×

ฟังเรื่องราวจากคนบ้านปูอินโดนีเซีย ที่ความสำเร็จของงานสร้างจากการ ‘เปิดใจยอมรับ’ ความหลากหลาย ที่สุดท้ายกลายเป็นหนึ่งเดียว [ADVERTORIAL]

20.12.2023
  • LOADING...

ท่ามกลางโลกธุรกิจที่ต่างฝ่ายต่างชูบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องจักรในการขับเคลื่อนองค์กร ให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในขณะเดียวกันมีองค์กรจำนวนไม่น้อยที่มองว่า ‘คน’ คืออีกหนึ่งปัจจัยที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดความสำเร็จของธุรกิจ 

 

หากจะพูดถึงคุณค่าที่หลายบริษัทจัดให้เป็นวาระสำคัญก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของ ‘ความหลากหลาย’ ที่เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของแนวคิด ESG เพื่อสร้างองค์กรที่ยั่งยืน ซึ่งในยุคปัจจุบันเป็นปัจจัยที่อาจสามารถพูดได้ว่า ‘ต้องมี’ ไม่ใช่ ‘มีก็ดี’ อีกแล้ว

 

 

THE STANDARD WEALTH มีโอกาสได้สนทนากับคนบ้านปู และอยากถ่ายทอดเรื่องราวของพวกเขาในตอนที่ 2 ของซีรีส์ The Stories of Banpu People (Voices of Dedication) โดยเน้นไปที่การให้ความสำคัญกับ ‘ความหลากหลาย’ ซึ่งหวังว่าจะเป็นเรื่องราวที่มีประโยชน์ทางความคิด ให้กับองค์กรและคนทำงานทั่วไปไม่มากก็น้อย ผ่านประสบการณ์ของ ‘คนบ้านปู’ ในประเทศอินโดนีเซีย ดินแดนที่ขึ้นชื่อเรื่องความหลากหลาย 

 

คนที่หลากหลาย แต่สุดท้ายรวมกันเป็นหนึ่งเดียว

 

พิทักษ์ วุฒินนท์ชัย, Vice President of Geoscience ผู้ที่ร่วมงานกับบ้านปูมาเป็นเวลากว่า 34 ปี และเรียกตนเองว่าเป็นกองหน้าของบริษัท เนื่องจากความรับผิดชอบของงานที่ต้องคอยค้นหาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอยู่ตลอดเวลา กล่าวกับ THE STANDARD WEALTH ว่า “แน่นอนว่างานที่ต้องใช้คนที่มาจากต่างที่ต่างพื้นเพมักจะไม่ใช่เรื่องง่ายในการปรับจูนเข้าหากัน สิ่งที่จำเป็นและสำคัญมากๆ คือ ‘การเปิดใจ’ เพื่อทำงานร่วมกัน เพราะถ้าจุดเริ่มต้นตรงนี้ผ่านไปไม่ได้ งานก็จบตั้งแต่ยังไม่เริ่ม เพราะไม่มีทางให้ไปต่อ”

 

ในช่วงปี 2000 หลังจากที่พิทักษ์เข้าไปทำงานได้สักระยะ ตนได้รับมอบหมายให้ทำโปรเจกต์ โดยไปเป็นส่วนหนึ่งของทีมสำรวจเพื่อขยายธุรกิจบ้านปูสู่ประเทศอินโดนีเซีย และครั้งนั้นก็เป็นประสบการณ์ที่เขารู้สึกได้ถึงความไว้วางใจ และเปิดใจที่บริษัทได้มอบให้ “ผมรู้สึกภูมิใจที่ได้รับความเชื่อใจจากทีม มันช่วยทำให้ผมทำงานได้อย่างเต็มที่ ในฐานะที่เราเป็นกองหน้าคอยทำหน้าที่สำรวจ เราอุ่นใจได้ว่ากองหลัง เช่น ฝ่ายบุคคลและผู้บริหารระดับสูงให้การสนับสนุนและดูแลเราเป็นอย่างดี”

 

พิทักษ์ วุฒินนท์ชัย, Vice President of Geoscience 

 

การทำงานที่บ้านปูจะไม่มีคำว่า ‘ปิดบัง’ ข้อมูลต่อกัน และไม่มีใครกลัวความผิดพลาด หากผิดพลาดเราก็ยอมรับและเรียนรู้จากสิ่งนั้น สิ่งที่สร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบนี้คือ ‘ความเชื่อใจ’

 

THE STANDARD WEALTH จึงสอบถามเพิ่มเติมกับคนไทยอีกหนึ่งท่านคือ เกรียงไกร พฤกษาชาติ Operation Excellence Officer ว่า ‘ความเชื่อใจ’ ของคนในองค์กร ที่เต็มไปด้วยคนที่ต่างกันนั้นสร้างขึ้นมาได้อย่างไร?

 

เกรียงไกรเล่าว่า ตั้งแต่เริ่มเข้ามาทำงานที่บ้านปู ซึ่งก็ตั้งแต่เมื่อ 14 ปีที่แล้ว บทเรียนวันแรกที่ตนเองได้รับจากพี่ในทีมคือ ต้องให้เครดิต หรือที่เรียกว่าการให้คุณค่าแก่เจ้าของผลงานกับคนในทีมอยู่เสมอเพื่อเป็นการ ‘ใช้ใจซื้อใจ’ เพราะต้องไม่ลืมว่าการที่งานจะสำเร็จได้นั้นมาจากความร่วมมือของทุกๆ คน และการให้เกียรติเจ้าของผลงานตามสิ่งที่แต่ละคนมีส่วนช่วยกันนั้น ถือเป็นสัญญาณของความเคารพนอบน้อม ส่งผลให้การทำงานง่ายขึ้นและความเชื่อใจก็เพิ่มขึ้น

 

เกรียงไกร พฤกษาชาติ Operation Excellence Officer

 

สำหรับคนบ้านปู พวกเขามองว่าการยอมรับในความหลากหลายนั้นมีบทบาทต่อความสำเร็จของทีมและตัวเองอย่างมีนัยสำคัญ เพราะการที่แต่ละคนสามารถเป็นตัวเองได้อย่างเต็มที่นั้น ช่วยให้แต่ละคนดึงศักยภาพ ความคิดสร้างสรรค์ และไอเดียต่างๆ จากมุมมองของตัวเองมาแลกเปลี่ยนกันและกัน

 

ปัจจัยข้างต้นเหล่านี้ ส่งผลให้พนักงานทุกคนภายใต้ทีมเดียวกันมีส่วนร่วม ความเข้าใจ และสามารถค้นเจอความหมายของผลงานตัวเอง ที่สุดท้ายประกอบกันเป็นความสำเร็จหนึ่งชิ้นได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้เพราะการให้คุณค่ากับ ‘ความหลากหลาย’

 

ความหลากหลายที่เติมเต็ม ‘งาน’ และ ‘ชีวิต’ ของกันและกัน

 

การยอมรับในธรรมชาติของความหลากหลายช่วยให้เกิดสถานการณ์แบบ ‘Win-Win’ หรือการที่ทุกคนมีความสุข ส่งผลให้การทำงานเป็นไปด้วยความสบายใจ

 

“ถึงแม้ว่าผมจะไม่ได้มาจากสายงานวิศวกรรม เรียกได้ว่าตอนเข้ามาใหม่ๆ ผมมีความเข้าใจกับสายงานนี้น้อยมาก แต่คนในบ้านปูอินโดนีเซียต่างก็ให้โอกาสและสนับสนุนผมมาตลอด จนผมมีความมั่นใจที่จะทำงานมากขึ้น เนื่องจากทีมของเรามีธงในใจที่ชัดเจนกันอยู่แล้วว่าทุกคนถือเป็นทีมเดียวกัน มีเป้าหมายร่วมกัน นั่นคือการทำงานให้สำเร็จ” เกรียงไกรเล่าถึงความเป็น One Team, One Goal ของวัฒนธรรมบ้านปู ที่ช่วยให้แต่ละคนสามารถเรียนรู้และเติบโตได้ในรั้วของบ้านปู

 

 

หากจะพูดถึงบทบาทของความหลากหลายในการเป็นตัวช่วยเติมเต็มเรื่องงาน บรรยากาศของความร่วมมือที่ดีระหว่างคนบ้านปูมาจากการให้ค่ากับทุกคำถาม ที่นี่ผู้ถามจะไม่ถูกตั้งคำถามกลับว่า ‘คำถามแบบนี้ถามทำไม? เพราะทุกคนมาจากภูมิหลังที่ต่างกัน สิ่งนี้ทำให้ผู้ที่เคยมีความรู้สึกไม่กล้าถามอย่างเกรียงไกร กลับกลายเป็นคนที่กล้าตั้งคำถามมากขึ้น เพื่อลดความไม่ชัดเจนในการทำงานที่ต้องอาศัยคนในหลายภาคส่วน

 

สิ่งน่าสนใจที่ควรค่าแก่การเก็บไปคิดคือ ‘อะไร’ เป็นจุดเริ่มต้นที่เปลี่ยนให้คนคนหนึ่งกล้าออกจากความกลัว และยกมือแสดงความคิดเห็นหรือถามเพื่อคลายข้อสงสัยได้เป็นครั้งแรก?

