รายงานของ Goldman Sachs สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของโลก ระบุว่า ความก้าวหน้าของ Generative AI อาจนำไปสู่การเลิกจ้างที่ระบาดไปทั่วโลก โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและยูโรโซนที่อาจได้รับผลกระทบถึง 1 ใน 4 ของตำแหน่งงานทั้งหมด
แม้ Generative AI อย่าง ChatGPT ซึ่งสามารถสร้างเนื้อหาที่เหมือนกับผลผลิตของมนุษย์ อาจจุดประกายให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือ GDP เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าท้ายที่สุดแล้ว AI จะมีส่วนเพิ่ม GDP ทั่วโลกถึง 7% ต่อปีในช่วง 10 ปีจากนี้ไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- รู้จัก AI นักวาดภาพหน้าใหม่ที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ผู้ถูกเปรียบเปรยว่าเป็น ‘การนำไฟจากพระเจ้าแห่งการสร้างสรรค์มาสู่โลก’ แต่มาพร้อมความเสี่ยงครั้งใหญ่ไม่แพ้กัน
- นักวิจัยจีนเสนอระบบ AI โฉมใหม่ เข้าใจ ‘ความต้องการของมนุษย์’ มากขึ้น ปูทางสู่ความสัมพันธ์แบบสองทิศทาง
- เหมือนอย่างที่คิดไหม? AI จำลองหน้าตัวละครใน Harry Potter โดยอ้างอิงจากคำบรรยายในหนังสือ
แต่เทคโนโลยีนี้ก็มาพร้อมการหยุดชะงักครั้งใหญ่สู่ตลาดแรงงานเช่นกัน พนังงานกว่า 300 ล้านคนทั่วโลกอาจสูญเสียตำแหน่งงาน ข้อมูลจาก Goldman Sachs ระบุ โดยอาชีพทนายความและเจ้าหน้าที่ธุรการจะเป็นหนึ่งในตำแหน่งที่มีความเสี่ยงต่อการเลิกจ้างสูงที่สุด
รายงานที่เผยแพร่ได้กระตุ้นการถกเถียงถึงศักยภาพของเทคโนโลยี AI ทั้งในด้านการเพิ่มผลิตภาพของโลกอย่างมั่งคั่งและการสร้างแรงงานประเภทใหม่ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าแรงงานภาคการผลิตในปัจจุบันจะประสบกับชะตากรรมที่คล้ายคลึงกับในช่วงปี 1980 ซึ่งเป็นยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม
ธุรการ-กฎหมาย เสี่ยงถูก AI เบียด ‘งานทำความสะอาด’ กระทบน้อยสุด
ในรายงานอธิบายว่า งานบางประเภทจะได้รับผลกระทบมากกว่างานอื่นๆ อย่างไรก็ตาม งานที่ต้องใช้แรงกายมากมีโอกาสน้อยสุดที่จะได้รับผลกระทบจาก AI
ในสหรัฐอเมริกา งานธุรการมีสัดส่วนการทำงานโดยอัตโนมัติสูงสุดถึง 46% ตามมาด้วยงานกฎหมาย 44% และงานสถาปัตยกรรมภายในและวิศวกรรม 37% งานด้านสุขภาพและสังคมศาสตร์ตามมาติดๆ ด้วยสัดส่วนการทำงานอัตโนมัติ 36% ปิดท้ายด้วยธุรกิจการเงินที่อยู่ใน 5 อันดับแรกในสัดส่วน 35%
ในทางตรงกันข้าม มีเพียง 1% ของงานด้านการทำความสะอาดและบำรุงรักษาในอาคารที่มีความเสี่ยงต่อระบบอัตโนมัติ งานติดตั้ง บำรุงรักษา และซ่อมแซม ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดเป็นอันดับ 2 โดยกระทบเพียง 4% ขณะที่งานก่อสร้างอยู่ในอันดับ 3 ด้วยสัดส่วน 6%
ประเทศเกิดใหม่สัมผัส AI ‘น้อยกว่า’ ประเทศพัฒนาแล้ว
รายงานยังประมาณการว่างานในประเทศ EM (ตลาดเกิดใหม่) จะเกี่ยวข้องกับระบบอัตโนมัติน้อยกว่าในประเทศ DMs (ตลาดที่พัฒนาแล้ว) แต่ 18% ของงานทั่วโลกสามารถทำงานอัตโนมัติโดย AI โดยพิจารณาจากการจ้างงาน
ประเทศอย่างเขตบริหารพิเศษฮ่องกง อิสราเอล ญี่ปุ่น สวีเดน และสหรัฐฯ น่าจะเป็น 5 ประเทศแรกที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ในขณะเดียวกัน พนักงานในจีนแผ่นดินใหญ่ ไนจีเรีย เวียดนาม เคนยา และอินเดีย มีแนวโน้มน้อยที่สุดที่งานในประเทศเหล่านี้จะถูกควบคุมโดยเทคโนโลยี AI
แม้ข้อมูลแสดงให้เห็นว่า AI จะส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานได้อย่างไม่ต้องสงสัย แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะส่งผลได้อย่างไร เพราะท้ายที่สุดแล้วผลกระทบของ AI จะขึ้นอยู่กับความสามารถและระยะเวลาในการนำไปใช้ พร้อมเสริมปัจจัยสำคัญสองประการคือ ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี AI ที่เกิดขึ้นจริง และปริมาณการใช้งาน AI ในทางปฏิบัติ
Goldman Sachs เชื่อว่าหากการลงทุน AI จากองค์กรเติบโตอย่างต่อเนื่องในระดับที่ใกล้เคียงกับการลงทุนด้านซอฟต์แวร์ในทศวรรษ 1990 การลงทุน AI ในสหรัฐฯ เพียงลำพังอาจสร้างมูลค่าเทียบเท่า 1% ของ GDP สหรัฐฯ ภายในปี 2030
ทั้งนี้ การประมาณการของ Goldman Sachs อิงจากการวิเคราะห์ข้อมูลงานที่ปฏิบัติโดยทั่วไปนับพันอาชีพในสหรัฐฯ และยุโรป นักวิจัยสันนิษฐานว่า AI จะสามารถทำงานอื่นๆ เช่น การคืนภาษีสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก การประเมินการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่ซับซ้อน หรือบันทึกผลการสืบสวนสถานที่เกิดเหตุ
นักวิจัยไม่คิดว่า AI จะถูกนำมาใช้กับงานที่ละเอียดอ่อน เช่น การตัดสินคดีในศาล การดูแลผู้ป่วยในระดับวิกฤต หรือการศึกษากฎหมายภาษีระหว่างประเทศ ซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อมูลที่ Goldman Sachs เผยแพร่
อ้างอิง: