×

บล.กสิกรฯ มอง Q1/63 เศรษฐกิจไทยเสี่ยงติดลบ หลังเผชิญหลายปัจจัยกดดัน

โดย efinanceThai
17.02.2020
  • LOADING...

บล.กสิกรไทย ประเมินเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1/63 มีโอกาสติดลบ หลังเจอปัจจัยกดดันทั้งงบปี 2563 ล่าช้า การระบาดของไวรัสและภัยแล้ง จับตาไตรมาส 2/63 หากติดลบต่ออีก หวั่นเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่เชื่อรัฐบาลเร่งออกมาตรการกระตุ้น

 

สรพล วีระเมธีกุล ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย ให้สัมภาษณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์ เชื่อเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1/63 มีโอกาสติดลบจากไตรมาส 4/62 ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประกาศเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4/62 ขยายตัว 1.6% ซึ่งมาจากการใช้จ่ายภาครัฐ เอกชน และการส่งออก แต่ที่มองว่าเศรษฐกิจไทยที่ลดลงมาจากปัจจัยเฉพาะตัว หลังจาก พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายปี 2563 ต้องเลื่อนใช้ ทำให้การใช้จ่ายภาครัฐลดลง

  

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะมีโอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยเชิงเทคนิค (Technical Recession) แต่ยอมรับว่าไตรมาส 1/63 มีโอกาสติดลบ และต้องรอดูตัวเลขไตรมาส 2/63 ที่ชัดเจน แต่เชื่อว่ารัฐบาลคงเร่งออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา

  

“มีคำถามว่ามีโอกาสที่ไทยจะเกิดเทคนิเคิลรีเซสชันหรือไม่ เหมือนประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคหรือไม่ เพราะเศรษฐกิจไทยต่ำกว่า 2% เรียบร้อยแล้ว และต่ำสุดรอบ 21 ไตรมาส และไตรมาส 1/63 อาจต่ำกว่าไตรมาส 4 ปีที่แล้ว มีโอกาสติดลบ และต้องไปดูว่าไตรมาส 2/63 จะติดลบหรือไม่ และถ้าตอบไม่ได้และทรุดตัว มีโอกาสเกิด มีแน่นอน แต่เชื่อว่ารัฐบาลจะออกหลายๆ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ”

  

ทั้งนี้ยอมรับว่าปัจจัยที่รัฐบาลสามารถจัดการได้คือการเร่งใช้ พ.ร.บ. งบประมาณปี 2563 แต่มีประเด็นกดดันเศรษฐกิจเกี่ยวกับการระบาดของ COVID-16 และภัยแล้ง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ดังนั้นไตรมาส 2/63 จำเป็นที่รัฐบาลต้องเร่งผ่าน พ.ร.บ.  เพื่อเร่งการใช้จ่ายภาครัฐและกระตุ้นบริโภค

  

พร้อมแนะนำให้จับตาหุ้น 2 กลุ่มน่าลงทุนคือกลุ่มค้าปลีกและไอซีที หลังคลายแรงกดดันจากภาวะ Overhang ไปมากแล้ว ซึ่งมองว่ามีนาคม 2563 จะเริ่มมีเงินไหลเข้าหุ้นกลุมนี้ หุ้นน่าสนใจกลุ่มค้าปลีกคือ CPALL แต่อาจต้องรอผลประมูลเทสโก้, HMPRO, CPN

 

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

เรียบเรียง: จารุวรรณ เอี่ยมยิ่งพานิช 

ติดตามข่าวสารการลงทุนเพิ่มเติมได้ที่: www.efinancethai.com

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X