×

บสย. เผยผลสำเร็จ ค้ำประกันปี 2566 พุ่งแสนล้านบาท ช่วย SMEs รายใหม่เฉียดแสนราย เดินหน้ายุทธศาสตร์ปี 2567 แก้หนี้ต่อเนื่องด้วยกลยุทธ์ 3 ช่วย [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
15.02.2024
  • LOADING...
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม

HIGHLIGHTS

5 min read
  • บสย. เผยปี 2566 ยอดค้ำประกันเกินคาดที่ 114,025 ล้านบาท เพิ่มสภาพคล่อง SMEs ได้สินเชื่อใหม่ 99,298 ราย สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 470,388 ล้านบาท ผลสำเร็จแก้หนี้ช่วยได้กว่าหมื่นราย รวมมูลหนี้ 6,942 ล้านบาท 
  • ตั้งเป้าปี 2567 ค้ำประกัน 115,600 ล้านบาท ชูยุทธศาสตร์ปี 2567 สู่การเป็น Credit Mediator และ SMEs Digital Gateway 
  • วางกลยุทธ์ 3 ช่วย “ช่วย..ค้ำ ช่วย..ปรับโครงสร้างหนี้ ช่วย..แก้หนี้” เสริมแกร่ง SMEs สู่ความยั่งยืน

การประกาศผลสำเร็จการดำเนินงานของ บสย. ในปี 2566 ที่ทำให้ผู้ที่เคยสงสัยว่า หน่วยงานของภาครัฐที่ชื่อ ‘บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม’ หรือ ‘บสย.’ ที่ตอกย้ำเสมอว่ามีพันธกิจมุ่งมั่นช่วยเหลือธุรกิจ SMEs ให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น กลไกการทำงานของ บสย. สามารถช่วย SMEs ได้อย่างไร? 

 

 

ปัญหาหลักของ SMEs คือ การไม่สามารถเข้าถึงแหล่งกู้ยืมเงินได้ เนื่องจากตัวธุรกิจเองเต็มไปด้วยความเสี่ยงโดยเฉพาะธุรกิจที่เพิ่งเกิดใหม่ สินทรัพย์ค้ำประกันก็ไม่มีเหมือนบริษัทรายใหญ่ กลายเป็นข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน  

 

บสย. ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2534 เพื่อช่วยเหลือธุรกิจ SMEs ให้มีโอกาสได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงินมากขึ้นผ่านการช่วยค้ำประกันสินเชื่อ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสถาบันการเงิน หรือธนาคารต่างๆ ในการอนุมัติปล่อยสินเชื่อ 

 

 

โดยในปี 2566 บสย. สร้างปรากฏการณ์ใหม่ อนุมัติค้ำ 114,025 ล้านบาท เพิ่มสภาพคล่อง SMEs ได้สินเชื่อใหม่ 99,298 ราย สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 470,388 ล้านบาท ผ่าน 3 โครงการหลัก ได้แก่ 

 

  • โครงการภาครัฐ (PGS 10 และโครงการอื่นๆ) วงเงิน 51,249 ล้านบาท (สัดส่วน 45%) ค้ำเฉลี่ยต่อราย 5.9 แสนบาท
  • โครงการค้ำประกันสินเชื่อดอกเบี้ยถูก หรือ พ.ร.ก.สินเชื่อฟื้นฟู ระยะที่ 2 วงเงิน 43,376 ล้านบาท (สัดส่วน 38%) ค้ำเฉลี่ยต่อราย 5.3 ล้านบาท
  • โครงการ บสย. ดำเนินการเอง วงเงิน 19,400 ล้านบาท (สัดส่วน 17%) ค้ำเฉลี่ยต่อราย 2.55 ล้านบาท 


สิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เผยว่า “ในจำนวน 114,025 ล้านบาท สามารถช่วยเหลือ SMEs รายใหม่ให้เข้าถึงสินเชื่อ จำนวน 99,298 ราย แบ่งเป็นผู้ประกอบการรายย่อย Micro SMEs 80% และ Non-Micro 20% คิดเป็นสัดส่วนการค้ำประกันสินเชื่อ กรุงเทพฯ-ปริมณฑล 45% และภูมิภาค 55% โดยผลสำเร็จแก้หนี้ ช่วยได้กว่ารวมมูลหนี้ 6,942 ล้านบาท รักษาการจ้างงาน รวม 855,087 ตำแหน่ง และสร้างสินเชื่อในระบบ 124,815 ล้านบาท” 

 

ขณะที่การค้ำประกันสินเชื่อโครงการ SMEs เพื่อความยั่งยืน มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญจาก 27% ในปี 2565 เป็น 29% ในปี 2566 ได้แก่ โครงการค้ำประกันรายย่อย Micro Entrepreneurs โครงการ Start-up Innovation โครงการ Green SMEs โครงการหนี้นอกระบบและโครงการพิเศษ พ.ร.ก.สินเชื่อฟื้นฟู และโครงการ PGS สำหรับกลุ่มเปราะบาง 

 

 

หากดูสัดส่วนประเภทธุรกิจค้ำประกันสูงสุด 5 ลำดับโดดเด่นในปี 2566 ได้แก่ 

  • ภาคบริการ 30% 
  • ภาคการผลิตสินค้าและการค้าอื่นๆ 10%  
  • ภาคเกษตรกรรม 10% 
  • ภาคอาหารและเครื่องดื่ม 9% 
  • สินค้าอุปโภค-บริโภค 8%

 

“โดย 3 ลำดับแรก ครองสัดส่วนค้ำประกันถึง 50% ของพอร์ตวงเงินค้ำประกันสินเชื่อทั้งหมด จะเห็นว่าสัดส่วนการค้ำประกันสินเชื่อภาคบริการมีแนวโน้มการขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่ภาคการผลิตสินค้าและการค้าอื่นๆ และภาคเกษตรกรรม หดตัวเล็กน้อย ในขณะที่กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคและกลุ่มยานยนต์มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากปี 2565 สอดคล้องกับภาพรวมเศรษฐกิจไทยต่อสัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่องจากภาคการท่องเที่ยวสนับสนุนภาคการบริโภค” สิทธิกรกล่าว 

 

ด้านโครงการแก้หนี้ SMEs ประสบความสำเร็จเกินคาด ตัวเลขการช่วยผู้ประกอบการแก้หนี้สะสมตั้งแต่ปี 2560- 2566 ช่วยลูกหนี้เข้าโครงการประนอมหนี้ จำนวน 19,000 ราย คิดเป็นมูลหนี้ปรับโครงสร้างสะสม 6,942 ล้านบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระหว่างปี 2565 (เริ่มเมษายน) จนถึงปี 2566 ซึ่งเป็นปีที่ บสย. ออกมาตรการ ‘บสย. พร้อมช่วย’

 

 

“มาตรการ ‘บสย. พร้อมช่วย’ หรือมาตรการ 3 สี เรายังคงขยายระยะเวลาโครงการถึงปลายปี 2567 พร้อมช่วยแบ่งเบาภาระ ผ่อนน้อย เบาแรง หนี้ลด ดอกเบี้ย 0%  บสย. สามารถช่วยลูกหนี้ได้รับการประนอมหนี้จำนวน 13,378 ราย คิดเป็นมูลหนี้ 4,723 ล้านบาท” 

 

  • มาตรการสีม่วง ปลอดเงินชำระครั้งแรก ระยะเวลาผ่อน 4 ปี ตัดเงินต้น 20% ดอกเบี้ย 80% อัตราดอกเบี้ยตามประกาศ บสย. -2%
  • มาตรการสีเหลือง ชำระครั้งแรกเพียง 1% ระยะเวลาผ่อน 4 ปี ตัดเงินต้นทั้งจำนวน อัตราดอกเบี้ยตามประกาศ บสย. -2% หรือ -4% แล้วแต่กรณี
  • มาตรการเขียว อัตราดอกเบี้ย 0% ระยะเวลาผ่อนนานถึง 7 ปี ตัดเงินต้นทั้งจำนวน ชำระครั้งแรก 10% 

 

“นอกจากนี้ยังต่อยอดมาตรการ 3 สี ด้วย ‘มาตรการสีฟ้า’ ปลดหนี้ ลดต้น 15% สำหรับลูกหนี้มาตรการสีเขียวที่ผ่อนชำระปกติต่อเนื่องมาแล้ว 3 งวด”

 

ชูยุทธศาสตร์ปี 2567 สู่การเป็น Credit Mediator และ SMEs Digital Gateway ผ่านบทบาท กองกลาง กองหน้า และกองหลัง 

 

สิทธิกร กางแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานปี 2567 เดินหน้าสู่การเป็น Credit Mediator และ SMEs Digital Gateway ภายใต้แนวคิด ‘TCG Fast-Forward  Sustainable Credit Guarantee’ พร้อมวางกลยุทธ์ 3 ช่วย “ช่วย..ค้ำ ช่วย..ปรับโครงสร้างหนี้ ช่วย..แก้หนี้” มุ่งเสริมแกร่ง SMEs สู่ความยั่งยืนปี 2567 ตั้งเป้าค้ำประกันสินเชื่อ 115,600 ล้านบาท ผ่าน 2 โครงการหลัก 

  • โครงการค้ำประกันที่ บสย. พัฒนาขึ้น เช่น BI7 และ RBP วงเงิน 75,600 ล้านบาท 
  • โครงการค้ำประกันสินเชื่อดอกเบี้ยถูก หรือ พ.ร.ก.สินเชื่อฟื้นฟู อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปีแรกไม่เกิน 5% วงเงิน 40,000 ล้านบาท 

 

 

“เราวางบทบาทกองหน้า กองกลาง และกองหลัง ไม่ว่าจะเป็น กองหน้า ผ่านการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ทั้งการปรับรูปแบบสาขาเพื่อยกระดับเป็น บสย. Business School ส่วน กองกลาง จะเน้นไปที่การพัฒนา Digital Platform เดินหน้าเฟส 2 สู่ ‘SMEs Digital Gateway’ เชื่อมระบบการค้ำประกันสินเชื่อด้วย Digital Guarantee Platform และบริการใหม่จาก LINE OA @tcgfirst โดยปีนี้จะเน้น 2 ฟีเจอร์หลัก ได้แก่ บริการนัดหมายหมอหนี้และการคำนวณค่างวด ค่าประกัน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อ แบบราย Segment เจาะกลุ่มรายย่อย อาชีพอิสระ หนี้นอกระบบ นิติบุคคล ธุรกิจยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม รวมถึงโครงการ CSR ที่ใช้ความเชี่ยวชาญของ บสย. ให้ความรู้กลุ่มผู้ต้องขัง กลุ่มผู้พิการ นักเรียนอาชีวศึกษา และโรงเรียนฝึกอาชีพในชุมชน  

 

 

ตำแหน่งกองหลัง เป็นการเพิ่มมาตรการการช่วยเหลือลูกหนี้ แก้หนี้อย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการขยายเวลามาตรการ 3 สี ‘บสย. พร้อมช่วย’ การออก ‘มาตรการแก้หนี้’ พักหนี้ 1 ปี สำหรับ SMEs รหัส 21 ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด

 

“อีกโครงการที่เปิดให้ลงทะเบียนแล้วก็คือ ‘ติดปีกเอสเอ็มอี หลักทรัพย์ไม่มี ดีพร้อมค้ำ’ เป็นการจับมือกันระหว่าง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ดีพร้อม) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และสถาบันการเงินพันธมิตรทั้ง 4 ธนาคาร ได้แก่ EXIM BANK, ธ.กรุงไทย, ธ.ออมสิน และ SME D Bank เป็นตัวอย่างของการเป็น Credit Mediator โดยใช้กลไกของ บสย. เข้าถึงแหล่งเงินทุน” สิทธิกรกล่าวทิ้งท้าย

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X