×

หมดยุคเงินทุนหาง่าย! ‘Venture Capital’ ในอาเซียนชะลอลงทุน หลังสตาร์ทอัพหลายรายยังหากำไรไม่เจอ

20.12.2022
  • LOADING...

ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวในปี 2022 และมูลค่าของบริษัทต่างๆ ที่ลดลง ทำให้ Venture Capital หรือธุรกิจการร่วมลงทุนแต่ละแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจจะเลือกสรรบริษัทที่จะเข้าไปลงทุนมากขึ้นในปีหน้า

 

“ยุคของเงินทุนที่หามาได้ง่ายกลายเป็นอดีตไปแล้ว” Yinglan Tan ซีอีโอและหุ้นส่วนผู้ก่อตั้ง Insignia Ventures Partners ในสิงคโปร์ กล่าว

 

ภายใต้สภาวะที่เงินลงทุนลดลงไปมาก ถือเป็นบททดสอบสำคัญที่จะแสดงให้เห็นถึงโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืนและเป็นธุรกิจที่มีความต้องการจริง

 

ด้าน Jefrey Joe ผู้ร่วมก่อตั้ง Alpha JWC Ventures มองว่า “สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องดูในปีหน้าคือบริษัทต่างๆ จะเติบโตอย่างไร เพื่อรักษามูลค่าของตัวเองและเอาตัวรอดจากความท้าทายของเศรษฐกิจ”

 

Joe กล่าวต่อว่า “เราสามารถใส่เงินลงทุนอย่างหนักได้ แต่จะด้วยมูลค่าเท่าใดกัน? ก่อนหน้านี้ไม่ใช่ว่าเราไม่แคร์เรื่องของกำไร แต่เป็นพราะสตาร์ทอัพส่วนมากมักจะไม่มีกำไรในช่วง 5 ปีแรก แต่หลังจากนี้เราอาจจะเห็นแนวคิดที่เปลี่ยนไป ระมัดระวังกับการเติบโตมากขึ้น แน่นอนว่าสตาร์ทอัพยังเผาเงินได้ และอาจจะยังไม่ต้องทำกำไรได้ในตอนนี้ ตราบใดที่บริษัทมีเงินทุนเพียงพอและมีธุรกิจที่แข็งแกร่ง”

 

ข้อมูลจาก Crunchbase ระบุว่า บริษัทต่างๆ ที่หนุนด้วยเงินทุนของ Venture Capital ระดมทุนรวมกันเพียง 3.69 แสนล้านดอลลาร์ สำหรับ 3 ไตรมาสแรกของปี 2022 ต่ำกว่ามูลค่าระดมทุนทั่วโลกเมื่อปี 2021 ทั้งปีที่ 6.79 แสนล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 98% ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดของการระดมทุน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


Jussi Salovaara ผู้ร่วมก่อตั้งและหุ้นส่วนผู้จัดการของ Antler กล่าวว่า “กองทุนส่วนใหญ่มีเงินพร้อมที่จะลงทุน แต่พวกเขากำลังมองหาโอกาสลงทุนที่ดีเยี่ยม”

 

ท่ามกลางสถานการณ์ที่หุ้นเทคโนโลยีต่างดิ่งลงตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ขณะที่อัตราดอกเบี้ยกำลังพุ่งขึ้น พร้อมกับผลประกอบการที่ออกมาน่าผิดหวัง บรรดาสตาร์ทอัพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างยังไม่สามารถทำกำไรได้ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่อย่าง Sea Group หรือ Grab ซึ่งยังรายงานผลขาดทุนระดับพันล้านดอลลาร์

 

“ตลอด 10 ปีที่ผ่านมามันคือการลงทุนแบบ FOMO (กลัวที่จะตกรถ)” Peng. T Ong ผู้ร่วมก่อตั้งของ Monk’s Hill Ventures กล่าว และเสริมว่า อย่างที่เราเห็นนักลงทุนรายใหญ่ต่างใส่เงินลงทุนไปกับบริษัทอย่าง FTX ที่ล้มลงไป

 

ทางด้านบริษัทเทคโนโลยีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สูญเสียมูลค่าไปมากที่สุดนับแต่ที่เข้าจดทะเบียนในตลาด โดยบริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่อย่าง Sea ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นนิวยอร์ก (NYSE) มีมูลค่าลดลงจาก 2 แสนล้านดอลลาร์ มาเหลือ 3 หมื่นล้านดอลลาร์ในปีนี้

 

ส่วน GoTo บริษัทเทคโนโลยีในอินโดนีเซีย มูลค่าลดลงกว่า 75% ขณะที่ Grab มูลค่าลดลงไป 69% จากจุดแรกที่เข้าตลาดซึ่งมีมูลค่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์ เมื่อเดือนธันวาคม 2021

 

Ong กล่าวต่อว่า “เรากลับมาสู่ความเป็นจริง ผู้คนเริ่มเดินจากไป คุณจำเป็นต้องมีแนวทางในการสร้างกำไรได้จริง และมีกำไรส่วนเกิน (Contribution Margin) เป็นบวก ซึ่งเป็นสิ่งที่เราพูดกันมาตลอด”

 

ทั้งนี้ หนึ่งในโมเดลธุรกิจที่ดูเหมือนจะไปไม่รอดคือ Quick Commerce ซึ่งเป็นธุรกิจที่จะจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าภายในเวลาไม่เกิน 30 นาที อย่างบริษัท Bananas ในอินโดนีเซีย ที่เปิดหน่วยธุรกิจนี้เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา และล่าสุดก็ได้ประกาศหยุดให้บริการในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

 

หรือแม้แต่ Grab ก็ประกาศหยุดให้บริการ GrabMart Kilat ในอินโดนีเซีย เช่นเดียวกับบริษัทอื่นๆ ที่ไปต่อไม่ได้ เช่น Gopuff, Gorillas, Jiffy, Getir, Zapp และ Buyk

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X