วันนี้ (21 เมษายน) ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร ตรวจวัดได้ 6.6-19.3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่า ไม่เกินมาตรฐานทุกพื้นที่ที่มีการตรวจวัด (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.)
ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศดีมาก (สีน้ำเงิน)
12 อันดับ ของค่าฝุ่นPM2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร
- เขตวังทองหลาง 19.3 มคก./ลบ.ม.
- เขตราชเทวี 18.4 มคก./ลบ.ม.
- เขตธนบุรี 17.1 มคก./ลบ.ม.
- เขตสายไหม 17 มคก./ลบ.ม.
- เขตหนองจอก 15.8 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางพลัด 14.8 มคก./ลบ.ม.
- เขตราษฎร์บูรณะ 14.4 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางรัก 14.2 มคก./ลบ.ม.
- เขตจตุจักร 14.2 มคก./ลบ.ม.
- เขตทุ่งครุ 14.1 มคก./ลบ.ม.
- เขตลาดกระบัง 14 มคก./ลบ.ม.
- สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย 13.9 มคก./ลบ.ม.
ในช่วงวันที่ 21-27 เมษายน การระบายอากาศส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ ‘อ่อน/ดี’ ขณะที่ชั้นบรรยากาศใกล้ผิวพื้นมีลักษณะเปิดสลับปิด และยังมีโอกาสเกิดฝนตก จึงคาดว่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มทรงตัวถึงลดลง และคาดการณ์วันนี้ อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง 10% ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงระหว่างบ่ายถึงค่ำ
จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบจุดความร้อน ในวันที่ 20 เมษายน 2568 จำนวน 4 จุด ดังนี้
จุดที่ 1 เวลา 13.54 น. แขวงลำต้อยติ่ง เขตหนองจอก
จุดที่ 2 เวลา 13.54 น. แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง
จุดที่ 3, 4 เวลา 13.54 น. แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง
ทั้งนี้ จุดที่ 1 เป็นเหตุเพลิงไหม้หญ้า ขณะนี้เพลิงสงบแล้ว จุดที่ 2 – 4 อยู่ระหว่างประสานตรวจสอบจุดความร้อน
สำนักสิ่งแวดล้อมได้ประสานแจ้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เพิ่มความเข้มงวดการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง เพื่อเป็นการบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพอนามัยของประชาชน
ขอเชิญชวนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วน โดยช่วยกันปรับเปลี่ยน พฤติกรรมและลดกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดฝุ่นละออง เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ ‘5 วิธีลดฝุ่น คุณก็ทำได้’
- หมั่นทำความสะอาดบ้านด้วยวิธีเช็ดฝุ่น
- งดเผาขยะ งดจุดธูป
- ปลูกต้นไม้ช่วยดูดซับมลพิษดักจับฝุ่นละออง
- เดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ
- ดับเครื่องยนต์ขณะจอดรถ ตรวจสภาพเครื่องยนต์ไม่ให้มีค่าควันดำ เกินมาตรฐาน