×

นักวิเคราะห์ลุ้นเดือน เม.ย. ตลาดหุ้นโลกสดใส ยกสถิติหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ดัชนี S&P 500 ปรับขึ้นเฉลี่ย 1.7%

04.04.2022
  • LOADING...
ตลาดหุ้นโลก

บรรดานักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งได้ออกมาคาดการณ์ทิศทางความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นที่ย่างเข้าสู่ไตรมาสสองของปี 2022 ว่ามีโอกาสที่ตลาดวอลล์สตรีทจะยังคงผันผวนอย่างหนัก หลังจากที่ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อปรับตัวพุ่งสูงขึ้นจนทุบสถิติสูงสุดในรอบกว่า 40 ปี

 

ในส่วนของการเติบโตในระยะสั้น นักวิเคราะห์ประเมินว่า เดือนเมษายนมีโอกาสที่ตลาดหุ้นจะสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับนักลงทุนในตลาด ซึ่งตามสถิติที่ผ่านมา ดัชนี  S&P 500 มักจะขยับขึ้นในแดนบวกในช่วงเดือนเมษายน โดยนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง ดัชนี S&P 500 มีการขยับปรับตัวขึ้นโดยเฉลี่ยที่ 1.7% กลายเป็นเดือนที่มีการซื้อขายมากที่สุดของปี

 

ทั้งนี้ นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นค่อนข้างเป็นไปในทิศทางที่น่าพึงพอใจ จนกระทั่งย่างเข้าสู่เดือนมีนาคม ที่เศรษฐกิจเผชิญหลายปัจจัยรุมเร้า ทั้งปัญหาเงินเฟ้อ และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ทำให้ชาติตะวันตกนำมาตรการคว่ำบาตรมาใช้ ส่งผลให้ผลงานตลาดหุ้นในไตรมาสแรกของปีนี้ไม่สดใสอย่างที่คาดหวังเอาไว้

 

ทั้งนี้ ตลาดวอลล์สตรีทส่งท้ายไตรมาสแรกของปี โดยดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดตลาดปรับตัวลดลง 4.6% ขณะที่ดัชนี S&P 500 ลดลง 5% ส่วนดัชนี Nasdaq ร่วงหนักถึง 9.1% เพื่อผ่อนคลายในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ความเคลื่อนไหวโดยรวมของหุ้นในตลาดส่วนใหญ่แทบจะไม่มีการขยับหรือเปลี่ยนแปลงใดๆ ซึ่งนับตั้งแต่ต้นปี ดัชนีดาวโจนส์ลดลงแล้ว 0.1% S&P 500 ที่ 0.1% และดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้น 0.7%

 

ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ก็ขยับปรับตัวเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดที่ 2.55% ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีปัจจัยน่าเป็นห่วง เมื่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะสั้น มีสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ที่มากกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาว ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นสัญญาณบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจถดถอย

 

เกร็ก ฟาราเนลโล หัวหน้าแผนกอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐฯ ของ AmeriVet Securities พบว่า ผลการดำเนินงานไตรมาสแรกของดัชนี S&P 500 ของปีนี้ กลายเป็น 1 ใน 15 ไตรมาสแรกที่แย่ที่สุด นับตั้งแต่มีการบันทึกในปี 1945 โดยหลังจากไตรมาสแรกที่อ่อนแอเหล่านั้น ตลาดมีแนวโน้มปรับลดลงอีกเฉลี่ย 3.8% หรืออาจมากกว่านั้น ก่อนขยับปรับตัวดีขึ้นในช่วงปลายไตรมาสที่สอง

 

รายงานระบุว่า ทิศทางของตลาดในไตรมาสแรกปีนี้ อยู่ในรูปแบบเดียวกันกับที่เคยเกิดขึ้นในปี 1994 ซึ่งเป็นไตรมาสแรกที่แย่ที่สุดอันดับที่ 12

 

ฟาราเนลโลกล่าวว่า หลังจาก 15 สัปดาห์ในไตรมาสแรกที่อ่อนแอลง ดัชนีตลาดในไตรมาสสองมักจะขยับขึ้นไปเฉลี่ย 4.8% กระนั้นความเคลื่อนไหวตลอดทั้งปีของดัชนี S&P 500 ตามที่บันทึกไว้ ขยับปรับขึ้นเพียง 40% เท่านั้นตลอดช่วงเวลาทั้งหมดที่ผ่านมา และขยับปรับลดลงโดยเฉลี่ย 2% ในช่วงปีเหล่านั้น

 

นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งมองว่าปัจจัยภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วมีผลต่อการเคลื่อนไหวของนักลงทุนในตลาด และทำให้นักลงทุนจำเป็นต้องจับตามองดูท่าทีความเคลื่อนไหวของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อย่างใกล้ชิด

 

โดยสถานีโทรททัศน์ CNN รายงานว่า การที่อัตราเงินเฟ้อยังคงพุ่งได้แรงแบบไม่มีตก กลายเป็นแรงกดดันสำคัญที่ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่า Fed จำเป็นต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในอัตราที่มากกว่าเดิมที่ตั้งใจไว้

 

ความเห็นของบรรดาเทรดเดอร์ในขณะนี้ มากถึง 75% ที่เชื่อว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากเดิม 0.25% มาอยู่ที่ 0.50-0.75% ในการประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายการเงินในวันที่ 4 พฤษภาคมนี้

 

ทั้งนี้ ครั้งล่าสุดที่ Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% คือเดือนพฤษภาคม 2000 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤตฟองสบู่ดอทคอมที่สารพัดหุ้นเทคโนโลยีกำลังพุ่งขึ้นสูงสุด โดย Fed ไม่ได้มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแรงมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 1995

 

อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising