×

เปิด 10 ทักษะแรงงาน ที่นายจ้างในไทยต้องการมากที่สุด จากการวิเคราะห์ด้วย Big Data และ AI โดย TDRI

29.02.2024
  • LOADING...
ทักษะแรงงาน

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้พัฒนาระบบติดตามการจ้างงานในประเทศไทย โดยใช้ Big Data และการวิเคราะห์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) พบว่า Soft Skill เป็นทักษะที่นายจ้างต้องการมากที่สุด ถึง 6 ใน 10 ของทักษะแรงงานที่นายจ้างในไทยต้องการมากที่สุด

 

การวิเคราะห์ครั้งนี้เก็บข้อมูลจาก 15 เว็บไซต์หางานในไทย ซึ่งมีเปิดรับกว่า 1.2 ล้านตำแหน่ง โดยผู้วิจัยได้จัดหมวดหมู่ทักษะออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

 

  1. กลุ่มทักษะที่พบได้ทั่วไป (Common Skill) เป็นกลุ่มทักษะที่พบในทุกกลุ่มอาชีพ เช่น ทักษะการประสานงาน การขาย การวางแผนงาน และการสื่อสาร 
  2. กลุ่มทักษะเฉพาะ (Specialized Skill) เป็นกลุ่มทักษะที่พบในเฉพาะกลุ่มอาชีพ เช่น การควบคุมเครื่องมือและเครื่องจักร บัญชี จัดซื้อจัดจ้าง การติดตั้ง
  3. ใบประกาศนียบัตร (Certification) เป็นกลุ่มทักษะที่ต้องมีการทดสอบเพื่อได้ใบประกาศนียบัตร เช่น TOEIC

 

“ในกลุ่มทักษะที่พบได้ทั่วไป (Common Skill) ในทุกตำแหน่งงานและสาขาธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็น Soft Skill” TDRI ระบุ

 

เปิดวุฒิการศึกษาที่นายจ้างไทยต้องการมากที่สุด 

 

ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 (1 ตุลาคม 2566 – 31 ธันวาคม 2566) พบว่า มีประกาศรับสมัครงานทั้งหมด 1.29 ล้านตำแหน่งงาน เมื่อจำแนกประกาศรับสมัครงานตามวุฒิการศึกษาขั้นต่ำที่ระบุในประกาศรับสมัครงาน พบว่า วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นวุฒิการศึกษาขั้นต่ำที่นายจ้างต้องการมากที่สุด รองลงมาคือ ปวช. และ ปวส.

 

  • ปริญญาตรี มีประกาศรับสมัคร 857,419 ตำแหน่ง (60.03%)
  • ปวช. 156,449 ตำแหน่ง (12.05%) 
  • ปวส. 91,421 ตำแหน่ง (7.04%)
  • มัธยมศึกษาปีที่หก 89,917 ตำแหน่ง (6.29%) 
  • ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา 39,932 ตำแหน่ง (3.08%) 
  • ไม่ระบุวุฒิการศึกษาขั้นต่ำมีจำนวน 36,969 ตำแหน่ง (2.85%)
  • มัธยมศึกษาปีที่สาม 18,043 ตำแหน่ง (1.39%) 
  • สูงกว่าปริญญาตรี 8,378 ตำแหน่ง (0.65%) 

 

อุตสาหกรรมใดประกาศรับสมัครงานมากที่สุด 

 

เมื่อจำแนกประกาศรับสมัครงานตามกลุ่มประเภทธุรกิจ พบว่า กลุ่มค้าส่ง-ค้าปลีกยังครองแชมป์หาคนทำงานมากที่สุด รองลงมาคือ ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร การผลิต

 

  • ธุรกิจการขายส่งและการขายปลีก 201,645 ตำแหน่งงาน (15.5%) 
  • ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 163,185 ตำแหน่งงาน (12.6%) 
  • การผลิต 153,601 ตำแหน่งงาน (11.8%) 
  • การก่อสร้าง 95,501 ตำแหน่งงาน (7.4%) 
  • กิจกรรมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ 71,694 ตำแหน่งงาน (5.5%) 
  • กิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ 59,717 ตำแหน่งงาน (4.6%) 
  • กิจกรรมบริการด้านอื่นๆ 53,610 ตำแหน่งงาน (4.1%)
  • ไม่สามารถระบุกลุ่มได้มี 302,089 ตำแหน่งงาน (23.3%) เป็นต้น

 

ทักษะแรงงาน

 

ภาพประกอบ: กริน วสุรัฐกร

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X