แบงก์รัฐและแบงก์พาณิชย์แห่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ หลังคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 1.50% ต่อปี ในการประชุมนัดแรกของปีนี้ เพื่อให้สอดคล้องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและสถานการณ์การระบาดที่คลี่คลายลง
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ แบงก์รัฐหลายแห่งต่างประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ยตามเป็นครั้งแรกในรอบการขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้ แม้ว่าเมื่อปีก่อนได้ให้คำมั่นว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้เพื่อให้ลูกค้ามีเวลาปรับตัวและรักษากำลังซื้อเอาไว้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ธนาคารออมสิน เปิดตัวเงินฝากดอกเบี้ยขั้นบันได จ่ายสูงสุด 4.5% และ 10% หวังส่งเสริมการออมระยะยาว
- เปิดสถิติ 9 เดือนแรกปี 65 ธนาคาร ไหนครองแชมป์แอปล่มมากที่สุด
- คลอดแล้ว! เกณฑ์ ‘Virtual Bank’ ธปท. จำกัดไลเซนส์แค่ 3 ราย เผยมีผู้สนใจแล้ว 10 ราย เล็งประกาศผลกลางปีหน้าก่อนเริ่มให้บริการจริงปี 68
โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ถือเป็นแบงก์รัฐรายแรกๆ ที่ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภท 0.25% ต่อปี และนับเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นครั้งแรกของ ธอส. ในรอบ 2 ปี 9 เดือนด้วย ตามมาด้วยธนาคารรายอื่นๆ ทั้งธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ด้านแบงก์พาณิชย์ก็ยืนยันว่า การขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้ได้ขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อย ‘น้อยกว่า’ ลูกค้ารายใหญ่ สะท้อนความกังวลคุณภาพหนี้กลุ่มลูกค้ารายย่อยและผู้ประกอบการรายเล็ก
ภาพประกอบ: พรวลี จ้วงพุฒซา