ สองไตรมาสต่อเนื่อง เข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค ขณะที่ NBER ยังไม่ประกาศอย่างเป็นทางการ
การคาดการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหลัง ริชี ซูนัค นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ยกเลิกแผนการลดภาษี ซึ่งเป็นนโยบายการคลังหลักของลิซ ทรัสส์ ผู้นำอังกฤษคนก่อน ที่ทำให้ตลาดการเงินอังกฤษปั่นป่วน
โดยการประกาศยกเลิกแผนลดภาษีของซูนัคหมายความว่า นโยบายการคลังและการเงินของอังกฤษจะไม่ถูกดึงให้แยกไปคนละทางอีกต่อไป เป็นการช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดในตลาดการเงิน และอาจช่วยให้คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ (MPC) ไม่ต้องรับมือกับผลกระทบด้านเงินเฟ้อเพิ่มเติมจากนโยบายของรัฐบาลอีกต่อไป
โดยเมื่อวันจันทร์ นักเศรษฐศาสตร์จาก Goldman Sachs ได้ปรับลดประมาณการ GDP ของสหราชอาณาจักรในปีหน้าลงเหลือติดลบ 1.4% โดยอ้างว่า แนวโน้มโครงการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสำหรับครัวเรือนและธุรกิจภายใต้การนำของซูนัคน่าจะลดลง
นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ของ Goldman Sachs ยังระบุว่า เห็นแรงกดดันน้อยลงสำหรับ BOE ที่จะต้องดำเนินการอย่างเข้มงวดในการประชุมครั้งหน้า แต่ยังคงเชื่อว่า BOE จะคงขึ้นดอกเบี้ยในอัตรา 0.75% แต่การลงคะแนนคาดว่าจะไม่เป็นเอกฉันท์ และมีโอกาสเพิ่มขึ้นอีก 0.50% ในเดือนธันวาคม
สอดคล้องกับ Deutsche Bank ก็คาดว่า MPC จะไม่ลงมติปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% อย่างเอกฉันท์เช่นกัน
โดย Sanjay Raja หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สหราชอาณาจักรของ Deutsche Bank ยังตั้งข้อสังเกตอีกว่า BOE มีข้อจำกัดในการคุมเข้มนโยบายการเงิน โดยชี้ว่า หากอัตราดอกเบี้ยของ BOE ขึ้นไปอยู่ที่ 5% ในที่สุดตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ จะทำให้เกิดความตึงเครียดในงบดุลครัวเรือนและธุรกิจที่กำลังมีปัญหาอยู่แล้ว
ขณะนี้ Deutsche Bank คาดว่าอัตราดอกเบี้ยของ BOE จะแตะระดับ 4.5% ภายในเดือนพฤษภาคมปีหน้า ลดลงจากที่คาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ 4.75% อันเนื่องมาจากการกลับลำของนโยบายการคลัง และการดำเนินนโยบายที่สอดคล้องกันมากขึ้น
อ้างอิง: