×

JPMorgan ประเมินต้นทุนการขุด Bitcoin ลดลงจาก 50,000 ดอลลาร์ เหลือ 45,000 ดอลลาร์

20.05.2024
  • LOADING...

จากรายงานในช่วงสัปดาห์ก่อน (16 พฤษภาคม) ของ JPMorgan สถาบันการเงินชั้นนำของโลก เผยว่า ด้วยค่า Hashrate (ความยากในการขุด Bitcoin) และพลังงานที่ใช้ในปัจจุบัน จะทำให้ต้นทุนการขุด Bitcoin อยู่ที่ราว 45,000 ดอลลาร์ต่อ BTC ลดลงจาก 50,000 ดอลลาร์ต่อ BTC ในช่วงก่อนหน้านี้

 

สาเหตุสำคัญเป็นเพราะหลังเหตุการณ์ Halving ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทำให้ผลตอบแทนของ Bitcoin ต่อบล็อกลดลงไป 50% กดดันเหล่านักขุดที่ไม่สามารถทำกำไรต้องเลิกจากธุรกิจขุด Bitcoin ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องให้ค่า Hashrate ลดต่ำลง

 

แต่สถานการณ์ Hashrate ที่ลดลงในตอนนี้มีความล่าช้าไปบ้าง เนื่องจากการเกิดขึ้นของ Runes Protocol บนเครือข่าย ส่งผลให้ค่าธรรมเนียมธุรกรรมดีดขึ้นชั่วคราว

 

Nikolaos Panigirtzoglou นักกลยุทธ์จาก JPMorgan ชี้ว่า การดีดขึ้นของค่าธรรมเนียมธุรกรรมทำให้รายได้ของนักขุดเพิ่มขึ้นชั่วคราว เพื่อมาทดแทนผลตอบแทนจากการขุดที่ลดลง ทำให้รายได้ของเหล่านักขุดยังดูเหมือนไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป

 

อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของค่าธรรมเนียมจาก Runes Protocol เป็นเหตุการณ์ระยะสั้น หลังจากที่ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมากิจกรรมของนักลงทุนและค่าธรรมเนียมบนเครือข่ายก็ลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาที่ท้าทายสำหรับนักขุด เพื่อที่จะสามารถรักษาระดับรายได้ให้คงเดิมในสภาวะแวดล้อมหลังการ Halving

 

รายงานของ JPMorgan ยังชี้ว่า ตัวเลขการใช้พลังงานในการขุด Bitcoin ลดลงเร็วแซงหน้าอัตราการลดลงของ Hashrate หลังกระแสของ Runes Protocol หดหายไป สะท้อนให้เห็นว่านักขุดที่ไม่สามารถรักษารายได้ไว้ได้กำลังออกจากตลาดนี้ไปเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

 

ไม่เพียงเท่านั้น ยิ่งราคา Bitcoin ปรับลดลงก็ยิ่งส่งผลต่อรายได้ของนักขุดที่ลดลง จนท้ายที่สุดนักขุดที่ไม่สามารถทำกำไรได้ก็ต้องออกจากตลาดไปเช่นกัน

 

เหตุการณ์เหล่านี้ก็จะยิ่งกลายเป็นวงจรให้ Hashrate และพลังงานในการขุด Bitcoin ลดลง แล้วส่งผลต่อต้นทุนของ Bitcoin ต่อเหรียญลดลงตามมา

 

นักวิเคราะห์ของ JPMorgan ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในระยะสั้นถึงกลางต่อจากนี้ โอกาสในการปรับขึ้นของ Bitcoin ดูจะมีจำกัด เนื่องจากปัจจัยกดดันตลาดที่ค่อนข้างสูง การขาดปัจจัยกระตุ้นเชิงบวก และการขับเคลื่อนตลาดจากนักลงทุนรายย่อย

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising