×

นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลอธิบายว่า ทำไม Fed พลาดเรื่องเงินเฟ้อ แต่อาจพาเศรษฐกิจสหรัฐฯ Soft Landing ได้สำเร็จ

02.09.2023
  • LOADING...

ถอดบทเรียน โจเซฟ สติกลิตซ์ (Joseph Stiglitz) นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล อธิบายว่า ทำไม Fed พลาดเรื่องเงินเฟ้อ พร้อมตอบคำถามว่า ทำไม Fed อาจพาเศรษฐกิจสหรัฐฯ Soft Landing ได้สำเร็จ

 

ย้อนกลับไปเมื่อช่วงต้นปี 2021 อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ พุ่งอย่างรวดเร็ว หลังจากทางการผ่อนคลายมาตรการป้องกันการระบาดต่างๆ จากระดับ 1.2% ในเดือนธันวาคม 2020 ไปสู่ระดับ 9.1% ในเดือนมิถุนายน 2022 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี

 

กระนั้นธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) กลับเพิ่งเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2022 ขณะที่ เจอโรม พาวเวลล์ ประธาน Fed ก็ยืนกรานซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นครั้งนั้นเป็นการเพิ่มขึ้นเพียง ‘ชั่วคราว’ (Transitory) ซึ่งมีนัยว่า Fed เชื่อว่าเงินเฟ้อประเภทนี้ควบคุมได้ง่าย

 

โจเซฟ สติกลิตซ์ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล อธิบายอีกว่า “Fed คิดว่าสาเหตุของอัตราเงินเฟ้อที่เริ่มต้นในยุคหลังการระบาดใหญ่คือ ‘ความต้องการส่วนเกิน’ หมายความว่า Fed ไม่ได้ทำการบ้าน และจัดประเภทของเงินเฟ้อผิด

 

โดยสติกลิตซ์ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า การเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อดังกล่าวส่วนใหญ่มาจากปัจจัยอื่นๆ ด้วย อาทิ ปัญหาการขาดแคลนส่วนประกอบหลักต่างๆ เช่น ชิปเซมิคอนดักเตอร์

 

เมื่อรู้ตัวอีกที Fed จึงพยายามทุ่มความพยายามในการดึงอัตราเงินเฟ้อกลับลงมาสู่เป้าหมายที่ 2% 

 

โดยขณะนี้ Fed ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปทั้งหมด 11 ครั้งแล้วสู่ระดับ 5.25-5.5% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 22 ปี

 

ความพยายามดังกล่าวนับว่ามีความก้าวหน้าอย่างมาก เห็นได้จากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) ในช่วง 12 เดือน ลดลงเหลือเพียง 3.2% ต่อปีในเดือนกรกฎาคม นอกจากนี้ข้อมูลอีกหลายชุดก็ชี้ให้เห็นว่า แรงกดดันด้านเงินเฟ้อได้ผ่อนคลายลงอย่างมาก

 

แม้ดำเนินนโยบายผิดพลาด แต่ทำไม Fed ยังโชคดีอยู่?

 

แม้ว่า Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วและแรง แต่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็ยังทรงตัวได้ดีอย่างเหนือความคาดหมาย 

 

ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ยังคงมีความเห็นต่างกันว่า ภาวะการเงินที่ตึงตัวขึ้นนี้จะทำให้เกิดภาวะถดถอยหรือไม่ แต่สติกลิกซ์มองว่า การลงจอดแบบนุ่มนวล (Soft Landing) ที่ Fed พยายามออกแบบไว้นั้นอาจบรรลุผลสำเร็จได้ แต่ก็เป็นผลจากความโชคดีอีกครั้ง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงครั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากกฎหมาย Inflation Reduction Act ของรัฐบาลประธานาธิบดีโจ ไบเดน 

 

ทั้งนี้ Inflation Reduction Act ซึ่งเป็นกฎหมายที่มุ่งเป้าไปที่ภาคการผลิต,  โครงสร้างพื้นฐาน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้กระตุ้นการลงทุนใหม่มากกว่า 5 แสนล้านดอลลาร์ตามข้อมูลของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ

 

“กฎหมายนี้เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ที่ช่วยลดผลกระทบจากนโยบายการเงินแบบตึงตัว ดังนั้นสหรัฐฯ จึงสามารถจัดการเงินเฟ้อได้ด้วยความโชคดี”

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X