×

ใต้ความเย็นยะเยือก มีความร้อน? NASA เชื่อ ใต้แอนตาร์กติกามี ‘จุดร้อน’ ต้นเหตุธารน้ำแข็งละลาย

14.11.2017
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

1 Mins read
  • องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NASA) เปิดเผยว่า อาจพบจุดร้อน (Mantle plume) ตั้งอยู่ใต้แผ่นน้ำแข็งที่ทวีปแอนตาร์กติกา
  • เมื่อประมาณ 30 ปีก่อน นักวิทยาศาสตร์รายหนึ่งจาก University of Colorado Denver กล่าวว่า อาจมีจุดร้อนอยู่ใต้แอนตาร์กติกา สมมติฐานนี้ช่วยในการอธิบายลักษณะแปลกๆ ที่ปรากฏบนพื้นผิวน้ำแข็งได้
  • นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนสมมติฐานนี้ ด้วยการออกแบบรูปแบบตัวเลขจุดร้อนเพื่อมองหาถึงความร้อนใต้เปลือกโลกที่จำเป็นต้องใช้ในการอธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เห็นอยู่บนทวีปน้ำแข็งแห่งนี้

     องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NASA) เปิดเผย อาจพบจุดร้อน (Mantle plume) ตั้งอยู่ใต้แผ่นน้ำแข็งที่ทวีปแอนตาร์กติกา
     จุดร้อนที่ว่านี้คือแท่นหินที่ปล่อยไอร้อนออกมาจากพื้นผิวโลก และกระจายออกใต้เปลือกโลก เนื่องจากตัวหินเองมีความร้อนและมีความหนาแน่นสูงจนกระทุ้งทะลุเปลือกโลกได้ โดยจุดร้อนเหล่านี้สามารถพบเห็นได้ในฮาวายและอุทยานเยลโลว์สโตน

 


     ไอร้อนของจุดร้อนส่งผลให้แผ่นน้ำแข็งละลายและแยกตัวออกจากกันจนทำให้เกิดแม่น้ำหลายสายและปัญหาอื่นๆ ในแอนตาร์กติกา
เมื่อประมาณ 30 ปีก่อน นักวิทยาศาสตร์รายหนึ่งจาก University of Colorado Denver กล่าวว่า อาจมีจุดร้อนอยู่ใต้แอนตาร์กติกา สมมติฐานนี้ช่วยในการอธิบายลักษณะแปลกๆ ที่ปรากฏบนพื้นผิวน้ำแข็ง คล้ายคลึงปรากฏการณ์จากภูเขาไฟ อย่างไรก็ตาม สมมติฐานนี้เป็นเรื่องที่เหลือเชื่อ เพราะทวีปน้ำแข็งนี้ก็ยังคงมีอยู่
     แต่ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนสมมติฐานนี้ ด้วยการออกแบบรูปแบบตัวเลขจุดร้อนเพื่อมองหาถึงความร้อนใต้เปลือกโลกที่จำเป็นต้องใช้ในการอธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เห็นอยู่บนทวีปน้ำแข็งแห่งนี้
     บรรดานักวิทยาศาสตร์ทำการตรวจสอบทฤษฎีนี้กับข้อมูลที่ NASA ได้รับจากภารกิจต่างๆ ในพื้นที่ จนนำมาสู่ข้อสรุปว่า มีโอกาสที่จะมีจุดร้อนใต้ทวีปน้ำแข็ง ซึ่งอาจก่อตัวขึ้นมาตั้งแต่ช่วง 50-100 ล้านปีก่อนที่จะมีแอนตาร์กติกาเสียด้วยซ้ำ



อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X