อลัน กรีนสแปน อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) 5 สมัย (1987-2006) ได้แสดงมุมมองถึงสินทรัพย์อย่างคริปโตในขณะนี้ว่า เข้าลูปทฤษฎี ‘Greater Fool’ เกินกว่าที่จะเข้าลงทุน
โดยทฤษฎี ‘Greater Fool’ นั้นคือ ทฤษฎีที่อธิบายว่าสินทรัพย์หนึ่งๆ ที่ไม่มีมูลค่าพื้นฐานจริงๆ มารองรับนั้นจะถูกซื้อไปเพื่อเก็งกำไร จนผลักดันให้ราคาสูงสินทรัพย์นั้นๆ ปรับตัวขึ้นไปเรื่อยๆ โดยหวังเพียงแค่ว่าจะมีคนที่โง่กว่ายอมมาซื้อสินทรัพย์นั้นในราคาที่สูงขึ้นไป
อีกทั้งยังได้แสดงถึงมุมมองต่อการล่มสลายของ FTX ว่าไม่น่าจะแพร่กระจายเกินไปกว่าแวดวงของคริปโตหรือ NFTs และเสริมว่า ความเสียหายของ FTX นั้นไม่ใช่ความผิดพลาดของการบริหารความเสี่ยง หรือปัญหาด้านบัญชีเลยแม้แต่น้อย หากแต่มันคือการโกงโดยสมบูรณ์แบบ
อย่างไรก็ตาม กรีนสแปนมองว่าแม้ในปีที่ผ่านมาบริษัท FTX และบริษัทคริปโตอื่นๆ จะเติบโตอย่างมาก แต่การที่มีผู้รับรู้ถึงผลกระทบหลัง FTX ล่มนั้นมีเพียงเล็กน้อย สะท้อนว่าการลงทุนในสินทรัพย์ดังกล่าวยังอยู่ในนักลงทุนเฉพาะกลุ่มเท่านั้น
กรีนสแปนได้เปรียบเทียบกับในช่วงเวลาของปี 2000 ยุคดอทคอม และ 2008 ยุคซับไพรม์ว่า สิ่งที่เราสังเกตเห็นก็คือ ผลกระทบของการกู้เงินหลังฟองสบู่เหล่านั้นแตกในแต่ละยุคนั้นยิ่งใหญ่มาก แต่การพังลงของคริปโตในรอบนี้กลับไม่ได้สร้างผลกระทบใหญ่เท่าไรนัก จึงมีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดการลุกลามไปยังวิกฤตการเงินขนาดใหญ่
นอกจากนี้ กรีนสแปนยังได้ปิดท้ายด้วยมุมมองของเศรษฐกิจในขณะนี้ว่า “ภาวะเศรษฐกิจถดถอยดูมีความเป็นไปได้สูงสุดที่จะเกิดกับเศรษฐกิจในขณะนี้” เนื่องจากเขาไม่เชื่อว่าการใช้นโยบายทางการเงินครั้งนี้ของ Fed จะช่วยให้ไม่เกิดเศรษฐกิจถดถอยได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ย้อนรอยวิกฤตคริปโต การล่มสลายของ FTX รอบนี้จะสั่นสะเทือนตลาดคริปโตได้เหมือนรอบ Mt.Gox ปี 2014 หรือไม่?
- บิล แอคแมน เริ่มใจอ่อน เผย มองคริปโตในมุมบวกมากขึ้น ถึงขั้นเริ่มเข้าลงทุนบ้างแล้ว
- แม้แต่ ‘จัสติน บีเบอร์’ ยังขาดทุน! ผลงาน NFT จาก Bored Ape Yacht Club ที่ซื้อมาด้วยราคา 46.4 ล้านบาท ตอนนี้หล่นลงเหลือ 2.5 ล้านบาท
อ้างอิง: