×

เมื่อ AI ปฏิวัติ HR ในปี 2025! จาก Upskill ถึง Smart Learning เผย 6 กลยุทธ์รับมือกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ผู้นำไม่ควรพลาด

06.01.2025
  • LOADING...
Smart Learning

HIGHLIGHTS

  • เทรนด์การพัฒนาบุคลากรปี 2025 เน้น 6 ด้านหลัก ได้แก่ Personalized Learning Paths ที่ช่วยให้พนักงานเห็นเส้นทางการเติบโตชัดเจน, Mentorship Programs ถ่ายทอดความรู้ระหว่างผู้บริหารรุ่นเก่าและรุ่นใหม่, Digital Literacy and AI Usage Training เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, Soft Skill Development โดยเฉพาะการสื่อสารและการทำงานเป็นทีม และ EQ, Inclusive Leadership Training สำหรับผู้นำ และ Continuous Feedback การให้ข้อเสนอแนะแบบทันที
  • ปี 2025 จะเห็น 5 เทรนด์สำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาองค์กร ได้แก่ Agility การปรับตัวรวดเร็วตามตลาด, Employee Engagement การสร้างการมีส่วนร่วมแบบยืดหยุ่น, Diversity and Inclusion การสนับสนุนความหลากหลาย, Technology Integration การใช้เทคโนโลยีและข้อมูลตัดสินใจ รวมทั้ง Learning & Development ที่เน้น Upskill พนักงานให้ทันยุคดิจิทัล
  • คีย์เวิร์ดสำคัญของปี 2025 คือ ‘Upskill’ เนื่องจากปัจจุบันพนักงานในแต่ละตำแหน่งยังมีทักษะไม่ทันยุคสมัย องค์กรต้องชัดเจนในการประเมินและพัฒนาทักษะพนักงานให้ตรงตามความต้องการ ขณะที่ Smart Learning จะเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาบุคลากรให้เกิดผลลัพธ์ที่จับต้องได้
  • อริญญา เถลิงศรี จาก BTS Thailand มองว่า องค์กรไทยกำลังปรับแผนการจ้างงานและพัฒนาบุคลากรครั้งใหญ่ โดยเฉพาะบริษัทชั้นนำที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่สอดคล้องกับทิศทางธุรกิจ เปิดโอกาสให้บุคลากรทั่วโลก และนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

หลายคนอาจมองว่าปี 2024 เป็นปีแห่งความท้าทาย แต่จริงๆ แล้วนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เมื่อก้าวเข้าสู่ปี 2025 เราจะได้เห็นการปฏิวัติครั้งใหญ่ในการพัฒนาบุคลากร ที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าขององค์กรไปอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเฉพาะเมื่อพบว่าพนักงานในแต่ละตำแหน่งยังมีทักษะไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ทำให้ ‘Upskill’ กลายเป็นคีย์เวิร์ดที่สำคัญที่สุดของปี 2025

 

การพัฒนาบุคลากรแบบเดิมๆ จึงอาจไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป เพราะความท้าทายไม่ได้จำกัดอยู่แค่การรับมือกับเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลในยุคที่พฤติกรรมและความคาดหวังของคนทำงานเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง องค์กรจำเป็นต้องคิดใหม่ ทำใหม่ ในการวางแผนพัฒนาบุคลากรให้สอดรับกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยการนำ Smart Learning มาใช้เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่จับต้องได้

 

ขณะที่หลายองค์กรยังคงลังเลที่จะก้าวออกจาก Comfort Zone การพัฒนาบุคลากรแบบดั้งเดิม แต่ผู้นำองค์กรระดับโลกกลับมองเห็นโอกาสทองท่ามกลางความท้าทายนี้ พวกเขากำลังยกเครื่องระบบพัฒนาบุคลากรครั้งใหญ่ด้วยการนำ AI และเทคโนโลยีล้ำสมัยมาขับเคลื่อนศักยภาพของทีม องค์กรต้องชัดเจนในการประเมินและพัฒนาทักษะพนักงานให้ตรงกับความต้องการ

 

คำถามสำคัญคือ แล้วองค์กรไทยจะปรับตัวอย่างไรในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้?

 

 

 

อริญญา เถลิงศรี Local Partner และ Managing Director บริษัท BTS Thailand เผยว่า จากประสบการณ์ที่ BTS Thailand ได้เข้าไปช่วยวางแผนธุรกิจและการพัฒนาคนให้กับองค์กรชั้นนำในประเทศไทย รวมทั้งจากการรวบรวมผลสำรวจจากต่างประเทศ พบว่าธุรกิจต่างๆ กำลังปรับแผนการจ้างงาน วางแผนกำลังคนเชิงกลยุทธ์ และปรับการวางแผนบุคลากรให้สอดคล้องกับทิศทางธุรกิจ 

 

โดยเปิดโอกาสให้กับบุคลากรทั่วโลกที่มีความสามารถ ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ และนำเทคโนโลยีมาช่วยในการทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะบริษัทชั้นนำระดับโลกที่อยู่ในอันดับต้นๆ ของ Fortune Global 500 หรือบริษัทที่มีการเติบโตสูง ซึ่งกำลังมุ่งเน้นกลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรที่ไม่เพียงแค่พัฒนาพนักงานให้เติบโตไปพร้อมกับองค์กรเท่านั้น แต่ยังต้องสอดคล้องกับเป้าหมายและทิศทางของธุรกิจโดยรวมอีกด้วย

 

ในปี 2025 มี Top 6 L&D Trends in 2025 ที่องค์กรชั้นนำระดับโลกกำลังให้ความสำคัญ แม้บางเรื่องอาจดูคล้ายเดิม แต่เมื่อบริบทการทำงานเปลี่ยนไป การดำเนินการและการนำไปใช้จะมีความแตกต่างออกไป ดังนี้

 

Personalized Learning Paths

 

หลายองค์กรชั้นนำของโลกมุ่งพัฒนาความสามารถของพนักงาน โดยเฉพาะการทำให้พนักงานเห็นภาพเส้นทางการเติบโตในองค์กร หรือ Career Path ของตัวเองในภาพที่ชัดเจนขึ้นว่าในองค์กรมี Career Path ในแต่ละสายงานอย่างไร และทำให้พนักงานเห็นผลการประเมิน (Assessment) ว่ามี Skill Gap ด้านไหน และรู้ว่าต้องเติมชุดทักษะอะไรเพื่อพัฒนาขึ้นไปสู่ตำแหน่งนั้นๆ 

 

เพราะพนักงานหลายคนสนใจมากขึ้นว่าตัวเองจะเติบโตในองค์กรได้อย่างไร ดังนั้นองค์กรจึงต้องออกแบบการฝึกอบรมที่ตอบโจทย์พนักงานแต่ละคนมากขึ้น การพัฒนาคนในวันนี้ไม่ใช่แค่เพื่อองค์กรเท่านั้น แต่เพื่อช่วยให้พนักงานเติบโตในสายอาชีพของตัวเอง

 

Mentorship Programs 

 

การสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้บริหารรุ่นพี่ในกลุ่ม Late Gen X ที่มีประสบการณ์และผู้บริหารหรือพนักงานรุ่นใหม่กำลังได้รับความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะภายใน 3-5 ปีข้างหน้า เป็นช่วงที่ผู้บริหารระดับ N หรือ N-1 ในบริษัทขนาดใหญ่กำลังจะเกษียณ 

 

ประเด็นสำคัญอยู่ที่การจะถ่ายทอดความรู้ หรือ Knowledge Transfer ระหว่างคนที่เป็น Talent ในองค์กรกับผู้บริหารรุ่นพี่ที่อยู่มานานได้อย่างเป็นระบบและมีกระบวนการที่ชัดเจนมากขึ้น และสร้างระบบ Mentorship Programs ที่สอนคนที่จะมาเป็น Mentor และ Mentee หรือคนที่จะได้รับการสอนด้วย 

 

ในอดีตเราพยายามพูดว่าคนนั้นเกษียณไม่ได้ คนนี้เกษียณไม่ได้ เพราะองค์ความรู้อยู่ที่เขา ตอนนี้หลายองค์กรเริ่มทำโครงการ Mentorship Programs เพื่อมา Matching คนที่ใกล้จะเกษียณ และทำ Mentor ต่อเนื่องกับคนที่เก่งในองค์กร ซึ่งมีโอกาสเข้ามาเล่นบทบาทผู้บริหารต่อได้ การทำ Mentorship Programs จึงมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ไปยังผู้บริหารหรือพนักงานรุ่นใหม่ๆ

 

 

Digital Literacy and AI Usage Training

 

ในภาพนี้คนเริ่มมองภาพว่าเราต้องฝึกอบรมคนแล้ว แต่จะฝึกอบรมคนในองค์กรอย่างไร โดยนำ AI มาช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น จะทำอย่างไรที่จะไม่ใช้วิธีการแบบเดิม นี่คือหนึ่งใน Initiative หลักของหลายองค์กรทั่วโลกที่มองว่าสิ้นปีนี้จะเริ่มมาวัด Baseline ของทักษะและความสามารถด้าน Digital Literacy และ AI ของคนในองค์กรว่าอยู่ระดับไหน และจะนำ AI มาพัฒนาในการทำ Data Analysis แล้วเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้นได้อย่างไร

 

Soft Skill Development 

 

3 ทักษะ Soft Skill ที่หลายองค์กรให้ความสำคัญมากขึ้น ได้แก่

 

Communication คนในองค์กรสื่อสารแบบเดิมไม่ได้แล้ว ไม่มีใครฟังอะไรยาวๆ ประชุมยาวๆ หรือชอบการเขียนอีเมลยาวๆ ดังนั้นทักษะการสื่อสารถูกรีเฟรมใหม่เป็นการสื่อสารเพื่อให้ตรงกับยุคนี้ โดยเฉพาะการสื่อสารกับ Gen Z หรือ Late Gen Y โจทย์การสื่อสารไม่เหมือนเดิมแล้ว สิ่งสำคัญคือเราจะเปลี่ยนวิธีการสื่อสารทั้งองค์กรอย่างไร รวมทั้งสอน Generation ใหม่ๆ ให้สื่อสารอย่างไรจึงเกิดประสิทธิภาพ ดังนั้นทักษะการสื่อสารจึงกลับเข้ามา แต่พัฒนาในมิติที่ต่างออกไป

 

Collaboration and Teamwork การทำงานในยุคปัจจุบันที่ต้องมีทั้ง Speed (ความเร็ว), Quality (คุณภาพ) และ Quantity (ปริมาณ) ทำให้เรื่อง Collaboration and Teamwork เป็นเรื่องที่หลายองค์กรกลับมาให้ความสำคัญอีกครั้ง เป็นเรื่องที่เมื่อองค์กรผลักเรื่อง Performance มากๆ คนจึงไปโฟกัสที่ทีมของตัวเอง

 

Emotional Intelligence (EQ) ด้วยความกดดันและความเครียดในการทำงานวันนี้ ทำให้เรื่อง EQ ของผู้นำและพนักงานในองค์กรลดน้อยลง ดังนั้นหลายองค์กรจึงกลับมาเน้นเพิ่มความสามารถในการจัดการอารมณ์ และการมีความเข้าใจในผู้อื่นจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี

 

Inclusive Leadership Training

 

ในระดับผู้นำองค์กรจะต้องไม่เน้นใช้สไตล์ความเป็นผู้นำสไตล์ใดสไตล์หนึ่ง แต่ต้องสามารถทำงานได้กับน้องๆ ที่แตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นสไตล์ที่ต่างหรืออายุที่ต่าง เรื่องนี้กำลังมาแรงในหลายองค์กร ผู้นำในวันนี้จะถูกฝึกเยอะมาก เพื่อให้สามารถนำคนหลากหลาย Generation และมีประสบการณ์ที่ต่างกันมากๆ ดังนั้นเมื่อพูดถึงการพัฒนาผู้นำในยุคปัจจุบัน หลายองค์กรจะเน้นเรื่องนี้

 

Continuous Feedback

 

การให้ข้อเสนอแนะทันทีเป็นสิ่งที่องค์กรต้องมีในวันนี้ การประเมินผลที่เกิดขึ้นเฉพาะในช่วงกลางปีหรือปลายปีไม่เพียงพออีกต่อไป องค์กรที่ต้องการสร้างผลลัพธ์ที่ดีควรมีการให้ฟีดแบ็กอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในขณะที่พนักงานกำลังทำงาน เพื่อให้พวกเขาสามารถพัฒนาตนเองได้ในทันที 

 

ผู้นำองค์กรต่างบอกว่าถ้าต้องการเป็น High Performance Organization อยากเป็นองค์กรที่สามารถเห็นถึงผลลัพธ์ของการทำงาน หรือ Performance ดังนั้นการทำ Feedback Loop ในองค์กรต้องชัดเจน รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ 

 

การให้ฟีดแบ็กนั้น ผู้นำหรือผู้ให้ฟีดแบ็กต้องเหมือนกับเป็นคนที่ยืนอยู่ข้างสนามแข่ง เป็นการมองนักกีฬาข้างสนามแข่งว่านักกีฬาทำอะไรได้ดีหรือไม่ได้ดี และให้ฟีดแบ็กแบบเรียลไทม์หลังจบการแข่งขัน เพื่อให้สามารถนำไปปรับได้ทันที

 

นี่คือ 6 เรื่องที่อาจจะดูเหมือนไม่ต่างจากเดิม แต่บริบท หรือ Context ข้างในต่างจากเดิม ดังนั้นจึงต้องเข้าใจนิยามหรือความหมายของสิ่งที่โฟกัสในแต่ละเรื่อง เพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับแต่ละองค์กร 

 

 

