×

รถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินต้องไปต่อ! รัฐบาลเคลียร์ค่าสัมปทาน เปิดทางกลุ่มซีพีเดินหน้าโครงการไม่ให้หยุดชะงัก

27.06.2023
  • LOADING...
Airport Rail Link

รัฐบาลปลดล็อกแก้สัญญาไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ผ่อนปรนชำระค่าสัมปทานกลุ่มซีพีทยอยจ่ายค่าสิทธิแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ 1.17 หมื่นล้านบาท ยาว 7 งวด หลังวิกฤตโควิดฉุดจำนวนผู้โดยสารและรายรับ ชี้หากไม่เร่งแก้อาจส่งผลต่อการให้บริการเดินรถและการบำรุงรักษา ARL ต้องหยุดชะงักลง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นโครงการฯ และสถาบันการเงิน

 

อนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า มติคณะรัฐมนตรี (27 มิถุนายน) รับทราบรายงานผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) มีมติเห็นชอบหลักการแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ประกอบด้วย หลักการแก้ปัญหาการชำระค่าสิทธิโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (Airport Rail Link: ARL) เนื่องจากสถานการณ์โควิด และหลักการแก้ปัญหาเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการฯ ดังนี้

 

  1. หลักการแก้ปัญหาการชำระค่าสิทธิ ARL จากเดิมเอกชนคู่สัญญาต้องชำระค่าสิทธิ ARL จำนวน 10,671.09 ล้านบาทให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ภายใน 2 ปีหลังลงนามในสัญญาร่วมลงทุนฯ เป็นเอกชนคู่สัญญาต้องชำระค่าสิทธิ ARL จำนวน 10,671.09 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยจำนวน 1,060.04 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 11,731.13 ล้านบาท โดยแบ่งชำระค่าสิทธิ ARL ออกเป็น 7 งวด ได้แก่ งวดที่ 1-6 งวดละ 1,067.11 ล้านบาท และงวดที่ 7 จำนวน 5,328.47 ล้านบาท ภายในวันที่ 24 ตุลาคมของแต่ละปี 

 

ทั้งนี้ การแบ่งชำระ 7 งวดดังกล่าวมีความเหมาะสม เนื่องจากผลประโยชน์จากส่วนต่างดอกเบี้ยที่เอกชนคู่สัญญาจะได้รับ (จำนวน 474.44 ล้านบาท) ใกล้เคียงกับผลกระทบที่เอกชนคู่สัญญาได้รับจากสถานการณ์โควิด (จำนวน 495.27 ล้านบาท) โดยเอกชนคู่สัญญาจะรับผิดชอบค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายทางการเงินส่วนเกินจากที่ รฟท. ต้องชำระให้สถาบันทางการเงิน และ/หรือ กระทรวงการคลัง เป็นจำนวนเกินกว่าจำนวนเงินที่ รฟท. ได้รับชำระจากเอกชนคู่สัญญา

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

 


 

ทั้งนี้ สถานการณ์โควิดส่งผลกระทบต่อจำนวนผู้โดยสารและรายรับของเอกชนคู่สัญญา หากไม่มีการแก้ไขปัญหาอาจส่งผลต่อการให้บริการ การเดินรถและการบำรุงรักษา ARL ต้องหยุดชะงักลง และส่งผลให้ความเชื่อมั่นของโครงการฯ ต่อสถาบันการเงินลดลงด้วย

 

  1. การแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการฯ โดยที่สัญญาร่วมลงทุนฯ ยังไม่มีกลไกรองรับการแก้ไขปัญหา กรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการฯ ส่งผลให้โครงการไม่มีความเหมาะสมทางการเงิน (Not Bankable) แตกต่างจากกรณีสัญญาร่วมลงทุนของโครงการสนามบินอู่ตะเภาฯ ที่มีกระบวนการบริหารสัญญากรณีเกิดเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผันอันครอบคลุมถึงปัญหาที่เกิดจากความผันผวนทางเศรษฐกิจ เช่น โรคระบาดหรือโรคติดต่ออันตรายที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว โดยไม่ต้องแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน

 

ดังนั้นเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาในลักษณะเดียวกันที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตด้วยกระบวนการบริหารสัญญา โดยไม่ต้องแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มคำจำกัดความของเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผันให้ครอบคลุมถึงเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบ รุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการฯ และเอกชนคู่สัญญา เช่น ความผันผวนทางเศรษฐกิจ และความล่าช้าหรือการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของโครงการฯ 

 

รวมทั้งเพิ่มแนวทางการบริหารสัญญา เพื่อจัดการกับเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผัน โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของโครงการฯ อย่างมีนัยสำคัญ เพื่อให้สามารถเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับคู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับผลกระทบด้วยความเหมาะสมและเป็นธรรม 

 

โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ EEC มีหน้าที่ใช้ความพยายามอย่างดีที่สุดโดยสุจริต ภายใต้กฎหมายและ พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 

 

ย้ำโครงการ ARL ต้องดำเนินการต่อเนื่อง

 

รวมทั้งประสานความร่วมมือระหว่าง รฟท. และเอกชนคู่สัญญา ถึงวิธีการในการเยียวยา เช่น การขยายระยะเวลาโครงการฯ และการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขที่เอกชน ต้องชำระผลประโยชน์ตอบแทนรัฐ เพื่อสนับสนุนและแก้ไขปัญหาทางการเงินของโครงการฯ ทั้งนี้ รฟท. ยังมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาร่วมลงทุนฯ เดิมทุกประการ โดยเอกชนคู่สัญญาคือ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด หรือกลุ่มซีพี

 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวเพิ่มเติมว่า ประโยชน์ที่จะได้รับจากการแก้ไขปัญหาโครงการฯ ทำให้บริการโครงการ ARL สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง โดยเอกชนคู่สัญญาสามารถชำระค่าสิทธิ ARL เพื่อรับสิทธิการดำเนินโครงการ ARL ต่อไปได้ และจะมีกลไกในการบริหารสัญญา เพื่อรับมือกับเหตุผ่อนผันและเหตุสุดวิสัยกับเหตุการณ์ในอนาคต 

 

รวมถึงเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการฯ และเอกชนคู่สัญญา เพื่อให้โครงการฯ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์โครงการตามสัญญาร่วมลงทุนฯ ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 1/66 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566 ที่มี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน มีมติเห็นชอบหลักการแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และให้เสนอคณะรัฐมนตรีทราบ โดยนายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้พิจารณาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขให้รอบคอบครบถ้วนด้วย

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X