 

“ต้องขอย้อนกลับไปช่วงแรกที่ผมต้องเริ่มทำงานร่วมกับทีมกองหน้า ณ ตอนนั้นเรามีความเข้าใจที่ว่า อย่างไรคนกองหน้าต้องย่อมรู้ดีกับบริบทหน้างานกว่าคนกองหลังอย่างเราอยู่แล้ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ พวกเขาเลือกที่จะถามกลับมาเพื่อหารือเรา” 

 

เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นชนวนให้เกรียงไกรกลับมาฉุกคิดได้ว่า ทั้งๆ ที่คนกองหน้าเหล่านั้นมีความเชี่ยวชาญมากกว่าตนเอง แต่พวกเขาก็เลือกที่จะถาม และขอความเห็นจากหลายมุมมองรอบด้าน เพื่อหาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับการทำงาน

 

แบบอย่างเช่นนี้จากทุกคนในบ้านปูที่มอบความเชื่อใจและความเคารพต่อกัน ผ่านความกล้าที่จะตั้งคำถาม ส่งผลให้เกรียงไกรได้คำตอบที่ชัดเจนกับตัวเองว่า “ที่ผ่านมาผมรู้สึกเสียดายโอกาสที่ไม่กล้าถาม แต่เลือกที่จะนิ่งเฉย ทั้งๆ ที่ตนยังไม่เข้าใจในสิ่งที่ต้องทำมากเท่าที่ควร ซึ่งนับตั้งแต่ตอนนั้นผมเลยเปลี่ยนตัวเองมาเป็นคนที่ขวนขวาย และไม่กลัวที่จะถามอีกเลย”

 

ในส่วนของการเติมเต็มชีวิต เกรียงไกรรู้สึกว่าการเข้ามาในรั้วของบ้านปูช่วยเขาพัฒนาในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน การเติมเต็มส่วนนี้มาจากการที่ได้เป็นตัวเอง และประสบการณ์ในตัวงานที่ช่วยเสริมให้การจัดลำดับความสำคัญและความคิดดีมากขึ้น “ไม่เคยคาดหวังว่าตัวเองจะทำได้ขนาดนี้ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันถือว่าเกินความคาดหมายไปพอสมควร แต่ผมรู้ว่ายังมีสิ่งที่ต้องทำให้ดีขึ้นไปอีก”

 

นอกเหนือจากคนไทยทั้ง 2 ท่านแล้ว THE STANDARD WEALTH ยังได้พูดคุยกับ Fiki Abubakar คนบ้านปูสัญชาติอินโดนีเซีย ถึงบรรยากาศการทำงานที่บ้านปู โดย Fiki แชร์เรื่องราวหนึ่งในชิ้นงานที่ภูมิใจ และเติมเต็มเขามากที่สุดให้ฟังว่า เขาชื่นชอบกิจกรรมการให้โอกาสผู้พิการที่ทางบริษัทจัดขึ้น ถึงแม้โครงการนี้จะค่อนข้างใหม่กับบ้านปูที่อินโดนีเซีย แต่ทุกๆ คนในต่างทีม ต่างวัย และต่างลำดับขั้นสามารถช่วยเหลือออกแบบกิจกรรมเพื่อนำไปสอนผู้พิการ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบ้านปูที่เห็นความหลากหลายและความเท่าเทียมเป็นเรื่องสำคัญ

 

Fiki Abubakar, CSR Specialist in Sustainable Development แห่งบ้านปูอินโดนีเซีย

 

Fiki ยังมองว่าความหลากหลายมีส่วนช่วยเติมเต็มในหน้าที่การงานและชีวิต โดยเฉพาะกับการนำความรู้จากผู้อื่นที่มาจากต่างความคิดต่างประสบการณ์จากสิ่งที่ตนเคยเจอ และมาประยุกต์ใช้กับการสร้างสรรค์งานให้ออกมาแตกต่างและครอบคลุมมากขึ้น

 

จากเรื่องราวของคนบ้านปูในอินโดนีเซีย เราจะเห็นได้ว่า ‘ความหลากหลาย’ ไม่ใช่เพียงแค่คติสวยหรู แต่คือเบื้องหลังความสำเร็จของ ‘คน’ ที่ต่างฝ่ายต่างเปิดรับความแตกต่าง เข้าใจในข้อดีของแต่ละคนเพื่อนำมาเสริมความแข็งแรงของทีม และในขณะเดียวกันก็ไม่เพิกเฉยต่อข้อเสีย แต่ช่วยกันพัฒนาปรับปรุงให้จุดที่แตกต่างของกันและกัน สามารถทำงานให้บรรลุเป้าหมายเดียวกันได้

 

ท้ายที่สุดทุกสิ่งทุกอย่างแม้จะต่างกัน แต่คนบ้านปูได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เพียงแค่เข้าใจ เปิดใจ และยอมรับ คนก็จะสามารถรวมพลังกันได้จนกลายมาเป็นความสำเร็จขององค์กร

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X