ต่อมามาดูว่า 5 เทรนด์ที่จะเข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาบุคลากรในองค์กรและการปรับตัวของธุรกิจ (5 Trends Shaping Workforce Development and Business Adaptation) มีเรื่องอะไรที่ต้องให้ความสำคัญบ้าง 

 

Agility

 

ความสามารถในการปรับตัวและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด รวมทั้งความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็ว ยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรต้องใส่ใจ การทำงานที่สามารถตอบสนองสิ่งที่ตลาดต้องการและตอบโจทย์ลูกค้าที่ทันเวลาเป็นอันดับหนึ่ง ดังนั้น Agile Methodology จึงยังคงเป็นสิ่งที่ต้องปรับให้เหมาะสมกับบริบทใหม่ โดยการเข้าใจและปรับใช้ตามความต้องการของตลาด องค์กรต่างๆ กำลังนำวิธีการแบบ Agile มาใช้ เพื่อสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดได้อย่างรวดเร็วและปรับปรุงการทำงานร่วมกันระหว่างทีม

 

Employee Engagement

 

การทำ Engagement ของพนักงานต้องเปิดใจและไม่มีรูปแบบที่ตายตัว เมื่อองค์กรเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้น การให้ฟีดแบ็กและการชื่นชม หรือ Recognition พนักงานอย่างต่อเนื่อง จะช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมจากพนักงานและทำให้พนักงานเห็นโอกาสในการเติบโตทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กรได้

 

Diversity and Inclusion

 

องค์กรที่แข่งขันได้ในยุคนี้จะต้องมีความหลากหลาย ทั้งในด้านทักษะและประสบการณ์ ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ จากมุมมองที่แตกต่างกัน องค์กรต่างๆ กำลังให้ความสำคัญกับการสนับสนุนความหลากหลาย (Diversity and Inclusion) มากขึ้น เพื่อสร้างสถานที่ทำงานที่เท่าเทียมกันและให้คุณค่ากับมุมมองที่แตกต่างกันของแต่ละคน

 

Technology Integration

 

ทุกการตัดสินใจในองค์กรต้องอาศัยข้อมูลและเทคโนโลยีมาสนับสนุน การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการตัดสินใจได้ การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น AI และการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) กำลังกลายเป็นสิ่งสำคัญในการปรับปรุงการตัดสินใจและประสิทธิภาพการดำเนินงาน

 

 

Learning & Development ในปี 2025

 

คีย์เวิร์ดหลักในปีหน้าคือ ‘Upskill’ เพราะวันนี้เมื่อมองดูในแต่ละ Job Roles และในแต่ละฟังก์ชันยังมีส่วนน้อยมากที่พนักงานจะสามารถ Upskill ให้ทันกับยุคสมัย ทุกองค์กรจะมุ่งเน้นการ Upskill ให้ทันกับเทคโนโลยีและความต้องการของตลาด ด้วยการฝึกอบรมที่เน้นการพัฒนาทักษะที่ตรงกับความต้องการของงานในยุคดิจิทัล 

 

องค์กรต้องมีความชัดเจนว่าทักษะความสามารถพนักงานของเราอยู่ที่จุดไหนและจะช่วยพัฒนาไปที่จุดไหนให้ทัน เช่น คุณต้องแน่ใจว่าถ้าวันนี้คุณเป็นเซลส์ที่เก่ง คุณจะ Upskill ให้เก่งกว่านั้นได้อย่างไร ฯลฯ จะเห็นได้ว่าสิ่งที่กำลังมาในภาพของการ Development หลายองค์กรต่างๆ กำลังลงทุนมากขึ้นกับโปรแกรมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง เพื่อ Upskill พนักงานและเตรียมความพร้อมสำหรับความท้าทายในอนาคต

 

เมื่อมองมาที่สถานการณ์ในประเทศไทย จากการสำรวจองค์กรชั้นนำพบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่ตระหนักดีว่าการพัฒนาบุคลากรแบบเดิมไม่เพียงพออีกต่อไป พวกเขากำลังมองหาวิธีการใหม่ๆ ในการเตรียมความพร้อมให้ทีมงานรับมือกับความท้าทายในอนาคต โดยเฉพาะการนำระบบ Smart Learning มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้การเรียนรู้สามารถนำไปใช้ได้จริงและสร้างผลลัพธ์ที่จับต้องได้ ทั้งในแง่ของการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและการเติบโตขององค์กร

 

การที่ผู้นำและผู้บริหารองค์กรให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรและการพัฒนาองค์กรไปในทิศทางที่ตอบสนองกับเทรนด์ในปี 2025 จึงเป็นการสร้างความได้เปรียบในอนาคต ซึ่งจะช่วยให้บริษัทสามารถแข่งขันในตลาดที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

 
  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X